วันพฤหัสบดีที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2559

สงฆ์นานาชาติ ยื่น UN ระงับการใช้ความรุนแรงและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของพระธัมมชโยและสาธุชนวัดพระธรรมกาย

วันที่ 15 ธ.ค. เวลา 10.00 น. เครือข่ายพระสงฆ์นานาชาติในประเทศไทย เข้ายื่นหนังสือที่ UN สำนักงานประเทศไทย เพื่อระงับการใช้ความรุนแรงและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนพื้นฐานของพระเทพญาณมหามุนีและสาธุชนวัดพระธรรมกาย

โดยก่อนหน้านี้สมัชชาสงฆ์เถรวาทโลกและองค์กรพุทธนานาชาติหลายประเทศได้ทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ขอให้ยุติการกระทำที่รุนแรงต่อพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) และชาวพุทธที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย

ทั้งนี้ในจดหมายระบุว่า


15  ธันวาคม  2559
เรียน       คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                สำนักงาน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ
                กรุงเทพมหานคร

เจริญพร
จากที่คณะสงฆ์นานาชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทย ได้สังเกตการณ์สถานการณ์ในประเทศไทยตามสื่อต่างๆ คณะสงฆ์รู้สึกกังวลใจอย่างยิ่งเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน และการกดขี่เสรีภาพในการแสดงออกของชาวพุทธทั้งหลาย การกระทำที่ส่อถึงความไม่ชอบมาพากลของทางการไทยและสื่อต่างๆ อันแสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ในการทำลายชื่อเสียงของพระพุทธศาสนา
 อันเป็นที่ทราบพระพุทธศาสนาเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลกว่าเป็นศาสนาแห่งสันติสุข หลักปรัชญาของพระพุทธศาสนาคือ ความสันติสุขและความรักโดยไม่แบ่งเชื้อชาติหรือศาสนา ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาโลก ประชากรร้อยละ 95 ของประเทศนับถือศาสนาพุทธ มีพระประมุขทรงเป็นองค์เอกอัครศาสนูปถัมภกในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา นี่คือกุญแจที่ทำให้เกิดการสร้างสันติสุขขึ้นในสังคมไทย  แต่ในปัจจุบันสื่อต่างๆ รายงานว่าจะมีการใช้กำลังเกินกว่าเหตุเพื่อบุกไปยังวัดพระธรรมกายในขณะที่คดีทั้งหลายยังไม่ได้มีการสั่งฟ้องอีกทั้งยังปราศจากหลักฐานว่าพระเทพญานมหามุนี หรือ เจ้าอาวาสองค์ก่อนกระทำความผิดดังที่ได้มีการประโคมข่าว แท้จริงแล้วหลวงพ่อธัมมชโยเป็นผู้บริสุทธิ์ยังไม่ถูกสั่งฟ้องในคดีใดเลย

 ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการรายงานข่าวว่า มีการเตรียมกองกำลังมากกว่า 2000 นายพร้อมทั้งสุนัขตำรวจ และเครื่องมือควบคุมการจราจลทุกชนิด ในคลิปเสียงของนายตำรวจที่บอกว่าจะมีการเข้าใช้กำลังความรุนแรงกับผุ้คนที่มาขัดขวางการทำงาน การกระทำของทางการนี้จัดเป็นการกระทำที่รุนแรงเกินกว่าเหตุ เพราะหมายจับนั้นเป็นเพียงหมายจับเพื่อไปสอบปากคำ ไม่ใช่การจับอาชญากร และการใช้กำลังเกิดกว่าเหตุนี้จะมีผลเสียอย่างรุนแรงกับทางสาธุชนนับหมื่นคนที่มาปฏิบัติธรรมที่วัด
 นอกจากนี้ยังมีเหตุการณ์ที่ทางทหารได้ยกเลิกการจัดงานประชุมเสวนาวิชาการเกี่ยวกับสถานการณ์ปัจจุบันของพระพุทธศาสนา ประชาชนชาวไทยมีสิทธิโดยชอบธรรมตามหลักรัฐธรรมนูญที่จะแสดงความคิดเห็น กลุ่มทหารได้บุกมาที่ห้องสัมนาและขอให้ทางผู้จัดยกเลิกการจัดงานโดยไม่มีการแจ้งล่วงหน้า คณะสงฆ์ไม่สามารถเข้าใจถึงการกระทำอันไม่ชอบธรรมของทหารได้เลย
 มีหลายคดีที่พระถูกจับและถูกบังคับให้สึกและต่อมาพิสูจน์พบว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ ในหลายๆ คดีไม่มีหลักฐานเพียงพอ หรือเป็นแค่เพียงการกล่าวหาลอยๆเท่านั้น การกระทำนี้นับเป็นการกระทำที่ไร้ความยุติธรรมโดยใช้หลักที่ว่าจับก่อนแล้วค่อยตรวจสอบฐานความผิด โดยพระที่ถูกควบคุมตัวก็ต้องถูกสึกเปลี่ยนสถานะจากความเป็นพระไป คดีต่างๆเหล่านี้ไม่เคยมีการรอมชอม ไม่มีสื่อสำนักใดออกมาชี้แจงถึงความบริสุทธิ์ของพระรูปนั้นๆเมื่อมีการพิสูจน์แล้วว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ กระบวนการนี้จัดเป็นกระบวนการที่ปราศจากความยุติธรรมสำหรับพระสงฆ์

 อาตมาภาพและคณะสงฆ์จึงใคร่ขอให้ท่านช่วยปกป้องสิทธิมนุษยชนของพระและพุทธศาสนิกชนในเมืองไทย เพราะพวกเขาดำรงชีวิตภายใต้พื้นฐานความรักและปราศจากการใช้ความรุนแรง หากสิทธิของพวกเขาไม่ถูกปกป้องจากท่านแล้ว คงจะไม่มีบุคคลใดที่จะพยายามแก้ปัญหาโดยสันติ เราไม่ควรส่งเสริมหรือปล่อยให้การกระทำผิดนี้ดำเนินต่อไป
 
 อาตมาภาพและคณะสงฆ์จักมีความรู้สึกยินดียิ่งหากคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ จะขอให้รัฐบาลไทยใช้มาตรการในการแก้ปัญหาอย่างสันติและปราศจากความรุนแรงกับวัดพระธรรมกายรวมถึงส่งเสริมการปกป้องสิทธิมนุษยชนของชาวพุทธ

ขอแสดงความนับถือ


คณะสงฆ์นานาชาติในประเทศไทย


December 15, 2016

To           Mr. Laurent Meillan
Officer-in-Charge            
Office of the United Nations High Commissioner for Human Rights
Bangkok

Yours Excellency,

We have been observing the news reports in Thailand with grave concerns. There have been many cases of human’s rights violation and suppression of freedom expression on Buddhist communities. These actions were conspired by Thai authorities and media. Their objectives are to defame Buddhism. 

Buddhism has been globally recognized as the religion of peace. Its philosophy promote peace and compassion beyond boundaries of races or religions. Thailand is the center of Buddhism in the world as 95% of its population is Buddhist. The monarchy has also been supportive of the promotion of Buddhism. This helps building peace in the society. 

There were news reports on the plan to use force in order to break into Wat Phra Dhammakaya. A number of cases have not been charged yet. There was no proof of Phrathepyanmahamuni – Former Abbot of Wat Phra Dhammakaya – committed of any crimes. Hence, he has not been indicted of any charges or crimes. Nonetheless, news reports showed that Thai authorities prepared over 2,200 armed forced with K-9 unit and riot control equipment. There were also sound clips of deputy commanders of Royal Thai Police ordering the use of fire hose on people who have not shown any threats. The authorities’ actions are overly exaggerated. As the arrest warrant for  a 72-year-old sick monk is only for interrogation, not for arresting a criminal. Their actions may cause severely harm the lives of thousands of peaceful devotees in the temple ground. 

There was also the case on Thai soldier suspended the seminar on the current situation of Buddhism. The seminar was not commenced yet. It is within the rights of Thai citizens to express their opinions in accordance with the constitutions. The Thai soldiers raid the seminar room and suspended it without prior notice. We could not comprehend the actions of Thai soldiers. 

There are also more cases in the cases where as monks were arrested and forced to disrobe from monkhood. Later, they were found not guilty. Many cases did not have plaintiffs or accusers. This is not considered as justice being served. This is an execution before proven guilty, as that person cannot return to be monk again. These cases have never been compensated. None of the media ever clarifies their innocent as much as when they reported the false claims. This is the unfair treatment in Thai judicial system on monk. 

We request for your kind consideration to look into the protection of Buddhist monks and devotees’ rights in Thailand. They live their lives based on principles of compassion and non-violence. If their rights are not protected, there would not be any individuals who try to resort everything through peaceful means. No one shall be encouraged to withstand such abuses peacefully.  

We would be most grateful if the UN Human Rights Commissioner shall request the Thai government to seek peaceful and non-violent means on the case of Wat Phra Dhammakaya, and promote the protection of human rights of Buddhists. 

