มองต่างประเทศ ถอดบทเรียนองค์กรถอนพิษคอร์รั ปชั่น
สถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย
แม้ประเทศไทยจะมีองค์กรต้านคอร์ รัปชั่นจำนวนมาก แต่การคอร์รัปชั่นซึ่งเป็นอุ ปสรรคต่อการพัฒนาประเทศยังคงทวี ความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น เมื่อการสร้างประชาธิ ปไตยและการต้านคอร์รัปชั่นไม่ถู กผลักดันให้เป็นวาระเดียวกัน ทั้งที่มีประเด็นร่วมกันคือ ต้องการทำลายการผู กขาดทางเศรษฐกิจ การเมือง และข้อมูลข่าวสาร เพื่อสร้างสังคมที่ตรวจสอบได้ และมีความโปร่งใส บ่อยครั้งจึงเห็นการเรียกร้ องประชาธิปไตยที่ละเลยการต่อสู้ เรื่องคอร์รัปชั่น และการต่อสู้เรื่องคอร์รัปชั่ นที่ละเลยการเคารพและรั กษากฎเกณฑ์ของระบอบประชาธิปไตย
ดังนั้น ประเทศที่มีเพียงองค์กรต้านคอร์ รัปชั่นจึงไม่ใช่สิ่งการันตีว่ าการทุจริตจะลดลงเสมอไป จากงานศึกษาบทเรียนของต่ างประเทศ โดย ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ชี้ให้เห็นว่าปัจจัยที่ทำให้ กลไกการต้านคอร์รัปชั่ นทำงานสำเร็จ ต้องเกิดจากการผนวกโครงสร้ างและระบบการเมืองที่ เหมาะสมควบคู่ไปกั บการออกแบบสถาบันการตรวจสอบที่ ดีให้มีอำนาจครอบคลุมและเป็นอิ สระ พร้อมทั้งการเปิดโอกาสให้ ภาคประชาชนและสื่อมีส่วนร่ วมในการลดปัญหาคอร์รัปชั่น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้อาจเป็นสิ่ งที่คณะกรรมการป้องกั นและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ หรือ ป.ป.ช. สามารถเรียนรู้ได้
ตัวอย่างหนึ่งของแนวปฏิบัติที่ ดี คือ การต่อต้านคอร์รัปชั่ นของประเทศอุรุกวัย เกิดจากการมีโครงสร้ างและระบบการเมืองที่ไม่เอื้อต่ อการทุจริต หลังการสิ้นสุดลงของระบอบเผด็ จการ ส่งผลให้เกิดการแข่งขั นในระบอบการเมืองและเปลี่ ยนโครงสร้างการเมืองแบบอุปถัมภ์ ไปสู่การเมืองเชิงนโยบาย พรรคการเมืองมีเสถียรภาพ จนนำไปสู่การผลักดันกฎหมายการต้ านคอร์รัปชั่น โดยมีเพียงคณะกรรมการด้ านความโปร่งใส ทำหน้าที่หลักในการเปิดเผยข้อมู ลข่าวสารสำคัญของรัฐที่เกี่ยวข้ องกับการบริหารราชการแผ่นดินให้ กับสาธารณชน กล่าวคือ แม้จะไม่มีอำนาจในการสอบสวนหรื อดำเนินคดี แต่มีบทบาทในการเปิดโปงการคอร์ รัปชั่นและเปิดโอกาสให้ ประชาชนมีเสรีภาพในการเข้าถึงข้ อมูล ซึ่งสะท้อนให้เห็นการสร้ างระบบการปกครองที่เปิ ดเผยและโปร่งใสในการบริ หารงานประเทศ
