แถลงการณ์แก้ข่าว
สืบเนื่องจากกรณีการเสนอข่าวของมติชนออนไลน์เมื่อวันที่ 25 มิ.ย.ที่ผ่านมาโดยพาดหัวข่าวว่า..ฉาวโฉ่! สื่อเทศแฉพระไทยเอี่ยวช่วยกลุ่มพระสุดโต่งเมียนม่ารณรงค์เกลียดชังมุสลิมแดนหม่อง!...
โดยอ้างแหล่งข่าวจากสำนักข่าวเอเอฟพี นั้น ได้ปรากฏภาพและเนื้อหาที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนและรุนแรงกว่าความเป็นจริงอย่างมาก อันอาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดและแตกความสามัคคีกับผู้อ่านทั่วไปได้ ดังนั้น จึงจะขอที่แจงแก้ไขความคลาดเคลื่อนในข่าวดังกล่าวให้ได้รับทราบข้อแท้จริงโดยทั่วกัน ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 การทำบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อร่วมมือกันจัดตั้งสถานีวิทยุพระพุทธศาสนาขึ้น ในประเทศเมียนม่านั้น ฝ่ายไทย ประกอบด้วย สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(สวพช.) พุทธมณฑล และสมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.) ได้ลงนามร่วมกับกับคณะสงฆ์พม่า ซึ่งประกอบด้วย Ven.Sopaka Jatavam (Ph.D) และ Ven. That Dam Ma ซึ่งท่านทั้งสองเป็นพระเถระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัย มิได้มีความคิดรุนแรงดังที่ข่าวระบุ และวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถานีวิทยุก็มีอย่างชัดเจนเพียงประการเดียวคือ เพื่อการเผยแพร่และปกป้องพระพุทธศาสนา มิได้มีความมุ่งหวังที่จะทำให้เกิดความขัดแย้งกับศาสนาอื่นแต่อย่างใด
ข้อ 2 ในการประชุมของคณะสงฆ์จากทั่วประเทศเมียนม่าในครั้งนี้ ซึ่งมีพระและฆราวาสมาร่วมประชุมมากกว่า 6,000 รูป/คน บรรยากาศเป็นไปด้วยความเรียบร้อย สงบ สันติ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารจากคณะสงฆ์ทั่วประเทศเมียนม่า รวมถึงปัญหาและอุปสรรคจากภัยการรุกรานของศาสนาอื่นที่มุ่งหวังจะก่อให้เกิดความรุนแรง ไม่ได้หมายรวมถึงการต่อต้านการเผยแผ่ที่กระทำด้วยความสงบและสันติแต่อย่างใด และข้อเสนอแนะตลอดจนแนวทางในการแก้ไขปัญหาการถูกรุกรานจากศาสนาอื่น ที่ประชุมก็มีแต่ข้อเสนอแนะอย่างสันติวิธี ที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรงแต่อย่างใดทั้งสิ้น
ข้อ 3 จากภาพที่ลงประกอบข่าวนั้นไม่ใช่ภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในการประชุมในครั้งนี้แต่อย่างใด การประชุมในครั้งนี้เป็นไปด้วยความสงบสันติไม่มีการประท้วงไม่มีการเรียกร้องใดๆ ทั้งสิ้น ไม่มีแม้แต่กำลังตำรวจหรือทหารมาให้การดูแลรักษาความปลอดภัยแต่อย่างใด
พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาแห่งความสันติสุขอย่างแท้จริงของโลก มีความรักความเมตตาและการให้อภัยเป็นหลักสอนเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ พระสงฆ์ก็มีศีลมีธรรมวินัย ที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวดต่างจากฆราวาส การเบียดเบียนทำร้ายกันแม้เพียงกระทำต่อสัตว์ ก็ไม่ใช่แนวทางที่พระสงฆ์จะพึงสั่งสอนหรือปฏิบัติได้ ยิ่งไปกว่านั้นความคิดที่ทำร้ายผู้อื่น ก็ถือเป็นความผิดที่ผู้คิดจะต้องได้รับผลกรรมเช่นกัน แม้พระสงฆ์ที่สื่อฯ กล่าวอ้าวว่าหัวรุนแรง ในหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาแม้เพียงแค่คิดจะกระทำความรุนแรงก็ผิดแล้ว ถ้ายิ่งได้ลงมือกระทำถึงขั้นทำร้ายให้ถึงแก่ชีวิต ก็ต้องขาดจากความเป็นสงฆ์ในทันที ต่างจากคำสอนบางศาสนาที่สอนศาสนิกให้เชื่อว่าการล้างผลาญชีวิตคนที่คิดต่างแม้เป็นคนในศาสนาเดียวกันก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ยิ่งการทำสงครามกับคนต่างศาสนายิ่งเป็นสิ่งที่ชอบธรรม ดังนั้นระดับความรุนแรงของพระสงฆ์ในพุทธศาสนา จึงต่างกันอย่างสิ้นเชิงกับความรุนแรงในบางศาสนา