Yours Truly,

International Buddhist Sangha in Thailand







วันอาทิตย์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2559

"เหตุผลที่เชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ของหลวงพ่อธัมมชโย" ชี้แจงข้อกล่าวหาวัดพระธรรมกายและพระธัมมชโย ผ่านการถวายฎีการ้องทุกข์ ฉบับเต็ม








วัดพระธรรมกาย
ตำบลคลองสาม อำเภอคลองหลวง
จังหวัดปทุมธานี ๑๒๑๒๐
๙ ธันวาคม ๒๕๕๙

เรื่อง กราบบังคมทูลฯ ถวายฎีการ้องทุกข์ ขอพระบารมีปกเกล้าปกกระหม่อม ระงับเหตุรุนแรงอันจะบังเกิดขึ้นได้ ระหว่างผู้ถือครองอำนาจรัฐกับสถาบันพระพุทธศาสนา

กราบบังคมทูลฯ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ที่เคารพรักยิ่งของปวงชนชาวไทย

ขอเดชะใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพระพุทธเจ้าเหล่าพสกนิกรผู้มีรายนามข้างท้ายนี้ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูล เพื่อทรงทราบถึงความทุกข์ร้อนแสนสาหัส ดังนี้

๑.     วัดพระธรรมกายมีจุดเริ่มต้นจากคุณยายอาจารย์อุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ศิษย์เอกด้านธรรมปฏิบัติของพระมงคลเทพมุนี (หลวงพ่อวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ) ได้สอนธรรมปฏิบัติแก่ศิษยานุศิษย์ ในจำนวนนั้นมีพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมฺมชโย) ซึ่งได้มาปฏิบัติธรรมกับคุณยายอาจารย์อย่างสม่ำเสมอทุกวันตั้งแต่ ปี พ..๒๕๐๖ เมื่อเรียนจบคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จึงได้ตั้งใจบรรพชาอุปสมบทตลอดชีวิต เมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม พ..๒๕๑๒ ต่อมาได้รับบริจาคที่ดินจานวน ๑๙๖ ไร่ จากคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสุทธาธิบดี จึงได้บุกเบิกสร้างเป็นวัดพระธรรมกายขึ้น ศิษยานุศิษย์ท่านอื่นๆของคุณยายอาจารย์ก็ได้ทยอยอุปสมบทเพิ่มขึ้นตามลำดับ เมื่อเสนาสนะมีความพร้อมในระดับหนึ่งแล้วจึงได้ยื่นเรื่องขอจัดตั้งเป็นวัด และได้รับอนุญาตจัดตั้งเป็นวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.. ๒๕๒๐ โดยมีพระอธิการไชยบูลย์ ธัมฺมชโย เป็นเจ้าอาวาส ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์สร้างอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๔ ธันวาคม ๒๕๒๐ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์เสด็จแทนพระองค์ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๑) นอกจากนี้สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้เสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อพระประธานเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม ๒๕๒๒ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๒) และยังได้พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้พระอธิการไชยบูลย์ ธัมฺมชโย เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และพระเผด็จ ทัตฺตชีโว รองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย เข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อรับพระราชทานทุนทรัพย์บำรุงวัด เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๕ ณ พระราชวังสระปทุม (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๓) และตรัสมอบหมายให้ช่วยกันอบรมศีลธรรมแก่เยาวชนของชาติให้กว้างขวางด้วย ซึ่งทั้งเจ้าอาวาสและรองเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกายก็ได้น้อมรับพระราชดำรัส และตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เผยแผ่พระธรรมแก่เยาวชนอย่างเต็มกำลังตลอดมา

นอกจากนี้สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา ได้เสด็จบำเพ็ญพระราชกุศล ถวายปัจจัยบำรุงพระพุทธศาสนาเป็นการส่วนพระองค์ ณ วัดพระธรรมกาย เมื่อวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ๒๕๒๗ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๔)

และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมารได้เสด็จเป็นองค์ประธานในงานทอดกฐินสามัคคี ณ วัดพระธรรมกายเมื่อวันที่ ๒๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๘ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๕) และเสด็จเป็นองค์ประธานในพิธีเททองหล่อรูปเหมือนทองคำพระมงคลเทพมุนี (สด จันฺทสโร) เมื่อวันมาฆบูชา ปี พ.. ๒๕๓๙ ณ วัดพระธรรมกาย


. ด้วยพระบารมีของพระบรมราชจักรีวงศ์ การทำงานของวัดพระธรรมกายได้ก้าวหน้ามาโดยลำดับ โดยพระเทพญาณมหามุนี (ไชยบูลย์ ธัมฺมชโย) เจ้าอาวาสได้นำคณะสงฆ์ อุบาสก อุบาสิกา และคณะศิษยานุศิษย์ ทุ่มเททำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา ปลูกฝังศีลธรรมแก่ประชาชนและเยาวชนอย่างเต็มกำลังสนองพระราชดำริ ฯ มีกิจกรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาจำนวนมาก อาทิ
- ร่วมกับคณะสงฆ์ทั่วประเทศจัดโครงการอุปสมบทหมู่ ๑๐๐,๐๐๐ รูปทุกหมู่บ้านทั่วไทย ปีละ ๒ ครั้ง
- ร่วมกับคณะสงฆ์ทั่วประเทศจัดโครงการบรรพชาสามเณร ๑ ล้านรูป
- จัดโครงการอบรมอุบาสิกาแก้ว ๑ ล้านคน
- สนับสนุนโครงการเด็กดีวีสตาร์ ฝึกอบรมเยาวชนให้มีนิสัยดี มีความกตัญญู รับผิดชอบ ปีละ ๑ ล้านคน
- จัดพิธีบำเพ็ญกุศลแด่ผู้เสียชีวิตจากภัยสึนามิเมื่อปี พ..๒๕๔๗ ที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดพังงา
- จัดทอดกฐินสัมฤทธิ์ปีละเกือบพันวัด แก่วัดที่ยังไม่มีเจ้าภาพรับทอดกฐินทั่วประเทศ
- จัดทอดผ้าป่า ๓๒๓ วัด ใน ๔ จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นประจำทุกเดือน มากว่า ๑๐ ปีแล้ว และจะทำต่อไปจนกว่าไฟใต้จะดับ
- จัดตั้งกองทุนหนุนแรงใจช่วยครูใต้เป็นประจำทุกเดือน
- จัดตักบาตรใหญ่ทั่วประเทศ เพื่อส่งเครื่องอุปโภคบริโภคไปช่วยคณะสงฆ์ ทหาร ตำรวจ ครู และประชาชนใน ๔ จังหวัดภาคใต้
- สร้างวัดไทยในต่างประเทศจำนวน ๙๕ แห่ง ใน ๓๒ ประเทศ
- เชิญชวนประชาชนให้มาสวดมนต์ นั่งสมาธิ ฟังธรรม ที่วัดทุกวันอาทิตย์ ในวันสำคัญทางศาสนามีประชาชนมาปฏิบัติธรรมครั้งละหลายแสนคน
ฯลฯ


. วัดพระธรรมกายเป็นวัดในพระพุทธศาสนาตามกฎหมาย โดยมีพระเทพญาณมหามุนีเป็นเจ้าอาวาสมีอำนาจหน้าที่ในการดำเนินกิจการพระพุทธศาสนาตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.. ๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติม พ.. ๒๕๓๕ วัดพระธรรมกายมีโครงการในการขยายงานก่อสร้าง ศาสนสถานหลายประการ เช่น โครงการก่อสร้างที่พักสงฆ์ ที่ปฏิบัติธรรม โครงการเผยแผ่ฯทั้งภายในและต่างประเทศ โดยปัจจัยได้มาจากการรับบริจาคจากสาธุชนที่มีจิตศรัทธาเป็นหลัก ตลอดระยะเวลา ๔๐ กว่าปีที่ผ่านมา วัดพระธรรมกายได้รับเงินบริจาคจากสาธุชนจำนวนนับล้านคนแล้วนำมาใช้จ่ายในกิจการสาธารณกุศลต่างๆ มาโดยตลอด รวมมูลค่าหลายหมื่นล้านบาท ซึ่งทางวัดได้นำมาใช้จ่ายในการก่อสร้างศาสนสถานให้สามารถรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาปฏิบัติธรรมพร้อมกันได้คราวละ ๑ ล้านคน ซึ่งศาสนสถานเหล่านี้เป็นสมบัติของประเทศชาติและพระพุทธ

ศาสนา นอกจากนี้ยังมีโครงการเผยแผ่ธรรมะสู่ประชาชนและเยาวชนจานวนนับสิบล้านคนมาตลอด มีผลงานเป็นรูปธรรมประจักษ์ชัดปรากฏสู่สาธารณะเป็นที่รับรู้รับทราบโดยทั่วไป


. เงินที่วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีได้รับบริจาคโดยเช็คสหกรณ์ฯ จากนายศุภชัยจำนวน ๑,๐๕๕,๕๖๐,๐๐๐ บาท เป็นสัดส่วนเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเงินที่ได้รับบริจาคจากสาธุชนทั่วโลก วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีจึงไม่มีความจำเป็นที่จะไปร่วมกระทำความผิดกับนายศุภชัยฐานฟอกเงินหรือรับของโจรแต่อย่างใด


. หากวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีเป็นผู้ที่ร่วมกันกระทำความผิดกับนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ฐานสมคบกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจรตามข้อกล่าวหา ผู้กระทำจะต้องรู้อยู่แล้วว่า เมื่อมีการนำเงินออกจากสหกรณ์โดยมิชอบกว่าหมื่นล้านบาท สหกรณ์ฯจะต้องขาดสภาพคล่องทางการเงินจนไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หรือเกิดเป็นคดีความแน่นอน ดังนั้นผู้ร่วมกระทำความผิดจะต้องพยายามปกปิดซ่อนเร้นเส้นทางการเงินเพื่อไม่ให้ความผิดมาถึงตัว และหาทางถ่ายเทเงินกลับไปสู่ผู้ร่วมกระทาความผิด
แต่พระเทพญาณมหามุนีรับบริจาคโดยเปิดเผยท่ามกลางประชาชนเรือนหมื่นเรือนแสนและรับบริจาคมาเป็นเช็คสหกรณ์ซึ่งสามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้หมด หากเป็นผู้ที่สมคบกันกระทำความผิดจะไม่มีใครรับเงินมาด้วยวิธีการที่ไม่ชาญฉลาดหรือวิธีการที่เปิดเผยเช่นนี้อย่างแน่นอน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่ากรรมเป็นเครื่องส่อเจตนาหรือในทางกฎหมายก็มีคำกล่าวว่ากรรมเป็นเครื่องชี้เจตนาพฤติกรรมจริงที่เกิดขึ้นนี้จึงเป็นเครื่องแสดงให้เห็นว่า พระเทพญาณมหามุนีรับบริจาคมาโดยเปิดเผยและสุจริตในทางกุศลสาธารณะ เหมือนเช่นที่วัดอื่นๆ หรือพระภิกษุอื่นๆ ทั่วไปประพฤติปฏิบัติมา