ขณะที่ เคพีเค (KPK) หรือ องค์กรต้านคอร์รัปชั่ นของประเทศอินโดนีเซีย ที่เกิดจากการเข้าสู่ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย กอปรกับการสนับสนุนของกองทุ นการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอ็ฟ (IMF) ให้อินโดนีเซียปลอดคอร์รัปชั่ นพร้อมกับมีธรรมาภิบาลที่เข้ มแข็ง ปัจจัยที่ทำให้ เคพีเค ประสบความสำเร็จนั้ นมาจากการออกแบบองค์กรให้มี อำนาจครอบคลุมที่สามารถดำเนิ นคดีและตัดสินคดีได้ด้วยตนเอง รวมถึงให้มีความเป็นอิสระ ซึ่งคณะกรรมการถูกถ่วงดุลโดยฝ่ ายบริหารและนิติบัญญัติที่ยึ ดโยงกับภาคประชาชน ระบบการบริหารงานมีความยืดหยุ่ นไม่ยึดระเบียบราชการทำให้ สามารถดึงดูดบุคลากรที่มีศั กยภาพและมีความหลากหลายในวิชาชี พ เช่น เจ้าหน้าที่ตำรวจ พนักงานกระทรวงการคลัง อัยการ เข้ามามีส่วนร่วมและมี อำนาจสอบสวนโดยเฉพาะในคดีที่เกี ่ยวข้องกับความไม่โปร่งใสของนั กการเมือง ข้าราชการระดับสูง รัฐมนตรี ซึ่งมักสร้างผลสะเทือนทางสั งคมได้มากกว่าคดีเล็ก ขณะเดียวกันก็ ออกแบบกลไกในการตรวจสอบตนเองด้ วยเช่นกัน เพื่อให้หน่วยงานมีความโปร่ งใสและรับผิดชอบต่อสาธารณะ ดังนั้น ภาพลักษณ์ของ เคพีเค ในสายตาประชาชนจึงมีความเป็ นกลางและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เสมอมา
เช่นเดียวกับความสำเร็จขององค์ กรต้านคอร์รัปชั่ นของประเทศเกาหลีใต้ หรือ เอซีอาร์ซี (ACRC) เกิดจากความเข้มแข็งและการตื่ นตัวของภาคประชาสังคมที่ผลักดั นเรียกร้องให้เกิ ดกฎหมายและมาตรการความโปร่งใส รวมถึงผนวกการต่อสู้เรื่องคอร์ รัปชั่นเข้ากับการสร้างประชาธิ ปไตยโดยที่ภาคประชาชนและสื่อมี บทบาทในการปฏิรูปมากกว่ าพรรคการเมืองหรือรัฐบาล เอซีอาร์ซี มีหน้าที่และบทบาทหลั กในการเสนอแนะมาตรการป้องกั นคอร์รัปชั่นแก่ภาครั ฐและรายงานข้อมูลต่อสาธารณชน โดยทำงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ภาคธุรกิจ สื่อ และเอ็นจีโอ เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภาพในการทำงานให้มากขึ้น
แต่อย่างไรก็ตาม ภายใต้ความสำเร็จของเกาหลีใต้ เอซีอาร์ซี ยังต้องเผชิญกับข้อจำกั ดในการออกแบบองค์กรอยู่เช่นกัน เนื่องจากองค์กรขึ้นตรงต่ อประธานาธิบดี ทำให้ขาดความอิสระในการดำเนิ นงาน อำนาจในการสื บสวนและขอบเขตการตรวจสอบครอบคลุ มแค่ในส่วนของภาครัฐเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงถูกมองว่าเป็ นเครื่องมือทางการเมือง
กล่าวโดยสรุปคือ ปัจจัยหลักที่ทำให้องค์กรต้ านคอร์รัปชั่นของต่ างประเทศประสบความสำเร็จสู งมาจากการกำหนดให้ประชาธิ ปไตยและคอร์รัปชั่นเป็นฉันทามติ เดียวกัน พลังในการต่อสู้ของภาคประชาชนจึ งมีความเข้มแข็ง รวมถึงมีการออกแบบสถาบั นตรวจสอบที่ดี ให้มีอำนาจและอิสระอย่างแท้จริง โดยปราศจากการแทรกแซงของฝ่ ายการเมือง ตลอดจนเปิดเผยข้อมูลแก่ สาธารณะจนทำให้ได้รับความไว้ วางใจและการสนับสนุนจากทุกภาคส่ วน
