หลังจากที่สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงบูจุมบูรา ประเทศบุรุนดี เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ว่าพล.ต.โกเดโฟรด์ ไนยอมบาเร อดีตผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองของบุรุนดี แถลงผ่านสถานีวิทยุเอกชนแห่งหนึ่งเมื่อวันพุธ ประกาศการรัฐประหารในประเทศ เพื่อโค่นอำนาจประธานาธิบดีปิแอร์ เอ็นกูรุนซิซา ซึ่งอยู่ระหว่างเข้าร่วมการประชุมสุดยอดผู้นำระดับภูมิภาคในแทนซาเนีย หลังดึงดันลงสมัครชิงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อเป็นสมัยที่ 3 จนทำให้ประชาชนออกมาประท้วงต่อต้านอย่างหนักนานหลายสัปดาห์
ผศ.ดร.พิชญ์ พงศ์สวัสดิ์ อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งติดตามข่าวการรัฐประหารในบุรุนดิอย่างใกล้ชิด ได้อัพเดทสถานะผ่านทางเฟซบุ๊คส่วนตัวเป็นระยะ พร้อมวิเคราะห์ข้อมูลประกอบอย่างน่าสนใจ ดังนี้
บทเรียนจากบารุนดิ: การอยู่นาน หรือ การรัฐประหารซ้อน?
---
จะพยายามอัพเดทข่าวจาบารุนดินะครับ เพราะสื่อมวลชนไทยก็ไม่ได้ทำหน้าที่มากไปกว่าผมเท่าไหร่ เพราะก็ต้องแปลข่าวเขามาอีกที
---
สถานการณ์ล่าสุดเมื่อชั่วโมงที่แล้วอัลจาซีร่าลงข่าวที่ต่างจากของบีบีซีเมื่อหลายชั่วโมงก่อน และข่าวจาก NPR ตรงที่ว่า สถานการณ์นั้นยังคลุมเครืออยู่
ประการแรก การรัฐประหารสำเร็จไหม
ประการที่สอง สถานการณ์ทั่วไปเป้นอย่างไร
---
เริ่มจากภาพรวมนะครับ คือ ประธานาธิบดี ปิแอร์ นูรันซีซ่า ประธานาธิบดีกำลังจะละเมิดกฏหมายที่จะลงเลือกตั้งครั้งที่สาม ก็เลยเกิดการลุกฮือของประชาชน ทีนี้ในช่วงเดียวกันสบจังหวะที่ประนาธิบดีได้รับเชิญไปประชุมระดับภูมิภาคในประเทศเพื่อนบ้าน ทีนี้จากข่าวหลายสายก็มีการปราบปรามประชาชนโดยตำรวจ ในช่วงการชุมนุม (NPR)
---
พลเอก นิโยมแบล อดีตนายทหารด้านข่าวกรองที่เพิ่งถูก ปธน ปลดไป ได้แถลงยึดอำนาจจากค่ายทหารพร้อมทั้งการสนับสนุนจากคณะทหาร ภาพรวมที่ NPR วิเคราะห์เมื่อบ่ายคือ ทหารเล่นบทปกป้องสันติภาพและความรุนแรง และอ้างว่าประธานาธิบดีไม่เคารพกฏบัตรในประเทศและไม่ฟังคำแนะนำของประชาคมโลกที่ปรามไม่ให้ประธานาธิบดีลงเลือกตั้งเป้นสมัยที่สาม
---
สถานการณ์ตอนนี้ยังอึมครึม เพราะห้ามออกจากบ้าน และนักข่าวก็ยังไม่ได้ข่าวยืนยันจากทุกฝ่าย เพราะทางประธานาธิบดีนั้นอ้างว่าจะกลับเข้าประเทศ
---
pattern ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งก็คือ ฝ่ายค้านออกมาประกาศสนับสนุนฝ่ายทหารให้ทำรัฐประหารซะ
---