. เงินบริจาคที่ได้รับมาทั้งหมด พระเทพญาณมหามุนีไม่ได้นำไปใช้ส่วนตัวเลยแม้แต่บาทเดียว และไม่มีการผ่องถ่ายหรือถ่ายเทคืนไปให้นายศุภชัยฯเลย จึงไม่ใช่การฟอกเงิน ซึ่งสามารถตรวจสอบเส้นทางการเงินได้ทั้งหมด เนื่องจากไม่เคยเบิกถอนเป็นเงินสดเลย แต่เป็นการโอนผ่านบัญชีไปให้วัดและมูลนิธิ เพื่อก่อสร้างศาสนสถานเป็นประโยชน์ในทางกุศลสาธารณะตามเจตนารมณ์ของผู้บริจาค ซึ่งสำนักงาน ปปง.ได้ตรวจสอบเส้นทางการเงินแล้ว สิ่งนี้แสดงถึงเจตนาสุจริตของพระเทพญาณมหามุนี
นอกจากนี้ การบริจาคทานโดยมีวัตถุประสงค์ เป็นนิติสัมพันธ์ และเป็นนิติกรรมที่มีมูลหนี้ ซึ่งทางวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีจะต้องนำเงินที่ได้รับบริจาคดังกล่าวไปดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาครวมถึงนายศุภชัยฯ ซึ่งหากไม่ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาค ก็อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้


. พระเทพญาณมหามุนีอุปสมบทมาแล้ว ๔๘ พรรษา ปัจจุบันอายุ ๗๓ ปี มีอาการอาพาธเรื้อรัง และอยู่ในช่วงปลายของชีวิต ได้ปฏิบัติธรรมทำความดีมาตลอดชีวิต สร้างพระภิกษุสามเณร สร้างวัด สร้างคนให้เป็นคนดี สนับสนุนงานของการคณะสงฆ์ส่วนรวม มีผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนามากมาย เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อสาธารณชนทั่วไป จึงมีศิษยานุศิษย์ที่มีจิตศรัทธาในตัวท่านจำนวนมากบริจาคปัจจัยเป็นการส่วนตัวแก่พระเทพญาณมหามุนีนับรวมแล้วมีจำนวนกว่าสองหมื่นล้านบาท ซึ่งท่านสามารถเบิกไปใช้ได้ตามประสงค์ แต่ท่านก็ไม่เคยถอนเป็นเงินสดออกมาเพื่อใช้จ่ายส่วนตัวเลยแม้แต่บาทเดียว ปัจจัยทั้งหมดได้โอนผ่านบัญชีบริจาค

แก่วัดและมูลนิธิเพื่อประโยชน์แก่สาธารณะและพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น ซึ่งมีหลักฐานทางการเงินสามารถตรวจสอบได้
จึงไม่มีเหตุจูงใจให้พระเทพญาณมหามุนีกระทำความผิดฐานฟอกเงินและรับของโจรกับเงินเพียง ๓๐๐ กว่าล้านบาท ในเมื่อปัจจัยที่ญาติโยมถวายท่านเป็นการส่วนตัวกว่าสองหมื่นล้านบาท ซึ่งท่านสามารถเบิกไปใช้ได้ตามต้องการ ท่านยังไม่เคยเบิกไปใช้ส่วนตัวเลย แต่ได้นำมาทำบุญบริจาคสร้างวัดและเผยแผ่พระพุทธศาสนาไปทั้งหมด


. ตลอดชีวิตที่ผ่านมา พระเทพญาณมหามุนี ได้สร้างศาสนสถานเป็นสมบัติของพระพุทธศาสนาและประเทศชาติมูลค่ากว่า ๔๐,๐๐๐ ล้านบาท สร้างพระภิกษุผู้ตั้งใจบวชอุทิศชีวิตจำนวนร่วม ๔,๐๐๐ รูป สร้างอุบาสก อุบาสิกา ญาติโยมผู้มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาหลายล้านคน
ผู้ที่มีจิตไม่บริสุทธิ์ มาบวชเพราะหวังลาภสักการะ มีเจตนาทุจริต จะไม่ทำอย่างที่พระเทพญาณมหามุนีทา และก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องที่ต้องทำด้วยชีวิต ทุ่มเทจิตใจทั้งหมดลงไป
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่าศีลรู้ได้ด้วยการอยู่ร่วมคนอยู่ด้วยกันจะรู้นิสัยกัน ย่อมไม่สามารถปิดบังนิสัยที่แท้จริงได้ พระเทพญาณมหามุนีเป็นคนอย่างไร อุบาสก อุบาสิกา พระภิกษุ สามเณร ในวัดที่อยู่ด้วยกันมาหลายสิบปีต้องรู้ ไม่มีทางปกปิดกันได้ ถ้าท่านไม่ดีจริง พระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาในวัดซึ่งมีความรู้ความสามารถ สำเร็จการศึกษาตั้งแต่ปริญญาตรี ถึงปริญญาเอก จะไม่มีจิตศรัทธาอุทิศชีวิตตนเพื่อพระพุทธศาสนาตามแบบอย่างของท่านอย่างเช่นทุกวันนี้ ชีวิตของใครๆ ก็รัก จะยอมอุทิศชีวิตตนก็ต่อเมื่อแน่ใจแล้วว่าสิ่งนั้นดีจริงเท่านั้น


. กรมสอบสวนคดีพิเศษได้ดำเนินคดีนายศุภชัย ศรีศุภอักษรกับพวก ในข้อหาร่วมกันยักยอกทรัพย์ (เงินในบัญชี) ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด จำนวนเงิน ๑๑,๓๖๗ ล้านบาท เป็นคดีพิเศษที่ ๑๔๖/๒๕๕๖ โดยวิธีการร่วมกันสั่งจ่ายเช็คของสหกรณ์ จำนวน ๘๗๘ ฉบับ ให้แก่บุคคลและนิติบุคคลจำนวนมาก ซึ่งพระเทพญาณมหามุนีและวัดพระธรรมกายได้รับเช็คจากนายศุภชัยซึ่งนำมาบริจาคเป็นสาธารณกุศล เพื่อสร้างศาสนสถานและศาสนวัตถุ จำนวน ๒๑ ฉบับ เป็นเงินจำนวน ๑,๐๕๕,๕๖๐,๐๐๐ บาท โดยแยกเป็นบริจาคให้แก่วัดพระธรรมกายจำนวน ๑๑ ฉบับ เป็นจำนวนเงิน ๖๖๘,๔๐๐,๐๐๐ บาท และบริจาคให้แก่พระเทพญาณมหามุนี จานวน ๑๐ ฉบับ เป็นจำนวนเงิน ๓๘๗,๑๖๐,๐๐๐ บาท

เมื่อเกิดเหตุการณ์เป็นคดีความขึ้นจนเรื่องลุกลามบานปลาย วัดพระธรรมกายจึงได้ตามนายศุภชัย มาสอบถามว่า ตกลงเงินที่นำมาบริจาคให้กับวัดและพระเทพญาณมหามุนีนั้นได้มาจากไหน นายศุภชัยตอบว่า ยืมมาจากสหกรณ์ฯโดยถูกต้องตามระเบียบสหกรณ์ฯ และได้มีการคืนเงินที่ยืมจำนวนดังกล่าวให้แก่สหกรณ์ฯเสร็จสิ้นแล้ว โดยมีหลักฐานคือ ผลการสอบบัญชีประจำปีและการรับรองของที่ประชุมใหญ่ของสหกรณ์ฯ ซึ่งนายศุภชัยฯ ได้แถลงข่าวต่อสื่อมวลชนให้สังคมทราบความจริงด้วยแล้ว (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๖)
ต่อมาสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ได้ฟ้องดำเนินคดีกับนายศุภชัยและผู้ที่รับเช็คจากนายศุภชัยรวม ๓๒ ราย โดยฟ้องเป็นคดีแพ่งหลายคดี และได้ฟ้องคดีแพ่งกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี (พระธัมมชโย) เป็นคดีหมายเลขดำที่ พ.๗๓๖/๒๕๕๗ ต่อศาลจังหวัดธัญบุรี และคดีหมายเลขดำที่ ๔๔๖๒/๒๕๕๗ และ ๓๖๒๘/๒๕๕๗ ต่อศาลแพ่ง  

คณะศิษย์วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี ได้เล็งเห็นว่าเงินจำนวนดังกล่าว วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี ได้มาโดยเปิดเผยและสุจริต และนำไปใช้ในการก่อสร้างศาสนสถานตามวัตถุประสงค์ของผู้บริจาคหมดแล้ว ซึ่งตามกฎหมายแล้ววัดไม่สามารถจะนำเงินของสาธุชนรายอื่นที่นำมาบริจาคทำบุญในเรื่องอื่นๆ มาคืนให้แก่สหกรณ์ฯได้ และวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีไม่จำเป็นต้องรับผิด แต่เรื่องนี้หากมีการต่อสู้คดีในศาลต่อไปก็จะเสียเวลามาก สร้างความเสียหายต่อวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี ตลอดจนสหกรณ์ฯและสมาชิกผู้ฝากเงิน