ท่านลองจินตนาการดูว่า หากคนในโลกนี้ทั้งโลก ต้องนับถือศาสนาเพียงศาสนาเดียว สันติภาพและสันติสุขที่แท้จริงของโลกจะเกิดขึ้นได้ด้วยคำสอนของศาสนาใด
เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุขอย่างแท้จริง ของมวลมนุษย์และสรรพสัตว์ทั้งหลายทุกชาติ ศาสนาโดยทั่วกัน จึงเรียนชี้แจงมาเพื่อให้สื่อมวลชนได้ทราบและโปรดทำความเข้าใจให้ถูกต้องตามข้อแท้จริงดังกล่าวนี้ ด้วยความเคารพรัก
สถานีวิทยุพระพุทธศาสนาแห่งชาติ(สวพช.) พุทธมณฑล
สมาคมสื่อมวลชนพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมไทยแห่งชาติ(สพวช.)
คณะภิกษุและฆราวาสที่ร่วมในการประชุม
วันจันทร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ระบอบเผด็จการทหารสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลพลเรือน จริงหรือ? ตอบ: ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมมักส่งผลต่อทางลบในการพัฒนา!
ทราบว่าหลายท่านที่นิยมชมชอบรัฐบาลเผด็จการทหาร มักยกเหตุผลว่า รัฐบาลนี้ได้ทำอะไรหลายๆอย่างที่รัฐบาลจากการเลือกตั้งไม่สามารถทำได้ ก็แน่ล่ะครับ หลายโครงการ เช่น โครงการ 2 ล้านล้าน, โครงการบริหารจัดการน้ำ 3 แสนกว่าล้าน, การโอนเงินจำนำข้าวให้ชาวนา, ตัดโค่นต้นไม้เพื่อทวงคืนผืนป่า, การกู้เงินกองทุนประกันสังคม ฯลฯ รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ทำไม่ได้เพราะถูกขัดขวาง แต่พอมาเป็นรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ กลุ่มคนที่ขัดขวางก็ไม่ทราบว่าหายไปไหน
ก็เป็นเรื่องที่ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะกันเอาเองนะครับ ส่วนว่าหากเน้นเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ที่มักเชื่อกันว่าในยุคเผด็จการจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลพลเรือนนั้น เมื่อลองค้นงานวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ เจอข้อมูลดังนี้ครับ
มีข้อถกเถียงว่า ระบอบเผด็จการทหารสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลพลเรือน ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1) ทหารมีทัศนคติและค่านิยมที่ทันสมัย มีความรักชาติ มีวินัย และทำงานมีประสิทธิภาพกว่ารัฐบาลแบบชนเผ่า หรือระบอบสืบสายโลหิต
2) ไม่ต้องกังวลกับการแข่งขันเลือกตั้ง จึงสามารถตัดสิตใจประเด็นยากๆ แต่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวโดยไม่ต้องคำนึงถึงคะแนนนิยม
3) ทหารมีเครื่องมือในการบังคับ ให้การตัดสินใจเกิดผลได้จริงจัง รวดเร็ว (Morris Janowitz, 1997)
อย่างไรก็ตามข้อมูลเชิงประจักษ์ ในหลายประเทศไม่สนับสนุนความเชื่อที่ว่ารัฐบาลทหารนำความเจริญทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้มากกว่ารัฐบาลพลเรือน คนส่วนมากโดยเฉพาะในประเทศประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วเชื่อว่า ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมมักส่งผลต่อทางลบในการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ความแตกต่างที่มักถูกอ้างถึงคือ
1. ประเทศในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทำสงครามระหว่างกันเอง ไม่สะสมกองทัพและกำลังพลตามแนวชายแดนในลักษณะที่จะย่อมให้เกิดการวิวาทระหว่างประเทศ ดังนั้น สงครามชายแดนที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของทหารจึงน้อยลงไปด้วย และในประเทศประชาธิปไตยมักไม่เกิดสงครามกลางเมือง
