แม้การสืบสาวไปถึงผู้ก่อเหตุและผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ความรุนแรงที่สี่แยกราชประสงค์จะอยู่ในขั้นตอนของการสืบหาพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ตำรวจและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เพื่อนำมาประมวลความเชื่อมโยง หาตัวผู้ก่อเหตุ
แต่ท่าทีสื่อไทยหลายสำนัก ได้นำเสนอไปในทำนองว่า
รู้ตัวผู้อยู่เบื้องหลังและผู้ก่อเหตุการณ์ครั้งนี้แล้ว
โดยเฉพาะสื่อ
ที่มีจุดยืนตรงกันข้ามกับฝ่ายประชาธิปไตย อย่าง “ไทยโพสต์” ที่พาดหัวข่าวไปในทำนองว่า
น่าจะเป็นฝีมือของกลุ่มอำนาจเก่า หรือผู้เสียผลประโยชน์กลุ่มเดิมๆที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาล
ตามการออกมาให้ความเห็นของทีมโฆษกรัฐบาลและโฆษกกองทัพ
ขณะที่สื่อไทยอีกหลายสำนักได้พาดหัวข่าวที่แตกต่างกัน
โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์ “ข่าวสด” ที่พาดหัวข่าวว่า “บึ้มถล่มกรุง 16 ศพ
ภาพวงจรปิดพบผู้ต้องสงสัยคล้ายแขกขาว-อุยกูร์ นั่งรถตุ๊กตุ๊กไปในที่เกิดเหตุ
แต่เมื่อพบตำรวจ ก็สั่งให้ตุ๊กตุ๊กขับวนออกไป และกลับมาอีกครั้งพร้อมถุงพลาสติก
ก่อนเกิดเหตุระเบิดขึ้นที่ศาลพระพรหม
ขณะที่หนังสือพิมพ์
“เดลินิวส์” ก็รายงานในทำนองเดียวกันว่า จากการตรวจสอบกล้องวงจรปิดของตำรวจ
พบผู้ต้องสงสัยเป็นชายชาวต่างชาติ ลักษณะคล้ายแขกขาว สวมเสื้อเหลือง กางเกงขาสั้น
สะพายเป้สีน้ำเงิน และนำไปวางไว้ในที่เกิดเหตุ ก่อนระเบิดเพียง 1 นาที ซึ่งขณะนี้ตำรวจมีหลักฐานจากกล้องวงจรปิดหมดแล้ว
ทิศทางการรายงานของสื่อไทย
2 ฉบับ สอดคล้องกับการวิเคราะห์ของ โจนาธาน
มาร์คัส ผู้สื่อข่าวด้านการทูตและการทหารของ BBC
ขณะเดียวกัน
ศาลพระพรหมเอราวัณ สถานที่เกิดเหตุ ก็เป็นสถานที่ยอดนิยามของชาวจีน
จึงอาจเป็นเป้าหมายของผู้ก่อเหตุได้
แต่ถึงอย่างไร การเคลื่อนไหวของกลุ่มอุยกูร์นอกประเทศจีนก็ไม่เคยมีเหตุรุนแรงเช่นกัน
ส่วนประเด็นข้อสงสัยอื่นๆ
ดูเหมือนว่าโจนาธาน มาร์คัส จะให้น้ำหนักน้อยลงไป โดยวิเคราะห์ว่า ก่อนหน้านี้
ไม่มีเหตุการณ์การโจมตีครั้งใหญ่ในกรุงเทพ
ไม่เคยมีเป้าหมายในการโจมตีที่มุ่งให้เกิดการเสียชีวิตรุนแรง
แต่ความเป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ อาจเป็นฝีมือของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนทางภาคใต้ของไทย
แต่ที่ผ่านมากลุ่มนี้ก็ไม่เคยใช้กรุงเทพฯเป็นเป้าหมายมาก่อน
ส่วนความขัดแย้งทางการเมือง
ที่ผ่านมามีเพียงการก่อเหตุระเบิดเล็กๆน้อยๆเพื่อสร้างสถานการณ์เท่านั้น
ไม่เคยมีความรุนแรงแบบนี้ และมีความเป็นไปได้น้อยมากที่เหตุการณ์นี้
จะเชื่อมโยงไปหากลุ่มหัวรุนแรง กับกลุ่มที่เรียกร้องรัฐอิสลาม อย่างกลุ่มไอเอส
จะเห็นได้ว่า
การเสนอข่าวของสื่อมวลชน มีส่วนสำคัญในการชี้นำกระแสสังคม หรือ การทำงานของเจ้าหน้าที่
จึงไม่ควรใช้ความรู้สึกหรือทัศนคติทางการเมืองด่วนสรุป ทั้งที่เพิ่งผ่านเหตุการณ์ไปเพียงไม่กี่ชั่วโมง แต่ควรเสนอไปตามพยานหลักฐาน
และการตรวจพิสูจน์ของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง
ไม่เช่นนั้นจะเหมือนกับกรณีคาร์บอมห้างสรรพสินค้าที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ที่ผู้บริหารด้านความมั่นคงหลายคนรีบสรุปทันทีว่าเป็นฝีมือของฝ่ายการเมือง
หรือกลุ่มอำนาจเก่า โดยเฉพาะการเชื่อมโยงไปถึงเหตุการณ์ที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ
อดีตนายกรัฐมนตรี ลงพื้นที่ไปเปิดงานรำลึกวีรชน
แต่เมื่อเหตุการณ์คลี่คลายกลับไม่พบว่ามีส่วนใดเชื่อมโยงใดๆกับฝ่ายการเมือง
หรือกลุ่มอำนาจเก่า
จึงเป็นบทเรียนให้ทุกฝ่ายใช้สติ
และควรรอการตรวจพิสูจน์จากเจ้าหน้าที่ ดีกว่าใช้กรณีความสูญเสียของประชาชน
มาเป็นประเด็นทำลายความน่าเชื่อถือทางการเมือง
กองบรรณาธิการข่าว
TV24 สถานีประชาชน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น