ทางคณะศิษย์ฯ จึงได้จัดตั้งกองทุนเฉพาะกิจลูกศิษย์วัดพระธรรมกายเพื่อช่วยเหลือวัดพระธรรมกาย พระราชภาวนาวิสุทธิ์หรือพระเทพญาณมหามุนีและสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จากัดโดยช่วยเหลือเยียวยาแก่สหกรณ์ฯเต็มจำนวนเงินที่นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ได้นำเช็คสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นมาบริจาคให้แก่วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี โดยได้จ่ายเงินให้สหกรณ์ฯตามข้อตกลงครั้งแรกจำนวน ๖๘๔.๗๘ ล้านบาท ครบจำนวนแล้วและสหกรณ์ฯ ได้รับไปครบถ้วนแล้ว และตามบันทึกข้อตกลงครั้งที่สองจำนวน ๓๗๐.๗๘ ล้านบาท ได้ตกลงทยอยจ่ายเดือนละ ๑ งวด รวม ๑๘ งวดๆ ละ ๒๐ ล้านบาท ยกเว้นงวดสุดท้ายจ่ายเป็นจำนวน ๓๐.๗๘ ล้านบาท เริ่มทยอยจ่ายตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๙ เป็นต้นไป ซึ่งขณะนี้สหกรณ์ได้รับเงินแล้ว ๗ งวด เป็นเงิน ๑๔๐ ล้านบาท รวมเป็นเงินตามข้อตกลงทั้งสองครั้งจำนวน ๑,๐๕๕,๕๖๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งพันห้าสิบห้าล้านห้าแสนหกหมื่นบาท) โดยมีเงื่อนไขว่าหากเมื่อคดีถึงที่สุดแล้วปรากฏว่าเงินที่นำมาบริจาคให้แก่วัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนีนั้น หากนายศุภชัย ศรีศุภอักษร ยืมมาจากสหกรณ์ฯและได้คืนแล้วจริง สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นจะต้องคืนเงินที่เยียวยาทั้งหมดแก่คณะศิษย์วัดพระธรรมกาย

ทางสหกรณ์ฯ จึงได้ทำบันทึกข้อตกลงกับกองทุนเฉพาะกิจฯ และยื่นคำร้องขอถอนฟ้องวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องไปแล้ว สหกรณ์ฯ จึงมีหนังสือไปถึงกรมสอบสวนคดีพิเศษ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และแถลงข่าวต่อสาธารณชน แสดงเจตนาว่า ไม่ติดใจดำเนินคดีกับวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี อีกต่อไปทั้งทางแพ่งและทางอาญา และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นยังได้มีหนังสือขอบคุณมายังคณะศิษย์วัดพระธรรมกายอีกด้วย รายละเอียดปรากฏตามบันทึกข้อตกลง, คำร้องขอถอนฟ้อง, หนังสือขอบคุณจากสหกรณ์ฯ, หนังสือสหกรณ์แจ้งสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกรมสอบสวนคดีพิเศษ ไม่ติดใจดำเนินคดีอีกต่อไป, รายงานกระบวนพิจารณาของศาล, เอกสารแถลงข่าวของสหกรณ์ฯ, หนังสือสหกรณ์ฯ แจ้งสมาชิกและกองทุนเฉพาะกิจฯ เรื่องการได้รับเงินเยียวยาจากกองทุนฯ (รายละเอียดตามสิ่งที่ส่งมาด้วย ๗)
ความเสียหายของผู้เสียหาย ตามความผิดมูลฐานคือยักยอกทรัพย์ เมื่อได้รับเงินตามความผิดมูลฐานคืนไปครบถ้วนแล้ว ความเสียหายของผู้เสียหายที่เป็นสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด (เอกชน) ย่อมหมดสิ้นไปแล้ว คงเหลือเฉพาะความเสียหายของรัฐ ซึ่งในความเป็นจริงของเรื่องนี้ ด้วยความผิดมูลฐานของคดีนี้ เป็นกรณีการพิพาทของเอกชนกับเอกชน และเป็นความผิดที่ยอมความกันได้ และผู้เสียหายได้รับเงินคืนครบจำนวนแล้ว ผลกระทบของความเสียหายโดยตรงของรัฐจึงไม่มีแล้ว ถึงแม้องค์ประกอบตามกฎหมายกำหนดว่า

ความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและรับของโจรเป็นความผิดที่เป็นความเสียหายของรัฐ แต่เมื่อผู้เสียหายที่เป็นเอกชนไม่เสียหายแล้ว และตกลงไม่ติดใจเอาความต่อกัน คดีตามที่กล่าวหาจึงสิ้นสุดได้ในชั้นนี้


๑๐. สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ได้เคยนำการกระทำของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร กับพวก (ที่พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ตั้งเป็นคดีพิเศษที่ ๑๔๖/๒๕๕๖) มายื่นฟ้องต่อศาลอาญาและศาลแพ่ง ในข้อหายักยอกทรัพย์, ละเมิด ติดตามเอาทรัพย์คืน และต่อมาสหกรณ์ฯ ได้ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องต่อศาล และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องแล้ว ดังนั้นเมื่อการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดต่อส่วนตัวและผู้เสียหายได้ถอนฟ้องไปแล้ว ย่อมถือว่าการกระทำของนายศุภชัยฯ กับพวก มีการดำเนินคดีถึงที่สุดแล้ว สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับสิ้นไป แต่ต่อมาสมาชิกสหกรณ์ฯบางคน ได้นำการกระทำตามมูลเหตุเดิม มาร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน กรมสอบสวนคดีพิเศษ ให้ดำเนินคดีขึ้นมาใหม่ และการที่พนักงานสอบสวนนำคดีซึ่งระงับสิ้นไปแล้ว มาสอบสวนดำเนินคดีในข้อหายักยอกทรัพย์อีกครั้ง จึงเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย พนักงานอัยการจึงไม่สามารถพิจารณาคดีได้ (ปรากฏตามสำเนาคำฟ้องและคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องของศาล สิ่งที่ส่งมาด้วย ๘ )


๑๑. การตั้งข้อหาของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษในกรณีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด มีประเด็นที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังนี้

๑๑.๑ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษ ได้ตั้งข้อหานายศุภชัยฯ กับพวกในคดีพิเศษที่ ๒๗/๒๕๕๙ ว่าร่วมกันฟอกเงิน โดยอาศัยข้อหาฉ้อโกงประชาชนในคดีพิเศษที่ ๖๓/๒๕๕๗ เป็นความผิดมูลฐาน ซึ่งหากนายศุภชัยมีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนแล้ว เงินที่ได้มาย่อมไม่ใช่เงินของสหกรณ์ฯเพราะเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เป็นเงินของกลางในคดีอาญา ซึ่งสหกรณ์ฯมีหน้าที่จะต้องคืนให้ประชาชนผู้เสียหายผู้ถูกหลอกลวง

๑๑.๒ พนักงานสอบสวนคดีพิเศษได้ตั้งข้อหานายศุภชัยฯกับพวกในคดีพิเศษที่ ๑๔๖/๒๕๕๖ ว่าลักทรัพย์นายจ้าง แสดงว่าทรัพย์นั้นเป็นของสหกรณ์ ซึ่งเป็นนายจ้างของนายศุภชัยฯ
จึงจะเห็นได้ว่า เจ้าของทรัพย์ในคดีพิเศษที่ ๑๔๖/๒๕๕๖ คือสหกรณ์ฯ ส่วนเจ้าของทรัพย์ในคดีพิเศษที่ ๖๓/๒๕๕๗ คือประชาชนผู้ถูกนายศุภชัยฯ หลอกลวง ซึ่งเป็นคนละคน ทั้งที่มีทรัพย์อยู่จำนวนเดียวกัน การดำเนินคดีทั้งสองคดีจึงมีความขัดแย้งกัน และเป็นการตั้งข้อหาที่ซ้ำซ้อนกันและขัดแย้งกันเอง ซึ่งเป็นนิติวิธีที่ไม่ชอบ

๑๑.๓ เมื่อข้อกล่าวหาตามข้อ ๑๑.๑ และ ๑๑.๒ ยังไม่เป็นที่ยุติหรือยังรับฟังไม่ได้ว่านายศุภชัยฯ กระทำความผิดฐานใด การที่พนักงานสอบสวนด่วนตั้งข้อกล่าวหาแก่พระเทพญาณมหามุนีว่า สมคบกันฟอกเงิน และร่วมกันฟอกเงินและร่วมกันรับของโจร ย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย


๑๑.๔ กรณีดังกล่าวข้างต้น หากพนักงานอัยการมีคำสั่งฟ้องในทุกคดีที่พนักงานสอบสวนได้สอบสวนมาแล้ว ก็จะเป็นการพิจารณาที่ซ้ำซ้อนหรือซ้ำสองในฐานความผิดเดียวกัน ตามหลักกฎหมายที่ว่าบุคคลจะไม่ถูกพิจารณาซ้ำสองในความผิดเดียว หรือที่เรียกว่า Non Bis In Idem ( Not twice for the same หรือ No double jeopardy” ซึ่งในเรื่องดังกล่าวนี้ได้มีหลักกฎหมายและคำพิพากษาศาลฎีกาวินิจฉัยรองรับไว้ ปรากฏตามบทความ (สิ่งที่ส่งมาด้วย ๙)


๑๒. การดำเนินการของพนักงานสอบสวนในคดีสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และคดีอื่นที่เกี่ยวโยงกัน มีความไม่เป็นธรรมหลายประการ อาทิ
มีการแจ้งความดำเนินคดี และพนักงานสอบสวนได้ตั้งข้อหาคณะศิษยานุศิษย์ที่ช่วยกันบริจาคเงินเพื่อเยียวยาแก่สหกรณ์ฯคลองจั่น ว่ามีความผิดข้อหาเรี่ยไร ทั้งที่เงินนั้นก็เป็นเงินของศิษยานุศิษย์แต่ละท่าน และเสียสละมาเยียวยาแก่สหกรณ์ฯตามข้อตกลงในศาล และศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ถอนฟ้องทั้งวัดพระธรรมกายและพระเทพญาณมหามุนี อีกทั้งสหกรณ์ฯ มีหนังสือขอบคุณแก่คณะศิษยานุศิษย์ เจ้าหน้าที่ของรัฐแทนที่จะมอบรางวัลแสดงความชื่นชมในน้ำใจเสียสละให้กับศิษยานุศิษย์ แต่คณะศิษยานุศิษย์กลับถูกดำเนินคดีตกเป็นผู้ต้องหา แสดงถึงเจตนาในการหาเรื่องกลั่นแกล้ง ไม่เป็นธรรม