2. ประเทศประชาธิปไตยที่ยากจน มักมีแนวโน้มที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่า มีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่า มีอัตราการตายของทารกแรกเกิดต่ำกว่า ได้บริโภคน้ำดื่มที่สะอาดอย่างทั่วถึงกว่า และได้รับการบริการสาธารณสุขที่ดีกว่าประชาชนในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ยากจน ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นเพราะว่าได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือเพราะใช้จ่ายเงินงบประมาณในปริมาณที่สูงกว่า ในเรื่องการศึกษาและสุขภาพประชาชน แต่เป็นเพราะในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า และการจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงกว่า
3. อมาตยา เซ็น (Amartya Sen) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานมากมาย มีทฤษฎีว่า ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพประเทศใด ต้องประสบปัญหาอดอยากขาดแคลน (famine) อย่างรุนแรง ทั้งนี้รวมถึงประเทศประชาธิปไตยที่ไม่ได้ร่ำรวยอย่างอินเดีย โดยอินเดียประสบภาวะอดอยากขาดแคลนครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1943 ส่วนความอดอยากที่เกิดก่อนหน้านี้ คือในศตวรรษที่ 19 ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
4. ปัญหาผู้ลี้ภัยแทบทุกครั้ง เกิดจากประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย และสถานการณ์การลี้ภัยที่เกิดขึ้นในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาในประเทศเผด็จการอำนาจนิยมทั้งสิ้น
5. ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศยากจนในทวีปอาฟริกาที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วกว่าประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยในทวีปเดียวกัน (สิริพรรณ, 2553)
สรุป จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมมักส่งผลต่อทางลบในการพัฒนา!
เชือก โชติช่วย
11 มิ.ย. 2558
เอกสารอ้างอิง
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2553). การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ.เอกสารคำสอนวิชาการเมืองการ
ปกครองเปรียบเทียบ. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)
Morris Janowitz, Military Institutions and Coercion in the Developing Nations, Chicago: University of
Chicago Press, 1977.
ก็เป็นเรื่องที่ต้องคิด วิเคราะห์ แยกแยะกันเอาเองนะครับ ส่วนว่าหากเน้นเฉพาะในเรื่องเศรษฐกิจ ที่มักเชื่อกันว่าในยุคเผด็จการจะสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลพลเรือนนั้น เมื่อลองค้นงานวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้ เจอข้อมูลดังนี้ครับ
มีข้อถกเถียงว่า ระบอบเผด็จการทหารสามารถพัฒนาเศรษฐกิจได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลพลเรือน ด้วยเหตุผล 3 ประการ คือ
1) ทหารมีทัศนคติและค่านิยมที่ทันสมัย มีความรักชาติ มีวินัย และทำงานมีประสิทธิภาพกว่ารัฐบาลแบบชนเผ่า หรือระบอบสืบสายโลหิต
2) ไม่ต้องกังวลกับการแข่งขันเลือกตั้ง จึงสามารถตัดสิตใจประเด็นยากๆ แต่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในระยะยาวโดยไม่ต้องคำนึงถึงคะแนนนิยม
3) ทหารมีเครื่องมือในการบังคับ ให้การตัดสินใจเกิดผลได้จริงจัง รวดเร็ว (Morris Janowitz, 1997)
อย่างไรก็ตามข้อมูลเชิงประจักษ์ ในหลายประเทศไม่สนับสนุนความเชื่อที่ว่ารัฐบาลทหารนำความเจริญทางเศรษฐกิจและส่งเสริมการพัฒนาประเทศได้มากกว่ารัฐบาลพลเรือน คนส่วนมากโดยเฉพาะในประเทศประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้วเชื่อว่า ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมมักส่งผลต่อทางลบในการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ความแตกต่างที่มักถูกอ้างถึงคือ
1. ประเทศในระบอบประชาธิปไตยจะไม่ทำสงครามระหว่างกันเอง ไม่สะสมกองทัพและกำลังพลตามแนวชายแดนในลักษณะที่จะย่อมให้เกิดการวิวาทระหว่างประเทศ ดังนั้น สงครามชายแดนที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตของทหารจึงน้อยลงไปด้วย และในประเทศประชาธิปไตยมักไม่เกิดสงครามกลางเมือง
