เรื่องกล้วยๆ กับการผูกขาด
เดือนเด่น นิคมบริรักษ์
สถาบันวิจัยเพื่อการพั ฒนาประเทศไทย
ในช่วงที่ผ่านมา มีกระแสวิพากษ์วิจารณ์ในโซเชี่ ยลมีเดียเกี่ยวกับพฤติกรรมของร้ านสะดวกซื้อของกลุ่มธุรกิ จขนาดใหญ่ที่สังคมมองว่าไม่เป็ นธรรมกับซัพพลายเออร์รายย่ อยจนถึงขั้นมีการรณรงค์ให้งดซื้ อสินค้าจากร้านค้าดังกล่าว และมีการเรียกร้องให้รัฐเข้ ามาตรวจสอบพฤติกรรมที่มีลั กษณะที่เป็นการ “ผูกขาด” ในฐานะที่เป็นผู้ที่คลุกคลีกั บกฎหมายแข่งขันทางการค้ามาเป็ นเวลายาวนาน จึงขอนำเสนอข้อมูล ข้อวิเคราะห์และความเห็นเกี่ ยวกับประเด็นดังกล่าวที่อาจเป็ นประโยชน์ต่อผู้ที่เกาะติดเรื่ องนี้
ผู้เขียนขอนำเสนอบทความสามส่วน ส่วนแรกเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ มีอยู่เกี่ยวกับประเด็นพฤติ กรรมทางการค้าที่สังคมเห็นว่ าไม่เป็นธรรม ส่วนที่สองเป็นการวิเคราะห์ว่ าพฤติกรรมที่สังคมเห็นว่าไม่เป็ นธรรมนั้นผิดกฎหมายแข่งขั นทางการค้าหรือไม่ และ ส่วนสุดท้ายเป็นข้อเสนอแนะต่อรั ฐบาลและหน่วยงานที่รับผิ ดชอบในการดำเนินการกับกรณีดั งกล่าว
ปัญหาเกิดขึ้นจากการที่มีการเขี ยนบทความรื่อง “แบ่งปัน SIAM BANANA โตเกียวบานาน่าไทย แบบมีกล้วยอยู่จริงๆ ที่แลกมาด้วยน้ำตา" เผยแพร่ใน blog ของ เว็บไซต์โอเคเนชั่น ซึ่งให้ข้อมูลว่าผู้ผลิตสินค้ าสยามบานาน่าซึ่งได้รั บความสำเร็จอย่างมากในการจำหน่ ายสินค้าที่หัวหินและเขาใหญ่ ได้ติดต่อร้านสะดวกซื้อ 7-11 เพื่อที่จะวางขายสินค้าดังกล่ าวทั่วประเทศ ซึ่งทาง 7-11 ได้ตอบรับวางโดยตกลงว่ าจะวางขายสินค้าดังกล่าวในวันที ่ 1 เดือนเมษายน 2558 หากแต่มีเงื่อนไขว่าผู้ผลิตจะต้ องเปิดเผยสูตรและกระบวนการและวิ ธีการผลิตขนมของตนในรายละเอี ยดเพื่อที่จะให้การผลิตสินค้ าได้มาตรฐานสากล
แต่หลังจากนั้น ในเดือนกุมภาพันธ์ทาง 7-11 กลับมีการบอกเลิกสั ญญาการวางขายสินค้าดังกล่าว ด้วยเหตุผลเพราะว่ามีสินค้ าของตนเองแล้ว ชื่อว่า Le Pain Banana ทำให้ผู้ผลิตดังกล่าวไม่มีช่ องทางการจำหน่ายที่จะระบายสินค้ าเนื่องจากได้ลงทุนเพิ่มปริ มาณการผลิตหลายร้อยเท่าทำให้เป็ นหนี้สินอย่างมาก
การแพร่กระจายของบทความดังกล่ าวทาง social media อย่างรวดเร็วทำให้เกิดการเรี ยกร้องให้หน่วยงานของภาครัฐเข้ ามาดำเนินการกับพฤติกรรมที่เป็ นไม่เป็นธรรมของร้านสะดวกซื้อซึ ่งมีอำนาจ “ผูกขาด”
ในขณะเดียวกันทางกลุ่ม CPAll ก็ได้ออกมาให้ข้อมูลว่า ร้านสะดวกซื้อ 7-11 มิได้มีอำนาจผูกขาดเพราะมี จำนวนสาขาเพียง 8000 สาขาทั่วประเทศในขณะที่มีร้านค้ าปลีกรวมร้ายโชห่วยกว่า 8 แสนราย นอกจากนี้แล้ว ได้ให้ข้อมูลว่า การตรวจสอบรายละเอี ยดของกระบวนการผลิตสินค้านั้ นเป็นสิ่งที่บริษัททำกับซั พพลายเออร์ทุกรายเพื่อที่จะให้ สินค้าที่จะวางขายในร้านได้ มาตรฐาน มิได้เป็นการดำเนินการเฉพาะกรณี