๑๓. นอกจากนี้ การกลั่นแกล้งพระเทพญาณมหามุนียังดำเนินต่อไป โดยพลตำรวจเอกศรีวราห์ รังสิพราหมณกุล รองผู้บัญชาการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ปทส.) ดำเนินคดีพระเทพญาณมหามุนี ข้อหาบุกรุกป่า ที่สวนป่าหิมวันต์ อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย โดยอ้างอิงความเห็นของนายวิฑูรย์ ชลายนนาวิน ซึ่งอ้างตัวว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของศาล เป็นเหตุผลหลักในการดาเนินคดี ทั้งที่นายวิฑูรย์ฯ ซึ่งเคยเป็นอดีตรองอธิบดีกรมป่าไม้ และถูกลงโทษไล่ออกจากราชการเพราะทำความผิดฐานวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศบิดเบือนความจริง สร้างความเสียหายต่อราชการหลายกรรมหลายวาระ และสำนักงานศาลยุติธรรมไม่ต่อทะเบียนการเป็นผู้เชี่ยวชาญฯ ของศาลให้กับนายวิฑูรย์ฯ ดังนั้นนายวิฑูรย์ฯ จึงมิได้เป็นผู้เชี่ยวชาญฯของศาลอีกต่อไป ซึ่งทางวัดพระธรรมกายได้ขอให้นายวินัย สายปรีชา ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์ แผนที่ภาพถ่ายทางอากาศของศาล วิเคราะห์ตรวจสอบ ปรากฏว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ในเขตป่าแต่อย่างใด แต่เมื่อได้ส่งหลักฐานแก่ทางพนักงานสอบสวน ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปทส. กลับตอบว่า เลือกที่จะเชื่อผลการวิเคราะห์ของนายวิฑูรย์ฯ ซึ่งมีประวัติพฤติกรรมมัวหมองร้ายแรงจนถูกไล่ออกจากราชการ และไม่เชื่อผลการวิเคราะห์ของนายวินัยฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญฯของศาล และขอออกหมายจับพระเทพญาณมหามุนี

๑๔. นอกจากนี้ พลตำรวจเอกศรีวราห์ฯ ยังได้นำเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปทส. ดำเนินคดีกับพระเทพญาณมหามุนี ข้อหาสร้างสิ่งปลูกสร้างทับลำรางสาธารณะที่ศูนย์ปฏิบัติธรรม เวิร์ล พีซ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยอ้างอิงผลการวิเคราะห์ของนายวิฑูรย์ฯ คนเดิม แต่เมื่อทางมูลนิธิมหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูงฯ ได้ขอให้ นาวาอากาศตรีวีระชัย วังกดิลก ผู้เชี่ยวชาญการวิเคราะห์แผนที่ทางอากาศของศาล ตรวจสอบวิเคราะห์ภาพถ่ายทางอากาศของกรมแผนที่ทหาร ปรากฏผลการวิเคราะห์ว่า พื้นที่ดังกล่าวไม่มีลำรางสาธารณะ แต่ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปทส.ก็ยืนยันว่า เลือกที่จะเชื่อผลการวิเคราะห์ของนายวิฑูรฯ ซึ่งไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญฯของศาลแล้ว และไม่เชื่อผลการวิเคราะห์ของนาวาอากาศตรีวีระชัยฯ ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญฯของศาลที่แท้จริง และไปขอออกหมายจับพระเทพญาณมหามุนีอีก ๑ ใบ

๑๕. พฤติกรรมดังกล่าวข้างต้นของพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและเจ้าหน้าที่ตำรวจ ปทส.โดยการนาของพลตำรวจเอกศรีวราห์ฯ ทำให้คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายมีความรู้สึกว่าพระเทพญาณมหามุนีและวัดพระธรรมกายถูกกลั่นแกล้งดำเนินคดีโดยไม่เป็นธรรม สร้างความรู้สึกทุกข์ร้อนคับแค้นใจอย่างแสนสาหัส


๑๖. พลตำรวจเอกศรีวราห์ฯ ได้แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนว่า ขณะนี้ได้เตรียมกาลังตำรวจ ๖ - ๗ กองร้อย พร้อมบุกเข้าตรวจค้นวัดพระธรรมกาย เพื่อจับกุมตัวพระเทพญาณมหามุนี โดยได้เตรียมสุนัขตำรวจ

เฮลิคอปเตอร์ หน่วยเก็บกู้วัตถุระเบิด และได้ประสานไปยังโรงพยาบาลธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลใกล้เคียงให้เตรียมแพทย์พยาบาล ส่อให้เห็นว่าจะใช้ความรุนแรงเข้าปราบปรามจับกุมคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ที่มาสวดมนต์นั่งสมาธิอยู่ในวัดจำนวนนับหมื่นคนด้วยความเป็นห่วงพระเทพญาณมหามุนี ซึ่งจะทำให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก จะกลายเป็นข่าวอื้อฉาวสร้างความเสียหายต่อภาพลักษณ์ประเทศชาติในสายตาชาวโลกอย่างยิ่ง และจะเป็นบาดแผลความขัดแย้งอย่างลึกซึ้ง ระหว่างสถาบันชาติกับสถาบันพระพุทธศาสนาอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย


๑๗. ในช่วงเวลานี้เป็นห้วงเวลาพิเศษที่ชาวไทยทั้งประเทศรวมถึงคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ได้ร่วมใจกันจัดพิธีบำเพ็ญกุศลเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นประจำทุกวัน ยิ่งกว่านั้นยังเป็นโอกาสมหามงคลอันประเสริฐที่ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาวไทย ควรจะเป็นห้วงเวลาที่ชาวไทยทุกคนได้สมานฉันท์เป็นหนึ่งเดียวกัน รักษาสังคมบ้านเมืองที่สงบสันติสุขเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันเสริมพระบรมเดชานุภาพของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทให้ปรากฏแก่ชาวโลก ไม่ควรที่จะมีเหตุการณ์รุนแรงใดๆ เกิดขึ้น ซึ่งคณะศิษย์วัดพระธรรมกายได้ร่วมใจกันเจริญพระพุทธมนต์บทธัมมจักกัปปวัตตนสูตร ครบจำนวน ๑๐,๑๐๑,๐๑๐ จบ เป็นครั้งแรกของโลกเพื่อเฉลิมฉลองเทิดพระเกียรติการขึ้นทรงราชย์เป็นรัชกาลที่ ๑๐ ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ชองสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร


๑๘. ปวงข้าพระพุทธเจ้าเวลานี้เหลือที่พึ่งสุดท้ายหนึ่งเดียวที่จะพึ่งได้คือ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท จึงจำต้องขอพระบรมราชานุญาตกราบบังคมทูลถวายฎีการ้องทุกข์ต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทอันเปรียบประดุจพระบิดาของประชาชนชาวไทยทั้งชาติ เพื่อขอพึ่งพระบารมีให้ยุติการดำเนินคดีที่มิชอบดังกล่าวข้างต้น และมิให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้ความรุนแรงทำร้าย ทำให้เกิดการบาดเจ็บล้มตายต่อปวงข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็นพสกนิกรของใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นผู้หญิงและคนชรา

ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลายขอน้อมถวายชีวิตด้วยความจงรักภักดีต่อใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ผู้ทรงเป็นศูนย์รวมดวงใจคนไทยทั้งชาติ

ควรมิควรประการใดสุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ


ข้าพระพุทธเจ้าเหล่าพสกนิกรผู้ถวายฎีการ้องทุกข์

วันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2559

แถลงข่าวคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ประจำวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2559

แถลงข่าวคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย
ประจำวันอังคารที่ 7 มิถุนายน พ.ศ.2559
ณ ห้อง Studio สถานีวิทยุโทรทัศน์ DMC สำนักสื่อ DMC วัดพระธรรมกาย



กำลังมีขบวนการเพื่อพยาม “ยุยงให้เกิดความแตกแยก” ในหมู่ชาวพุทธหรือไม่ ?
สืบเนื่องจากเนื้อหาการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารทาง สื่ออิเลคทรอนิกส์ ของหนังสือพิมพ์โพสทูเดย์  ในวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2559 (http://www.posttoday.com/analysis/interview/435698) โดยได้นำบทสัมภาษณ์พิเศษของ “พระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม)” ในหัวข้อ“พระพยอม อ่านเกมธัมมชโย แนะตัดเสบียง และส่งทหารปิดล้อม” ซึ่งมีรายละเอียดของเนื้อหาบางส่วนดังนี้

