วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2559

นักวิชาการ เบรค! ต้องคิดใหม่เรื่องบัญญัติ "วินัยทางการคลัง" ใน รธน.ชี้ ซื้อยางราคานำตลาด เสียวินัยแล้ว





ดร.วีระ หวังสัจจะโชค อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา แสดงความเห็นต่อมาตรการแก้ปัญหาราคายางพาราตกต่ำ ที้ล่าสุดรัฐบาล โดยคณะกรรมการที่แต่งตั้งขึ้น ได้มีมติรับซื้ออยู่ที่กิโลกรัมละ 45 บาท ซึ่งถือเป็นราคานำตลาด


ทั้งนี้ ดร.วีระ ระบุว่า เป็นการแทรกแซงราคาตลาด ไม่ต่างจากโครงการรับจำนำข้าวในสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งเป็นแนวทางที่รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปฏิเสธมาโดยตลอด โดยอ้างว่าทำให้เสียวินัยทางการเงินและการคลัง แต่ท้ายที่สุด เมื่อถูกกระแสกดดันจากชาวสวนยางมากเข้า จึงมีนโยบายรับซื้อยางดังกล่าว

ทั้งนี้ ดร.วีระ จึงเสนอว่า ผู้เสนอเรื่องวินัยทางการคลัง ไปบรรจุไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ ต้องคิดทบทวนใหม่

"ราคานำตลาด" นี่คือไรอะคับ ? คล้ายๆ "ราคาสูงกว่าตลาด" แบบจำนำข้าวอะป่าว แบบรัฐบาลก่อนอะนะ ? ^^

ใครจะให้เอาเรื่อง "วินัยทางการคลัง" ไปร่างในรัฐธรรมนูญ หรือสร้าง "ศาลวินัยทางงบประมาณและการคลัง" คงต้องคิดใหม่นะ ... เครื่องมือทางนโยบาย ถ้ามีแล้วแก้ไขปัญหาได้ก็ดี ถ้าแก้ไขไม่ได้ คนออกนโยบายก็ต้อง "รับผิดชอบทางการเมือง" คือ โดยสื่อด่า ประชาชนไม่เลือก เสียความชอบธรรม ฯลฯ เครื่องมือทางนโยบายมีเป็นสิบเป็นร้อย ขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลหรือฝ่ายบริหารจะเอาอันไหนไปใช้ ไม่ใช่สิ่งที่จะต้องมี "กฎหมายห้าม" ว่าไม่ให้ทำนะ เหอๆ
อย่างรัฐบาลนี้ที่เข้ามาใหม่ เล่นงานเรื่องจำนำข้าวของรัฐบาลเก่า บอกว่าจะมีวินัยทางการคลังแบบนุ้นแบบนี้ สุดท้ายเจอเรื่องยาง มีกระแสกดดันมาก ก็ต้องรับซื้อเองไปก่อน แบบที่ยิ่งลักษณ์เคยทำตอนขึ้นมาใหม่ๆ หละ การใช้นโยบายอะไรขึ้นอยู่กันสถานการณ์ ถ้าจะดีหรือไม่ได้ ก็ต้องวิจารณ์ตรวจสอบกันไม่ ไม่ใช่ให้ตั้ง "ศาลวินัยทางการคลัง" มาห้าม !!
(ทั้งนี้ ไม่เกี่ยวกับเรื่องคอรัปชั่นนะ อันนี้ต้องตรวจสอบในทุกนโยบายอยู่แล้ว)”

ไม่มีความคิดเห็น :