ของ Siam Banana เพื่อล้วงความลับทางการค้า นอกจากนี้แล้ว ยังให้ความเห็นว่า สินค้าของตนกับของ Siam Banana อยู่คนละตลาดกัน เพราะ Le Pain Banana ราคาถูกกว่าครึ่งหนึ่งและจำหน่ ายเป็นชิ้นมิได้มีการจำหน่ายเป็ นกล่องที่เน้นการเป็นของฝากที่ ค่อนข้าง “หรู”และทางบริษัทก็ได้มีการพั ฒนาสินค้าดังกล่าวมาก่อนที่ Siam Banana จะติดต่อมาขอวางขายสินค้ าของตนในช่วงปลายปี พ.ศ. 2557
จากข้อมูลของทั้ง 2 ฝ่ายผู้เขียนมีข้อสังเกต 3 ประการ ประการแรก ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นไม่เกี่ ยวกับการ “ผูกขาด” แต่อย่างใด พฤติกรรมที่มีการกล่าวถึงนั้นมี ลักษณะของ “การค้าที่ไม่เป็นธรรม (unfair trade practice)” ตามมาตรา 29 แห่ง พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 มิใช่ การผูกขาดหรือ “การใช้อำนาจเหนือตลาด (market dominance)” ตามมาตรา 25 เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นไม่ได้เกี ่ยวกับการผูกขาดธุรกิจค้าปลีก แต่เกี่ยวกับการที่ร้านค้าปลี กถูกกล่าวหาว่าเอาเปรียบคู่ค้ าที่เป็นซัพพลายเออร์จากการใช้ “อำนาจต่อรอง” ที่เหนือกว่า มาตรา 29 มีไว้เพื่อคุ้มครองธุรกิจรายย่ อยที่ต้องทำธุรกรรมกับธุรกิ จรายใหญ่มิให้ถูกเอาเปรียบ ไม่เกี่ยวกับการผูกขาดตลาดที่มี ผลกระทบต่อผู้บริโภค ดังนั้นจึงไม่มีความจำเป็นที่ จะต้องพิสูจน์ว่า 7-11 มีส่วนแบ่งตลาดเกินเกณฑ์ของผู้ มีอำนาจเหรือตลาด คือ ร้อยละ 50 หรือไม่ การถกเถียงเรื่องส่วนแบ่งตลาดจึ งผิดประเด็น
ประการที่สอง เนื่องจากการใช้อำนาจต่อรองที่ เหนือกว่าของธุรกิจขนาดใหญ่ ในการเอาเปรียบคู่ค้านั้นอาจมี หลากหลายรูปแบบไม่สามารถกำหนดลั กษณะของพฤติ กรรมแบบเฉพาะเจาะจงได้ มาตรา 29 จึงมีบทบัญญัติที่ค่อนข้างกว้ างดังต่อไปนี้“ ห้ามมิให้ผู้ประกอบธุรกิ จกระทำการใด ๆ อันมิใช่การแข่งขันโดยเสรีอย่ างเป็นธรรม และมีผลเป็นการทำลาย ทำให้เสียหาย ขัดขวาง กีดกัน หรือจำกัดการประกอบ ธุรกิจของผู้ประกอบธุรกิจอื่น หรือเพื่อมิให้ผู้อื่นประกอบธุ รกิจ หรือต้องล้มเลิกการประกอบธุรกิจ ” การศึกษาตัวอย่างของพฤติกรรมที่ เข้าข่ายพฤติกรรมการค้าที่ไม่ เป็นธรรมในต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน เยอรมัน สหรัฐอเมริกา ฯลฯ พบว่ามีหลากหลายรวมถึง การเลือกปฏิบัติระหว่างคู่ค้ าโดยไม่มีเหตุผลอันควร การกำหนดเงื่อนไขในการประกอบธุ รกิจที่เป็นการจำกัดทางเลื อกในการประกอบธุรกิจของผู้ ประกอบการรายอื่น การใช้อำนาจต่อรองในการประกอบธุ รกิจโดยไม่เป็นธรรม (กว้างมาก) การได้มาซึ่งข้อมูล ความลับทางการผลิต การขาย เทคโนโลยี โดยวีธีการที่ไม่ถูกต้อง ฯลฯ ดังนั้น พฤติกรรมที่กล่าวถึงใน blog ของโอเคเนชั่นหากเกิดขึ้นจริงก็ น่าจะเข้าข่ายพฤติกรรมที่ไม่เป็ นธรรมตามมาตรา 29 หากมีการพิสูจน์ความเสี ยหายของผู้ผลิต Siam Banana จากการกระทำดังกล่าวด้วย