ขอเรียนชี้แจงว่า “คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ได้รับการสั่งสอนอบรมจากพระเทพญาณมหามุนี(หลวงพ่อธัมมชโย) เสมอๆ ว่า พระภิกษุทุกๆ รูป ล้วนเป็นผู้สืบทอดพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นส่วนหนึ่งของพระรัตนตรัย ที่คณะศิษย์ทุกๆ คนย่อมต้องให้ความเคารพกราบไหว้ การแสดงออกทางกาย  วาจา ใจที่ไม่สมควรต่อพระภิกษุ ย่อมเป็นสิ่งที่คณะศิษย์ถูกพร่ำสอนมาว่า ไม่พึงกระทำ ซึ่งคณะศิษยานุศิษย์  วัดพระธรรมกาย พึงระลึกนึกถึงคำสอนนี้ของครูบาอาจารย์ ไว้เป็นคติประจำใจเสมอๆ เนื้อหาต่างๆ ที่พระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพะยอม) ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ ซึ่งอาจจะไม่ตรงไปตามความเป็นจริงทั้งหมดก็เป็นได้นั้น ทางคณะศิษย์ฯ มิได้มีเจตนาที่กระทำการหักล้างโดยไม่เคารพต่อพระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพะยอม) ในฐานะพระภิกษุรูปหนึ่งแต่ประการใด แต่ที่กระทำไปเพื่อหวังประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนาโดยรวมทั้งสิ้น ทั้งนี้ เพราะการที่พระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม) ได้สัมภาษณ์ผ่านสื่อออกมาเช่นนี้ ทางคณะศิษย์ฯ เกรงว่า ท่านอาจจะได้รับข้อมูลที่คลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง ซึ่งจะทำให้ผู้รับข่าวสารเกิดความเข้าใจผิด สร้างความเสื่อมเสียให้กับพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย), วัดพระธรรมกาย และคณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกายเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งข้อมูลบางส่วน ได้ไปพาดพิงถึงพระภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิบัติชอบ เป็นบุคคลที่ชาวพุทธต่างให้ความเคารพบูชา ซึ่งเป็นข้อมูลที่ไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย อาจทำให้คณะศิษย์ฯ ของครูบาอาจารย์รูปอื่นๆ เกิดความเข้าใจผิด นำไปสู่ความแตกแยกของหมู่มวลชาวพุทธอีกด้วย”

พร้อมกันนี้ ขอชี้แจงแต่ละประเด็นว่า
·       เนื้อหาส่วนแรกกล่าวถึงวัดพระธรรมกายว่า มีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง การกระทำของคณะศิษย์ฯ เป็นเพียงการรักษาหน้าตา และผลประโยชน์ ทางคณะศิษย์ฯ ขอเรียนชี้แจงให้ทราบว่า นี่เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนเพราะวัดพระธรรมกายได้ประกาศเจตนารมณ์ของทางวัดอย่างชัดเจนว่า ไม่ยุ่งเกี่ยวทางการเมือง แม้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรม จะมีบทบาทผู้นำทางการเมือง หรือผู้สนใจการเมืองฝ่ายไหนมาก่อนก็ตาม เมื่อมาปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกายก็สามารถปฏิบัติธรรมรวมกันได้ตามหลัก สงบ สันติ อหิงสา โดยไม่มีการแบ่งสีแบ่งฝ่ายทางการเมืองที่วัดพระธรรมกาย
     
เนื้อหาต่อมากล่าวถึงเรื่องการดำเนินการเข้าจับกุมที่มีการเจรจาต่อรองหรือข้อแลกเปลี่ยนนั้น ทางคณะศิษย์ฯ ขอเรียนชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริง พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านให้ความเคารพกฎหมาย และพร้อมปฏิบัติตามกฎหมาย เพียงแต่ในเวลานี้ ท่านยังคงอาพาธ และพักรักษาตัวอยู่ในวัดพระธรรมกาย ไม่ได้มีการต่อรองข้อแลกเปลี่ยนใดๆ

  เนื้อหาในส่วนถัดมา ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญยิ่ง เพราะ หลวงพ่อพะยอม ได้กล่าวว่า หลวงพ่อธัมมชโย พูดถึง พระภิกษุผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบสองรูปที่มรณภาพไปแล้ว ว่าไปอยู่ในภพภูมิที่ไม่สมควร ซึ่งเนื้อหาในส่วนนี้ ทางคณะศิษย์ฯ ขอเรียนชี้แจงว่า ไม่เป็นความจริงแม้แต่น้อย หลวงพ่อธัมมชโย ไม่เคยกล่าวถึงพระภิกษุ ทั้งสองรูปนี้เช่นนี้เลย ไม่ว่าที่ไหนเวลาใดก็ตาม คำกล่าวเช่นนี้ ย่อมทำให้เกิดผลกระทบต่อความศรัทธา   และเกิดความแตกแยกของชาวพุทธเป็นอย่างยิ่ง

 เนื้อหาในส่วนสุดท้าย ที่พระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม) ให้สัมภาษณ์พาดพิงคณะศิษย์ฯ ว่ากำลังปกป้องพระศาสนา หรือ กำลังรักษาหน้าตา ทางคณะศิษย์ฯ ขอยืนยันอีกครั้งด้วยความเคารพว่า  ทางคณะศิษย์ฯ ได้กระทำการทุกสิ่งอย่างนั้น เพื่อเป็นการรักษาความจริง ซึ่งเป็นหลักสำคัญ  ของพระพุทธศาสนา ที่จะป้องกันไม่ให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย อีกทั้งป้องกันไม่ให้เกิดความแตกแยกในหมู่ชาวพุทธต่อผู้ได้รับข้อมูลข่าวสารอันเป็นเท็จนี้ ทั้งนี้ ด้วยเรื่องนี้เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา และความศรัทธาโดยรวมของชาวพุทธหมู่มาก   
   

“วัดพระธรรมกาย” เป็นวัดในพระพุทธศาสนา “ไม่ใช่รัฐอิสระ”!!!
กรณีที่สื่อมวลชนฉบับหนึ่ง พยายามสร้างข่าวว่า “วัดพระธรรมกายเป็นรัฐอิสระ” เป็นรัฐซ้อนรัฐ ที่ไม่มีใครแตะต้องได้นั้น คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย ขอปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
·       ประการแรก การก่อตั้งวัดขึ้นในประเทศไทยนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535 มาตราที่ 31 นั้น วัดจะเป็นวัดที่สมบูรณ์ได้ จะต้องได้รับการพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
·       ประการที่สอง “วัดพระธรรมกาย” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 96 ตอนที่ 15 เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
·       ประการที่สาม วัดในประเทศไทยมีทั้งหมด 33,902 วัด ทุกวัดเป็นวัดที่สมบูรณ์ได้ เพราะได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทั้งสิ้น
ดังนั้น จากเหตุผลทั้งสามประการนี้ “วัดพระธรรมกาย” จึงเป็นวัดที่สร้างขึ้นอย่างถูกต้องตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ฉบับ 2535 ซึ่งเป็นกฎหมายสงฆ์ที่ประกาศใช้อยู่ในราชอาณาจักรไทยทุกประการ
คำกล่าวหาว่าวัดพระธรรมกายว่าเป็น “รัฐอิสระ” เป็น “รัฐซ้อนรัฐ” นั้น จึงเป็นการกล่าวหาที่เลื่อนลอย ไร้หลักฐาน  อันอาจทำให้เกิดความหวาดระแวงและเข้าใจผิด จนนำไปสู่สถานการณ์ที่เลวร้าย ถึงขั้นยกเลิกคำสั่ง ห้ามใช้มาตรการรุนแรง และอนุมัติให้ใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนที่ประพฤติปฏิบัติธรรมอยู่ภายในวัดอย่างสงบ สันติ อหิงสา และปราศจากอาวุธ

คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย จึงมีความเห็นว่าการสร้างข่าวใส่ร้ายว่า “วัดพระธรรมกาย เป็นรัฐอิสระ”นั้น อาจมีเจตนาเพื่อจะให้รัฐบาลและประชาชนเข้าใจผิดว่าประชาชนที่มาปฏิบัติธรรมที่วัดพระธรรมกาย  เป็นผู้ก่อการร้ายแบ่งแยกดินแดน เป็นกบฏอาญาแผ่นดิน ถือว่าเป็นการใส่ร้ายอย่างรุนแรง ถือเป็นการผิดจริยธรรมของความเป็นสื่อมวลชนหรือไม่? เป็นการกระทำที่ขาดมนุษยธรรมอย่างสิ้นเชิงหรือไม่? หรือมีวัตถุประสงค์ถึงขั้นกุข่าวยุยงปลุกปั่นใส่ร้าย หวังให้รัฐบาลอนุมัติคำสั่งปราบปรามประชาชนผู้บริสุทธิ์หรือไม่? 
คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย จึงใคร่ขอวิงวอนคณะรัฐบาลโปรดให้ความเป็นธรรมและให้การคุ้มครองพระภิกษุ สามเณร ประชาชนอีกนับหมื่นนับแสนชีวิต จากการอาจถูกกล่าวหาให้ตกอยู่ในฐานะ “ผู้ร้ายแบ่งแยกดินแดน” อย่างไม่เป็นธรรมจากการกระทำของสื่อมวลชนบางสำนักในครั้งนี้จะด้วยจงใจไม่จงใจในครั้งนี้ด้วย