ในทางตรงกันข้ามปัจจัยข้างต้ นกลับเป็นจุดอ่อนของ ป.ป.ช. ที่ต้องเผชิญ เนื่องด้วย ขาดการสนับสนุ นจากภาคประชาชนและสื่อที่จะเป็ นพลังสำคัญในการผลักดันให้การต้ านคอร์รัปชั่นสำเร็จมากขึ้น รวมถึงการออกแบบสถาบันตรวจสอบยั งขาดอำนาจและความเป็นอิสระในทุ กมิติ ด้วยเหตุนี้ การดำเนินงานของ ป.ป.ช. ในเส้นทางการต้านคอร์รัปชั่นจึ งถูกจับตามองและถูกตั้งข้อสงสั ยต่อบทบาทและหน้าที่อย่างหลี กเลี่ยงไม่ได้
ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ แสดงความคิดเห็นต่อบทบาทหน้าที่ ของ ป.ป.ช. ในงานเสวนาสาธารณะ โมเดลใหม่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยที ่จัดขึ้นที่ทีดีอาร์ไอ เมื่อเร็วๆนี้ว่า “ลำพังการมีเพียงองค์กรต้านคอร์ รัปชั่นไม่เป็นปัจจัยที่เพี ยงพอในการต่อสู้กับการทุจริต หากแต่ต้องอาศัยการออกแบบสถาบั นที่ดีตั้งแต่ต้นให้มี อำนาจครอบคลุม เป็นกลาง พร้อมทั้งการแสดงบทบาทของสื่ อและภาคประชาชนในเชิงรุก รวมถึงต้องอาศัยการปฏิรู ประบบราชการ รัฐสภา กฎหมาย และกระบวนการยุติธรรมควบคู่กั นไปด้วย แต่ที่ผ่านมา โจทย์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิ ปไตยและคอร์รัปชั่ นของประเทศไทยไม่ดำเนินไปด้วยกั น การต่อสู้เรื่องคอร์รัปชั่นถู กทำให้กลายเป็นประเด็นทางการเมื อง จึงขาดแรงสนับสนุ นจากภาคประชาชนทุกกลุ่มทุกฝ่ ายอย่างเห็นพ้องต้องกัน เป็นเหตุให้ ป.ป.ช. ไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ”
ฉะนั้น จึงไม่มีองค์กรต้านคอร์รัปชั่ นใดที่สมบูรณ์จนสามารถลอกเลี ยนแบบเพื่อนำไปใช้กับองค์กรในอี กประเทศหนึ่งได้ แต่ละสถาบันมีเงื่อนไขและรู ปแบบต่างกันไปตามบริบทของสั งคมนั้นๆ แต่อาจมีบทเรียนจากต่ างประเทศบางประการที่ ป.ป.ช. สามารถนำมาปรับใช้ได้คือ บทเรียนเชิงสถาบัน โดยออกแบบองค์กรให้มี อำนาจครอบคลุม มีความเป็นอิสระ โปร่งใส รวมถึงเผยแพร่ข้อมูล และที่สำคัญที่สุดคือต้องทำหน้ าที่อย่างเป็นกลางตรวจสอบทุ กสถาบันทุกองค์กรที่เกี่ยวข้ องกับการใช้ งบประมาณและอำนาจสาธารณะอย่ างเท่าเทียมกัน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กั บ ป.ป.ช.ในระยะยาว
และเหนืออื่นใดคือสร้างความเข้ าใจให้สังคมตระหนักว่าการต่อสู้ เรื่องประชาธิปไตยกับการต่อสู้ แก้ไขปัญหาปัญหาคอร์รัปชั่นนั้ นเป็นเรื่องที่ต้องทำควบคู่กั นไป ด้วยการทำให้การใช้อำนาจมี ความโปร่งใสตรวจสอบได้
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น