2. ประเทศประชาธิปไตยที่ยากจน มักมีแนวโน้มที่ประชาชนจะได้รับการศึกษาที่ดีกว่า มีอายุเฉลี่ยยืนยาวกว่า มีอัตราการตายของทารกแรกเกิดต่ำกว่า ได้บริโภคน้ำดื่มที่สะอาดอย่างทั่วถึงกว่า และได้รับการบริการสาธารณสุขที่ดีกว่าประชาชนในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมที่ยากจน ทั้งหมดนี้ ไม่ได้เป็นเพราะว่าได้รับความช่วยเหลือจากต่างประเทศ หรือเพราะใช้จ่ายเงินงบประมาณในปริมาณที่สูงกว่า ในเรื่องการศึกษาและสุขภาพประชาชน แต่เป็นเพราะในระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ดีกว่า และการจัดการทรัพยากรมีประสิทธิภาพสูงกว่า
3. อมาตยา เซ็น (Amartya Sen) นักเศรษฐศาสตร์ที่มีผลงานมากมาย มีทฤษฎีว่า ไม่มีประเทศประชาธิปไตยที่มีเสถียรภาพประเทศใด ต้องประสบปัญหาอดอยากขาดแคลน (famine) อย่างรุนแรง ทั้งนี้รวมถึงประเทศประชาธิปไตยที่ไม่ได้ร่ำรวยอย่างอินเดีย โดยอินเดียประสบภาวะอดอยากขาดแคลนครั้งใหญ่ที่สุดเป็นครั้งสุดท้ายในปี ค.ศ. 1943 ส่วนความอดอยากที่เกิดก่อนหน้านี้ คือในศตวรรษที่ 19 ภายใต้การปกครองของอังกฤษ
4. ปัญหาผู้ลี้ภัยแทบทุกครั้ง เกิดจากประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตย และสถานการณ์การลี้ภัยที่เกิดขึ้นในระยะ 30 ปีที่ผ่านมาในประเทศเผด็จการอำนาจนิยมทั้งสิ้น
5. ในระยะ 50 ปีที่ผ่านมา พบว่าประเทศยากจนในทวีปอาฟริกาที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจรวดเร็วกว่าประเทศที่ไม่ใช่ประชาธิปไตยในทวีปเดียวกัน (สิริพรรณ, 2553)
สรุป จากข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ประเทศที่ปกครองด้วยระบอบอำนาจนิยมมักส่งผลต่อทางลบในการพัฒนา!
เชือก โชติช่วย
11 มิ.ย. 2558
เอกสารอ้างอิง
สิริพรรณ นกสวน สวัสดี. (2553). การเมืองการปกครองเปรียบเทียบ.เอกสารคำสอนวิชาการเมืองการ
ปกครองเปรียบเทียบ. คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (เอกสารไม่ตีพิมพ์เผยแพร่)
Morris Janowitz, Military Institutions and Coercion in the Developing Nations, Chicago: University of
Chicago Press, 1977.
วันจันทร์ที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ชีวิตดี๊ดี! ประมวลภาพอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์พร้อมแกนนำเพื่อไทย ทัวร์ทำบุญวัดหลวงพ่อโสธร จ.ฉะเชิงเทรา 8 มิ.ย. 58
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี พร้อมแกนนำและอดีตส.ส.พรรคเ พื่อไทย (พท.) อาทิ นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการเลขาธิการพรรค นายชูศักดิ์ ศิรินิล หัวหน้าคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศ ึกษาธิการ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล อดีตรองนายกฯ นายชวลิต วิชยสุทธิ์ รักษาการรองเลขาธิการพรรค นายอุดมเดช รัตนเสถียร อดีตส.ส.นนทบุรี นายปรีชาพล พงษ์พานิช อดีตส.ส.ขอนแก่น น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล อดีตส.ส.บัญชีรายชื่อ เดินทางไปอำเภอบางน้ำเปรี้ย ว จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อไปพักผ่อน เล่นกอล์ฟ พร้อมรับประทานอาหารกลางวัน ก่อนแวะสักการะหลวงพ่อโสธร สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวแปดร ิ้ว
สำหรับการเดินทางไป จ.ฉะเชิงเทราครั้งนี้ ไม่มีนัยทางการเมือง เป็นการไหว้พระสำคัญของบ้าน เมืองเพื่อความสบายใจ แต่ทั้งนี้ก็มีเจ้าหน้าที่ท หารตามติดมาโดยตลอด
วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ลดาวัลลิ์ หวั่น “โรคกลัวทักษิณ” ระบาด