ชี้แจงข้อแท้จริงกรณีภาพพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย)...
สืบเนื่องจากการแถลงข่าวในวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2559 คณะศิษยานุศิษย์ฯ ได้นำภาพ พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ขณะเข้ารับการรักษาอาการอาพาธในปี พ.ศ.2542 มาใช้ประกอบการแถลงข่าวเพื่อเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แล้วถูกแพทย์บางคนจับผิดว่า มีการใช้เครื่องช่วยหายใจไม่ถูกต้องตามลักษณะการใช้งาน จึงใช้สื่อสังคมออนไลน์กระจายข่าวโจมตีพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) และแพทย์ที่ทำการรักษา ว่าจัดฉากหลอกลวงเพื่อแสดงให้เห็นว่าอาพาธ นั้น
ขอเรียนชี้แจงดังนี้
·ภาพที่แพทย์บางท่านกล่าวหาว่าจัดฉากนั้น เป็นเหตุการณ์ขณะพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) เข้ารับรักษาอาการอาพาธ ที่โรงพยาบาลกรุงเทพ ในปี พ.ศ. 2542 หรือเมื่อ 17 ปีที่แล้ว ไม่ใช่ภาพปัจจุบัน
·ประเด็นที่ว่า เครื่องช่วยหายใจสีเขียวในภาพ ที่เรียกกันว่า Bird Ventilator หรือ Bird  ซึ่งเป็นเครื่องช่วยหายใจรุ่นเก่า ต้องใช้กับท่อหายใจเท่านั้น จะใช้กับหน้ากากอย่างที่เห็นในภาพไม่ได้ เป็นเรื่องเข้าใจผิด เพราะโรงพยาบาลกรุงเทพ ได้ดัดแปลงเครื่องช่วยหายใจสีเขียว Bird ให้สามารถใช้กับหน้ากากตามที่เห็นในภาพ เพื่อเป็นการช่วยแรงดันบวก ขณะหายใจ
·หากตรวจสอบข้อมูลให้ดี จะพบว่าเหตุการณ์ในภาพเป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่การจัดฉาก การที่คณะศิษย์ฯ นำภาพนี้มาใช้ก็เพื่อแสดงถึงเหตุการณ์ในปี พ.ศ. 2542 ให้สอดคล้อง              กับเนื้อข่าวที่แถลง ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เกิดความเข้าใจผิดว่าเป็นสภาพการรักษาพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) ในปัจจุบัน อีกทั้งการดัดแปลงเครื่องช่วยหายใจก็เป็นการจัดการของโรงพยาบาลกรุงเทพ ไม่เกี่ยวกับพระเทพญาณมหามุนี(หลวงพ่อธัมมชโย) และแพทย์ที่ทำการรักษาในปัจจุบัน แม้แต่น้อย
·การกล่าวหาและชี้นำสังคมโดยไม่ศึกษาข้อมูลและรายละเอียดในกรณีนี้  ทำให้แพทย์ผู้ทำการรักษาเสื่อมเสียชื่อเสียง โดนดูถูกเกลียดชังจากสาธารณชน ซึ่งถือเป็นการละเมิดจริยธรรมแพทย์อย่างชัดเจน ตามจรรยาบรรณของแพทย์หมวด 5 เรื่องการปฏิบัติต่อผู้ร่วมวิชาชีพ ดังนี้ ข้อ 30 ผู้ประกอบการวิชาชีพเวชกรรมพึงยกย่องให้เกียรติเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกัน, ข้อ 31  ผู้ประกอบการวิชาชีพเวชกรรมต้องไม่ทับถมให้ร้ายหรือกลั่นแกล้งกัน
· ขณะนี้ทีมกฎหมายของคณะศิษย์ฯ กำลังรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการให้ความเห็นในทางดูหมิ่น เหยียดหยามบนพื้นที่สาธารณะของแพทย์บางท่านเหล่านั้น  โดยจะพิจารณาเป็นรายๆ ไป หากพบว่า ผู้ใดทำไปโดยมีเจตนาให้ร้าย จะดำเนินการยื่นร้องเรียนด้านจริยธรรมต่อแพทยสภาต่อไป
·คณะศิษย์ฯ ขอยืนยันอีกครั้งว่า พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) มีอาการอาพาธจริง และขอเรียกร้องให้ทุกท่านที่กล่าวหาว่ามีการจัดฉาก แสดงความรับผิดชอบ ด้วยการลบข้อความของท่านออกให้หมด พร้อมทั้งออกมาขอโทษต่อพระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) และแพทย์ผู้ทำการรักษา พร้อมทั้งขอความกรุณาให้ตรวจสอบความจริงอย่างละเอียดก่อนวิพากษ์วิจารณ์ใดๆ เพราะการกล่าวหาโดยไม่วิเคราะห์ข้อมูลอย่างรอบคอบ ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด และการดูถูก เกลียดชังต่อวัดพระธรรมกาย พระเทพญาณมหามุนี (หลวงพ่อธัมมชโย) และแพทย์ผู้ทำการรักษาอย่างกว้างขวางทั้งในวงการแพทย์และประชาชนทั่วไป

กรณีข้อความเท็จผ่านทวิตเตอร์ของนายสมเกียรติ อ่อนวิมล
มีใจความสำคัญว่า “...วัดพระธรรมกายมีลักษณะเป็นนิกายต่างหากสำหรับศาสนาพุทธในประเทศไทย ย่อมมีเสรีภาพที่จะกำหนดลัทธิความเชื่อของตนที่ต่างไปจากนิกายเถรวาทของไทยได้  มีความจำเป็นแล้วที่ คสช. จะต้องแก้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ให้นิยามคำว่า คณะสงฆ์ เถรวาท มหานิกาย ธรรมยุตินิกายธรรมกาย ฯลฯ ใหม่ให้ชัดเจน...
คณะศิษยานุศิษย์วัดพระธรรมกาย จึงขอชี้แจงว่า วัดพระธรรมกายเป็นวัดในพระพุทธศาสนา   เถรวาท สังกัดมหานิกาย ภายใต้การปกครองของมหาเถรสมาคม มีการก่อตั้งวัดถูกต้อง                     ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2535  มีกิจกรรม และพิธีกรรมทางศาสนาตามแบบแผนปฏิบัติ     และมีหลักคำสอนถูกต้อง ตรงตามพระไตรปิฎกเช่นเดียวกับวัดทั่วไป คือ มุ่งศึกษาเรื่องศีล สมาธิ ปัญญา     ตามหลักไตรสิกขา แบบพระพุทธศาสนาเถรวาททุกประการ มิใช่ลัทธิความเชื่ออื่นหรือนิกายอื่น         แต่อย่างใด
การโพสต์ข้อความดังกล่าวของนายสมเกียรติ อ่อนวิมล จึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) ว่าด้วยการนำข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ การกระทำดังกล่าวถือเป็นการใส่ร้ายวัดพระธรรมกาย สร้างความเสียหายให้แก่วัดพระธรรมกาย และกระทบต่อจิตใจคณะศิษย์ฯ เป็นอย่างมาก

ข้อมูลเพิ่มเติมประกอบการแถลงของชาวพุทธที่ร่วมเวทีการแถลง
ความในใจของชาวพุทธ “ทนายพัฐจักร เทพษร”
...ผู้มีศรัทธาทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนา
ผมในฐานะพุทธศาสนิกชนและนักกฎหมายคนหนึ่ง ขออนุญาตอธิบายความกรณีที่ผมเป็นผู้หนึ่งที่มีการแจ้งข้อกล่าวหาต่อ “นายไพบูลย์ นิติตะวัน” และ “พระพุทธอิสระ” ดังต่อไปนี้
ตามหลักกฎหมาย การกระทำของ “นายไพบูลย์ นิติตะวัน” และ “พระพุทธอิสระ” นั้นเป็นการแจ้งข้อกล่าวหาโดยเห็นว่าทั้งสองมีพฤติกรรมที่ละเมิดกฏหมาย พรบ.สงฆ์ มาตรา 44 ทวิ ,44 ตรี และ มาตรา 14 ใน พรบ.คอมพิวเตอร์ เพราะ 1) เป็นการดูหมิ่นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช อันเปรียบเสมือนเป็นตัวแทนประมุขสงฆ์อันสูงสุด อยู่ในฐานะพึงควรเคารพสักการะ  และ 2) เป็นพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดความแตกแยก เสื่อมสามัคคีแก่คณะสงฆ์ ซึ่งแม้ในทางกฎแห่งกรรม ก็ถือเป็นกรรมอันหนัก หรือ อนันตริยกรรม
ตามหน้าที่แห่งพุทธศาสนิกชน ส่วนตัวผมแจ้งข้อกล่าวหาแก่บุคคลทั้งสองนี้ เพราะมิอาจทนเห็นพฤติกรรมข้างต้นที่บุคคลทั้งสอง ดูหมิ่น จาบจ้วง สมเด็จพระราชาคณะชั้นสูง ผู้เปรียบเสมือนเป็นผู้ปกครองสูงสุดของสงฆ์ทั้งแผ่นดินไทย และยิ่งมิอาจทนเห็นการสร้างความแตกแยกในหมู่คณะสงฆ์ อันอาจเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาต้องเสื่อมความศรัทธาจากพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ดังนั้น เหตุผลเบื้องต้นเป็นเหตุผลส่วนตัวของผมที่ออกมาแจ้งข้อกล่าวหาแก่ “นายไพบูลย์ นิติตะวัน” และ “พระพุทธอิสระ” ด้วยความเคารพรัก และความห่วงใยในพระพุทธศาสนา โดยไม่มีจิตคิดกลั่นแกล้ง หรือทำตามขบวนการเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ใดๆ แอบแฝงทั้งสิ้น ทุกอย่างทำไปเพื่อปกป้องคุ้มครองพระพุทธศาสนาโดยรวมในฐานะชาวพุทธด้วยความบริสุทธิ์ใจ

วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

ข้อควรพิจารณาในการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในปี 2559

รศ.ดร. ยงยุทธ  แฉล้มวงษ์
สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย

เมื่อใกล้ถึงวันแรงงานก็มีเสียงเรียกร้องจากตัวแทนภาคแรงงานขอขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ(ตามสัญญา)อีกแล้วครับคำถามก็คือถึงเวลาที่ค่าจ้างของลูกจ้างเอกชนหลังจากแช่แข็งมาแล้ว 3 ปีควรจะขึ้นได้หรือยัง  ที่จริงคงยังจำกันได้ว่าคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติได้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ต้นปี 2556 หลังจากทดลองขึ้นเฉพาะ 7 จังหวัดที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีเมื่อกลางปี 2555  โดยขอแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำ ไปอีก 3ปี  แต่ถึงแม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำไม่ได้เพิ่มขึ้นแต่ค่าจ้างของแรงงานก็ยังเพิ่มอยู่ดีตามการขึ้นค่าจ้างประจำปี เช่น

              จากข้อมูลการสำรวจการมีงานทำของประชากรไตรมาส 3 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าค่าจ้างเฉลี่ยจะยังคงเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะช่วงปี 2556 ถึง 2557 เพิ่มขึ้นถึง 11.5% สำหรับแรงงานโดยทุกกลุ่มอายุ   ขณะที่แรงงานวัย 20-24 ปี ซึ่งส่วนใหญ่เป็นแรงงานทำงานได้ไม่นาน  เงินเดือนเพิ่มขึ้น 9.7%  เช่นกัน สาเหตุที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงทั้งแรงงานโดยรวมและแรงงานใหม่ ก็เนื่องจากสถานประกอบการจำนวนมากยังขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้แรงงานแรกเข้ายังไม่ครบ จึงทยอยปรับขึ้นค่าจ้างค่อนข้างมาก