ทำไมข่าวนี้น่าสนใจ - เท่าที่สำรวจข่าวต่างประเทศ เรื่องใหญ่ในอาฟริกาตะวันออกเป็นเรื่องของความรุนแรงทางเชื้อชาติ ประเทศจำนวนมากที่ขาดเสถียรภาพทางการเมืองเพราะมีการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ-เผ่าอย่างรุนแรง ส่วนหนึ่งเป็นผลเนื่องมาจากการเมืองในยุค-หลังยุคอาณานิคมที่เกิดประเทศจากการลากเส้นของมหาอำนาจอาณานิคม และผู้ปกครองก็ได้ฐานสนับสนุนจากเผ่าที่ต่างกัน แม้ว่ากรณีนี้จะไม่รุนแรงมากในในบารุนดี
---
ลุ้นต่อไปครับผม ... ที่ผมมองว่าเรื่องนี้น่าสนใจเพราะเงื่อนไขของการอยู่ยาว หรือสืบทอดอำนาจมักนำไปสู่ความขัดแย้ง แต่เที่ยวนี้มีอ้างประเด็นประชาคมนานาชาติ และบทบาทของฝ่ายค้านด้วย เงื่อนไขหลายข้อเริ่มกลายเป็นสูตรที่ขึ้นกับผู้ประกอบสร้างเรื่องราวเหล่านี้แล้วครับ #เราจะทำตามสัญญาขอเวลาอีกไม่นาน
http://www.aljazeera.com/news/2015/05/150513111503297.html
สงครามสื่อท่ามกลางรัฐประหารในบารุนดิ
เพิ่มเติมจากที่โพสต์ไปแล้ว ข่าวจากรอยเตอร์ เรื่องราวซับซ้อนก็เพราะว่าฝ่ายทหารนั้นประกาศว่าปธน ขัดรัฐธรรมนูญ ที่จะลงเลือกตั้งรอบสาม แต่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินเข้าข้างประธานาธิบดีในทางเทคนิค (อ้างว่ารอบแรกนั้นมาจากสภาเลือก)
---
ฝ่ายทหารประกาศยึดอำนาจด้ววิทยุ ฝ่ายรัฐบาลตอบโต้ด้วยการลงเฟซบุค
---
นักวิเคราะห์มองว่า ทหารอาจไม่มีเอกภาพพอในการทำรัฐประหาร หรือสืบสานอำนาจต่อไป เพราะว่า กองทัพตอนนี้มีส่วนผสมทั้งเผ่าฮูตู และ ทุซี่ ถและเป็นตัวแบบที่ดีของการปรองดองของสองเผ่าที่ผสมกัน ดังนั้นถ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่ของดุลย์ทหารเองก็อาจจะไม่สามารถประคองสถานการณ์ได้
---
ดังนั้นเวลาวิเคราะห์รัฐประหาร ต้องไม่ลืมดูด้วยว่าบางทีความขัดแย้งอาจเป้นเรื่องดุลย์กำลังในหมู่ทหารด้วย ไม่ใช่มองแค่ว่าทหารคนไหนเห็นใจประชาชนกว่ากัน ... หุหุ
http://www.huffingtonpost.com/…/burundi-coup-nkurunziza_n_7…
บุรุนดิ - ข้อมูลเบื้องต้น
---
บางเรื่องน่าสนใจ เก็บมาให้อ่านกันเร็วๆ บุรุนดิ เป้นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของอาฟริกา ไม่มีพื้นที่ติดทะเล แต่มีทะเลสาบใหญ่ บุรุนดิ เคยเป็นอาณานิคมของเยอรมัน ต่อมาตกเป็นของเบลเยี่ยม ภูมิศาสตร์รายล้อมด้วยประเทศที่เราเคยได้ยินในทางยากจนและวุ่นวายทั้งนั้นไม่ว่าจะเป็นราวันด้า คองโก้ แทนซาเนีย
---
สงครามกลางเมืองเป็นหนึ่งในปัญหาของบุรุนดิ ไม่ได้ต่างจากราวันด้ามากนัก เมื่อแรกเริ่มได้ประชาธิปไตย 1993 เผ่าฮูตูได้ชัยชนะ เผ่าทุดซี่ก้อลอบสังหาร จากนั้นก้อตายกันไปสามแสน คนที่สองที่เลือกเข้ามาเป็นฮูตูอีก แต่เครื่องบินตกพร้อมผู้นำราวันด้า ผู้คนอพยพหนีไปราวันด้า รัฐบาลผสมไม่มีเสถียรภาพ ทุดซี่ถอนตัวจากรัฐบาลที่ฮูตูนำ
---