2 มิ.ย. 2558 นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวถึงกรณีที่มีความพยายามทำลายล้าง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยมี อดีต ส.ส. อดีต ส.ว. บางคน ออกมาจี้ให้กระทรวงการต่างประเทศยกเลิกหนังสือเดินทาง ถอดยศ รวมถึงเสนอให้เรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ของ พ.ต.ท.ทักษิณ แม้ว่าท่านได้พำนักอยู่ต่างประเทศหลายปีแล้วก็ตาม ตนเห็นว่าคนเหล่านี้หวาดกลัวต่อ พ.ต.ท.ทักษิณมากเกินไป และเป็นการทำลายบรรยากาศการสร้างความปรองดองของรัฐบาลปัจจุบัน
นางลดาวัลลิ์กล่าวว่า เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมเรื่องแบบนี้จึงเกิดขึ้นติดๆกันเหมือนเป็นการแพร่ระบาดในเวลานี้ ทำให้นึกถึงคำศัพท์การเมืองร่วมสมัย ของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่บัญญัติศัพท์ "โรคกลัวทักษิณ" ไว้ว่า "เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง ที่พบมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่หลายแห่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางและชั้นสูงไม่ค่อยพบในหมู่ ชนชั้นกลางระดับล่างและชนชั้นล่างในต่างจังหวัด พาหะนำโรคได้แก่ ผู้ใกล้ชิด สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคมทั้งหลาย ผู้ป่วยมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน วิงเวียนศีรษะ ควบคุมตนเองไม่ได้ กล่าววาจาไม่สุภาพ ผรุสวาทเสียดสี ในรายที่อาการหนักอาจเดือดดาล ถึงขั้นก่ออาชญากรรมได้ ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบวัคซีนป้องกันหรือยารักษาโรคนี้แต่อย่างใด"
นางลดาวัลลิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า อยากขอร้องให้พาหะนำโรคที่ไม่เป็นกลางของสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์บางสำนัก รวมทั้งขอร้องให้ทุกคน พิจารณาตัวเองด้วยว่า มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคกลัวทักษิณ ตามที่ ดร.ชาญวิทย์ ระบุหรือไม่ เพราะคนป่วยโรคนี้นับว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคม เป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และยังไม่มียาใดๆที่จะรักษาให้หายได้
นางลดาวัลลิ์กล่าวว่า เป็นที่น่าสงสัยว่า ทำไมเรื่องแบบนี้จึงเกิดขึ้นติดๆกันเหมือนเป็นการแพร่ระบาดในเวลานี้ ทำให้นึกถึงคำศัพท์การเมืองร่วมสมัย ของ ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ ที่บัญญัติศัพท์ "โรคกลัวทักษิณ" ไว้ว่า "เป็นโรคระบาดชนิดหนึ่ง ที่พบมากที่สุดในกรุงเทพมหานคร และเมืองใหญ่หลายแห่ง ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นคนชั้นกลางและชั้นสูงไม่ค่อยพบในหมู่ ชนชั้นกลางระดับล่างและชนชั้นล่างในต่างจังหวัด พาหะนำโรคได้แก่ ผู้ใกล้ชิด สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และสื่อสังคมทั้งหลาย ผู้ป่วยมักมีอาการครั่นเนื้อครั่นตัว หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน วิงเวียนศีรษะ ควบคุมตนเองไม่ได้ กล่าววาจาไม่สุภาพ ผรุสวาทเสียดสี ในรายที่อาการหนักอาจเดือดดาล ถึงขั้นก่ออาชญากรรมได้ ปัจจุบันยังไม่มีการค้นพบวัคซีนป้องกันหรือยารักษาโรคนี้แต่อย่างใด"
นางลดาวัลลิ์ กล่าวในตอนท้ายว่า อยากขอร้องให้พาหะนำโรคที่ไม่เป็นกลางของสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์บางสำนัก รวมทั้งขอร้องให้ทุกคน พิจารณาตัวเองด้วยว่า มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งของโรคกลัวทักษิณ ตามที่ ดร.ชาญวิทย์ ระบุหรือไม่ เพราะคนป่วยโรคนี้นับว่าเป็นภัยอันตรายต่อสังคม เป็นภัยต่อความสงบสุขของประชาชน และเป็นภัยต่อความมั่นคง เนื่องจากยังไม่มีวัคซีนป้องกันโรค และยังไม่มียาใดๆที่จะรักษาให้หายได้
สมัครสมาชิก:
บทความ
(
Atom
)