              อย่างไรก็ตามเมื่อพิจารณาค่าจ้างเฉลี่ยของปี 2557 ถึง 2558 หลังสิ้นสุดข้อตกลงแช่แข็งค่าจ้างขั้นต่ำจะพบว่าค่าจ้างกลับมาสะท้อนความเป็นจริงของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ผลก็คือ ในภาพรวมทุกอายุค่าจ้างเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเพียง 1.7และกลุ่มแรงงานใหม่อายุ 20-24 ปี เพิ่มขึ้นเพียง 0.7เท่านั้น แต่ถ้าพิจารณาจากกลุ่มอายุ 15-19 ปี บางส่วนยังทำงานไม่เต็มที่ตามกฎหมาย ทำให้ค่าจ้างรายวันเฉลี่ยยังต่ำกว่า 300 บาท เนื่องจากใช้เงินเดือนหารด้วย 26 วันเหมือนกับกลุ่มอายุอื่นๆ

              สิ่งที่พอจะเห็นได้จากข้อมูลชุดนี้คือ ค่าจ้างปี 2556-57 ยังเพิ่มขึ้นถึง 8.3% เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับกลุ่มอายุอื่นๆ แม้แต่ปี 2557-58 อัตราเงินเดือนเพิ่มขึ้นเพียง 0.3% เท่านั้น ซึ่งเป็นไปตามกติกาเดิม คือ จะไม่ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำจนกว่าจะถึงปี 2559 อย่างไรก็ตาม วันแรงงานปี 2558 จนถึงปลายปี 2558 กลุ่มตัวแทนสหภาพทางเลือกเคยขอให้ขึ้นค่าจ้างเป็น 360 บาทเท่ากันทั่วประเทศ ตามเงื่อนไขเดิมตั้งแต่ต้นปี 2559 แต่ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลผ่านคณะกรรมการค่าจ้างแห่งชาติเมื่อต้นปี 2559 ขอให้ชะลอการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำสำหรับแรงงานแรกเข้า เนื่องจากสาเหตุหลักๆ มาจากสภาพทางเศรษฐกิจโดยเฉพาะการส่งออกและการขยายตัวของ GDP ยังอยู่ในระดับต่ำ กำลังผลิตด้านอุตสาหกรรมยังอยู่ในระดับต่ำเพียง 60% เศษเท่านั้นเป็นต้น (ดูตารางที่ 1 ประกอบ)
ตารางที่ 1   ค่าจ้างเฉลี่ยของลูกจ้างเอกชน
ค่าจ้างของลูกจ้างเอกชน
รวมทุกอายุ
บาท/เดือน
บาท/วัน
Y-O-Y (%)
2556
10,539
418
11.5
2557
11,755
452
1.7
2558
11,956
460

อายุ 20-24 ปี
2556
8,363
321
-
2557
9,153
352
9.4
2558
9,221
355
0.7
อายุ 15-19 ปี
2556
6,511
250
-
2557
7,052
271
8.3
2558
7,075
272
0.3
ที่มา: NSO การสำรวจการมีงานทำของประชากรไตรมาส3

อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2559 มีข้อเสนอจากมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีข้อเสนอต่อรัฐบาล ควรพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 5-7% แต่ให้ขึ้นไม่เท่ากันในแต่ละพื้นที่
จากเหตุผลดังกล่าว ผู้เขียนเห็นว่าถึงเวลาที่จะต้องพิจารณากันอย่างจริงจังว่าถึงเวลาที่ต้องขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำหรือยังโดยต้องพิจารณาปัจจัยด้านบวกและด้านลบให้รอบคอบก่อนจะพิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีกครั้ง ดังนี้
ปัจจัยด้านบวก
ปัจจัยด้านลบ
1. แรงงานมีเงินจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น กระตุ้นการบริโภคลูกจ้างเอกชน (เป็นไปตามสัญญาที่ทางราชการรับปากว่าจะรับพิจารณาเมื่อครบ 3 ปี) อาจจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจโดยรวมถ้านายจ้างรับได้
1. เป็นภาระของนายจ้างถึงแม้แรงงานแรกเข้าอาจจะยังไม่มากเนื่องจากการผลิตชะลอตัว แต่จะมีผลกระทบต่อต้นทุนค่าแรงงานของแรงงานเดิมพอควรที่ต้องขึ้นหนีไปด้วย
กระทบความสามารถในการแข่งขันของนายจ้างที่อยู่ในธุรกิจส่งออกซึ่งขีดความสามารถค่อนข้างต่ำ
กระทบ microenterprises ซึ่งยังปรับตัวไม่ได้บางส่วนยังมีอยู่อาจจะต้องปิดกิจการ
2. อัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำจนถึงติดลบการขึ้นค่าจ้างจึงไม่กระทบเงินเฟ้อ
3. ชดเชยค่าครองชีพ ซึ่งน่าจะเพิ่มขึ้นทุกปี ถึงแม้ว่าค่าจ้างขั้นต่ำถูก แช่แข็งอยู่ถึง 3 ปี (ประเด็นอยู่ที่ว่าค่าจ้างขึ้นเฉลี่ย 19%ในปี 2556 ประมาณ20ใน 2557 และ 9.4% ในปี 2558 ได้ชดเชยค่าจ้างที่เคยตาม productivity ไม่ทัน ในช่วงก่อนที่จะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาทไปหรือยัง คำตอบ น่าจะชดเชยไปแล้วและยังเผื่อการแช่แข็งค่าจ้าง 2-3 ปีที่ผ่านมาไปแล้วอีกด้วย
2. ราคาสินค้าอุปโภค/บริโภค ที่อยู่นอกข่ายควบคุมของรัฐอาจจะเพิ่มมากขึ้น(เพียงได้ข่าวว่าจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ)และไม่มีใครจะแก้ปัญหาการฉวยโอกาสนี้ได้จนถึงทุกวันนี้

4. อัตราการว่างงานอยู่ในระดับต่ำคงเดือดร้อนไม่มากถ้าจะขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ
3. อาจจะมีผลส่งต่อไปถึงพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ ถ้าขึ้นค่าจ้างเท่ากันทุกจังหวั

4. เศรษฐกิจไทยยังอยู่ในช่วงถดถอยกำลังจะฟื้นตัวให้เวลาอีกหน่อยก็น่าจะเกิดผลดีในระยะยาว 

5. เราช่วยคนที่เป็นแรงงานในระบบ 9 ล้านคน แต่ผลกระทบไปถึงแรงงานนอกระบบจำนวนมากกว่า 20 ล้านคน ต้องพลอยรับกรรมกับค่าครองชีพที่สูงขึ้นตามไปด้วย

6. ผู้ประกอบการที่แข็งแรงขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำมากๆอาจจะเป็นการเร่งให้มีการย้ายฐานการผลิตเร็วขึ้น

กล่าวโดยสรุปก็คือ เมื่อพิจารณาจากข้อดีข้อเสียข้างต้นก็พอจะตัดสินใจได้ว่า
1.        สำหรับปี 2559 เห็นด้วยบางส่วนกับข้อเสนอของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทยที่จะให้ขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำประมาณ 5-7% แต่ไม่ขึ้นทั่วประเทศ กล่าวคือ เห็นด้วยกับการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่ผู้เขียนต้องการให้ขึ้นเพียง 7 จังหวัดที่เคยขึ้นไปเมื่อกลางปี 2555 ก่อนเช่น 15 บาท แล้วอาศัยข้อมูลของการสำรวจของสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน (คณะกรรมการค่าจ้าง) พิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในจังหวัดที่มีค่าครองชีพสูง เช่น จังหวัดที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวของต่างชาติมากๆ นอกเหนือจาก “ภูเก็ต” เช่น พัทยา (ชลบุรี) และเชียงใหม่ เป็นต้นให้มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำตามค่าครองชีพได้แต่ต้องปรึกษาคณะกรรมการค่าจ้างจังหวัดด้วย
2.        สำหรับปี 2560 คณะกรรมการค่าจ้างก็พิจารณาขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำไปเลยโดยอัตโนมัติจากฐานค่าจ้างเดิมของปี 2559 เช่น จังหวัดมุกดาหารมีดัชนีค่าครองชีพ 3% จากฐาน 300 บาทค่าจ้างขั้นต่ำปี 2560 ก็คือ 309 บาท
3.        สถานประกอบการตั้งแต่ ขนาดกลางและใหญ่ทุกแห่งกฎหมายต้องบังคับให้มีโครงสร้างค่าจ้างตั้งแต่ปี 2560 เป็นต้นไปเพื่อมิให้สถานประกอบการเอาเปรียบลูกจ้างโดยอาศัยค่าจ้างขั้นต่ำเป็นบรรทัดฐานในการขึ้นค่าจ้างประจำปี
              ข้อเสนอที่กล่าวมามีเจตนารมณ์แต่เพียงต้องการให้พิจารณาปัจจัยแวดล้อมตามกฎหมายค่าจ้างขั้นต่ำให้ครบถ้วนรอบคอบทุกคนทราบดีว่าค่าจ้างขั้นต่ำอยู่บนพื้นฐานของไตรภาคีซึ่งถ้าไม่มีการเมืองเข้ามาแทรกทุกฝ่ายเจรจาอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลที่เชื่อถือได้เหมือนกันเคารพในศักดิ์ศรีซึ่งกันและกันรับรองได้ว่าปี 2559 ตกลงเรื่องค่าจ้างขั้นต่ำได้แน่นอน