1996 รัฐประหารจากนายพลชาวทุดซี่ เจรจากัน 4 ปี มีอาฟริกาใต้ และ แทนซาเนียมาช่วยเจรจา รวมทั้งยูเอ็น ได้ข้อตกลงปรองดองอลุสซ่า เริ่มมีการเลือกตั้ง ภาพรวมของประเทศคอ ฮูตูมีเยอะกว่าทุดซี่ แล้วตอนนั้นฮูตูเป็นฝ่ายกบถ การเลือกตั้งหลังจากนั้นสองครั้งฮูตูได้อำนาจ แต่ก็มีโครงสร้างแบ่งอำนาจให้ทุดซี่ด้วย นี่คือส่วนหนึ่งของความปรองดอง ซึ่งรวมไปถึงโครงสร้างของกองทัพเองด้วย
---
ประมาณนี้ก่อนครับ จะได้พอเห็นภาพกัน
http://en.wikipedia.org/wiki/Burundi
รัฐประหารที่บูรุนดิ - งานนี้ไม่ค่อยหมู
---
ข่าวอัพเดทเมื่อชั่วโมงที่แล้วครับ ว่าตัวประธานาธิบดียังเข้าประเทศไม่ได้ เพราะฝ่ายทำรัฐประหารปิดสนามบินไม่ให้เข้า แต่ใช่ว่าจะง่าย เพราะตัวผู้นำรัฐประหารเป็นอดีตลูกน้องของประธานาธิบดีเอง ที่ "แตกคอ" กัน เพราะว่าไปขัดไม่ให้ลูกพี่พยายามจะสืบทอดอำนาจตัวเองเป้นรอบที่สาม
---
นี่คือตัวอย่างของการเมืองอาฟริกาที่มีลักษณะของการแบ่งแยกทางเชื้อชาติ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของบุรุนดินั้นคือการสร้างความปรองดองหลังจากสงครามกลางเมือง 12 ปี ทีทำให้ต้องแบ่งปันอำนาจกันของสองเผ่า แต่เหมือนว่า ฮูตูจะเป็นเสียงข้างมาก ที่เลือกตั้งยังไงก้อชนะ ส่วนทุดซี่นั้นรัฐประหารมาก่อน อย่างปธนคนนี้ที่พยายามสืบทอดอำนาจนั้นก็เป็นฮูตู (และเป้นอดีตหัวหน้ากบถในยุคที่ทุกซี่ครองอำนาจ) แถมหัวหน้่าคณะรัฐประหารก็เป็นฮูตูเช่นกัน แต่กำลังทุดซี่ก้อยังไม่ขยับ และเดิมนั้นเนื่องจากรัฐธรรมนูญระบุให้กองทัพมีกำลังของสองเชื้อชาติเท่ากัน กองทัพจึงดำรงความเป้นกลาง นั่นหมายความว่าตอนนี้กองทัพส่วนหนึ่งยังคุมทำเนียบและสถานนีวิทยุไว้ได้ แม้ว่าจะตอบโต้กันไปมา
---
ปธน ตอนนี้บินไปตั้งหลักที่แทนซาเนีย และยังหวังว่าจะได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนฝูงรอบบ้าน ส่วนยูเอสและยูเอ็นก็มาแบบว่าอย่าทะเลาะกัน ยังไม่ได้เข้าข้างใคร
---
อีกบทเรียนท่น่าสนใจก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ หรือองค์อิสระนี่ บางทีก้อตัดสินไปแล้วไม่ได้สามารถจัดการให้สังคมสงบได้หรอกครับ ดังนั้นประเด็นไม่ใช่ว่าจะเข้าข้างใครหรือถูกซื้อเท่านั้น แต่ต้องถามด้วยว่าตัวเองนั้นตัดสินอะไรไปแล้วไปเติมเชื้อไฟให้ปะทะและปะทุขึ้นมาไหม เพราะจะว่าไปแล้ว การเมืองนั้นไม่มีสถาบันใดที่ตัดสินอะไรแล้วไม่ส่งผลกระทบไปที่สถาบันอื่นๆหรอกครับ เพราะระบอบการเมืองหนึ่งๆมันประกอบด้วยหลายสถาบัน อย่างงานนนี้ไปตัดสินแล้วปธนได้เปรียบ แต่ชาวบ้านเขาลุกฮือแบบนี้ก็ยุ่งไปอีกแบบครับ #ถนนยังลูกรังของจริงครับผม
http://www.bbc.com/news/world-africa-32731554
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น