สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ติ ดตามการดำเนิ นงานตามนโยบายการทวงคืนผืนป่ าของรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและมี ความกังวลต่อแนวทางการดำเนิ นการของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิ ตเกษตรกรรายย่อยที่อยู่อาศั ยและทำกินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และเขตป่าอนุรักษ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกรรายย่ อยผู้ยากไร้ไม่มีที่ดินทำกิน และเป็นผู้มีรายได้น้อย โดยได้อยู่อาศัยในพื้นที่มาก่ อนมีประกาศเขตป่าอนุรักษ์
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวว่าในปี ๒๕๕๘ คณะกรรมการด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมการพัฒนาแหล่งน้ ำและจัดระบบชลประทานเพื่ อเกษตรกรรม เสนอให้เกษตรกรไทยร่วมกันปลูกต้ นไม้ทดแทน เพื่อสร้างความร่มรื่นคื นสภาพธรรมชาติให้กับประเทศไทย ทางสภาเกษตรกรแห่งชาติเห็ นชอบตามที่คณะกรรมการด้านทรั พยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้ อมการพัฒนาแหล่งน้ำและจั ดระบบชลประทานเพื่อเกษตรกรรม เสนอให้เกษตรกรไทยทั้งประเทศร่ วมกันปลูกต้นไม้ จำนวน ๙,๙๙๙,๙๙๙ ต้นบนแผ่นดินไทย เพื่อสร้างความร่มรื่นคื นสภาพธรรมชาติให้กับประเทศ โดยให้สภาเกษตรกรจังหวัดทุกจั งหวัดทั่วประเทศประสานงานกั บกรมป่าไม้ในเรื่องพันธุ์ไม้ แล้วประสานงานกับส่วนราชการในจั งหวัด องค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรกร ประชาชน ปลูกต้นไม้บนพื้นที่ที่ เหมาะสมทั้งพื้นที่ส่วนบุ คคลและพื้นที่สาธารณะ
นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าจากความเห็นพ้ องต้องกันของคนไทย ที่เห็นว่าป่าไม้ถูกตั ดทำลายจนเหลือพื้นที่ป่าลดลงอย่ างรวดเร็ว จึงจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องร่วมมื อกันแก้ปัญหา สร้างป่าขึ้นมาใหม่ โดยจากการดำเนินงานที่ชั ดเจนของรัฐบาลคื อนโยบายในการทวงคืนผืนป่า 6 แสนไร่ในปี 2558 โดยมุ่งไปที่พื้นที่ป่าที่ถูกบุ กรุกนำไปปลูกยางพารา ซึ่งแน่นอนว่าเกษตรกรถูกมองเป็ นจำเลยของสังคมในประเด็นนี้ จากเกษตรกรที่ไม่มีที่ดินทำกิน ยากจน ยากไร้ จำเป็นต้องมีที่ดินใช้ ประกอบเกษตรกรรมเพื่อยังชีพ เมื่อรัฐบาลตัดโค่นต้นยางในพื้ นที่ขนาดใหญ่ ย่อมส่งผลให้กระทบต่ อสภาพธรรมชาติ การร่วมกันปลูกต้นไม้ ๙,๙๙๙,๙๙๙ ต้นของเกษตรกรจึงเป็นการร่วมมื อกับรัฐบาลในการให้ป่าคืน คืนธรรมชาติให้ชุมชน
สำหรับการช่วยเหลือกับเกษตรกรที ่ยากจน ยากไร้ ไม่มีที่ดินทำกิน สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ประสานแจ้ งกรณีจังหวัดที่ยังไม่มี การดำเนินการตัดโค่ นยางพาราตามแผนการทวงคืนผืนป่า ขอให้ประธานสภาเกษตรกรจังหวั ดดำเนินการประสานงานกับผู้ว่ าราชการจังหวัดเพื่อชี้ แจงความเดือดร้ อนของเกษตรกรรายย่อยที่จะได้รั บผลกระทบ และให้จัดทำสำเนาคำสั่ง คสช.ที่ 66/2557 ลงวันที่ 17 มิถุนายน 2557 มอบให้เกษตรกรรายย่อยใช้ชี้ แจงต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐ กรณีจังหวัดที่มีการดำเนิ นการทวงคืนผืนป่าโดยเจ้าหน้าที่ ของรัฐได้เข้าไปตัดโค่ นยางพาราของเกษตรกรแล้ว ขอให้ดำเนินการประสานงานให้ คณะผู้ปฏิบัติงานสภาเกษตรกรระดั บตำบล/อำเภอ สำรวจค้นหาเกษตรกรที่ถูกดำเนิ นการและพร้อมที่จะให้ข้อมู ลความเดือดร้อนเพื่อเสนอต่อรั ฐบาล อย่างน้อย 1 กรณีตัวอย่าง เมื่อได้รับข้อมูลว่ามี เกษตรกรที่ถูกตัดโค่ นยางพาราและพร้อมให้ข้อมูลแล้ว ให้มอบให้สำนักงานสภาเกษตรกรจั งหวัด เข้าไปสัมภาษณ์ข้อมู ลจากเกษตรกรคนดังกล่าว บันทึกข้อมูลการสัมภาษณ์ และถ่ายภาพที่เกี่ยวข้อง จัดทำเป็นเอกสารรายงานต่ อสภาเกษตรกรแห่งชาติ เพื่อรายงานต่อนายกรัฐมนตรีต่ อไป
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น