ประการที่สาม ในประเด็นที่มีการถกเถียงกันว่า สินค้าของ Siam Banana และของ 7-11 ที่มีชื่อว่า Le Pain Banana นั้นเป็นสินค้าที่แข่งขันกันหรื อไม่นั้น อาจจะต้องไปศึกษาดูว่าเมื่อมี Le Pain Banana ออกมาในตลาดแล้ว มีผลกระทบต่อปริมาณการขายของ Siam Banana หรือไม่
กล่าวโดยสรุป ผู้เขียนเห็นว่าประเด็นปัญหาที่ เกิดขึ้นนั้นมีข้อมูลจำนวนมากที ่ต้องมีการตรวจสอบและวิเคราะห์ เพิ่มเติมเพื่อที่จะสรุปได้ว่ ามีการกระทำที่เป็นการเอาเปรี ยบคู่ค้าหรือไม่ เพื่อคลายความเคลือบแคลงของสั งคม รวมทั้งให้ความเป็นธรรมแก่ธุรกิ จที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น 7-11 หากไม่ได้มีเจตนาในการเอาเปรี ยบคู่ค้าตามที่ถูกกล่าวหา หรือ ผู้ผลิต Siam Banana ที่ได้รับความเดือดร้อนหากเนื้ อหาในบทความที่ปรากฏในโซเชียลมี เดียเป็นความจริง
ทั้งนี้ สำนักแข่งขันทางการค้า ซึ่งเป็นหน่วยงานที่บังคับใช้ พ.ร.บ. การแข่งขันทางการค้า พ.ศ. 2542 คงไม่สามารถ “เงียบเฉย” ได้ในขณะที่ประเด็นนี้มีการวิ พากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้ างขวางในสื่อทุกรูปแบบ ผู้เขียนเห็นว่า สำนักงานจำเป็นที่จะต้องมาชี้ แจงกับประชาชนอย่างตรงไปตรงมาว่ า
- มีประเด็นที่เกี่ยวโยงกั บกฎหมายแข่งขันทางการค้าหรือไม่ หากมีแล้ว สำนักงานจะดำเนินการอย่างไร
- มีการกระทำจริงตามที่มีการกล่ าวถึงใน blog หรือไม่ เช่น มีการยกเลิกสัญญาการวางขายสินค้ ากลางคันจริงหรือไม่ หากเป็นเช่นนั้นก็น่าจะดำเนิ นการทางแพ่งเพื่อเรียกร้ องความเสียหายอันสืบเนื่ องมาจากการผิดสัญญาได้
- การเข้าไปยุ่งเกี่ยวกั บการกระบวนการผลิตของ Siam Banana นั้นเป็นเงื่อนไขที่ 7-11 ใช้กับซัพพลายเออร์ทุกรายจริ งหรือไม่ หรือ เฉพาะรายนี้ซึ่งจะส่อพฤติ กรรมการค้าที่ไม่เป็นธรรม
- การพัฒนาสินค้าขนมที่คล้ายคลึ งกัน คือ Le pain Banana มีมาก่อนที่ Siam Banana จะมาเจรจาขอพื้นที่ในการจำหน่ ายสินค้าจริงหรือไม่ซึ่งจะเป็ นข้อมูลที่สามารถชี้ได้ว่ามี การใช้ประโยชน์จากสูตรการผลิ ตของ Siam Banana หรือไม่
- เมื่อมีการออกสินค้า Le Pain Banana มามีผลต่ออุปสงค์ของ Siam Banana (ที่จำหน่ายที่หัวหิน และเขาใหญ่) หรือไม่ซึ่งจะช่วยบ่งบอกได้ว่ าสินค้าสองตัวนี้แข่งกันหรือไม่
การที่สำนักงานฯ จะออกมาคงจะต้องรอสัญญาณจากรั ฐบาลว่าจะเอาอย่างไรเพราะที่ผ่ านมา กว่า 16 ปี ประเด็นแข่งขันเกี่ยวมักเกี่ ยวกับการเมือง ทำให้ข้าราชการประจำไม่กล้าที่ จะ “ทะเล่อทะล่า” ออกไปโดยไม่ดูตาม้าตาเรือ ดิฉันเห็นใจเจ้าหน้าที่สำนักแข่ งขันทางการค้าที่มีความพยายามที ่จะบังคับใช้กฎหมายนี้แต่ถูกห้ ามถูกเบรคมาโดยตลอด คราวนี้เป็นการทดสอบพลั งประชาชนว่าจะกดดันการเมืองไม่ ให้ “เกียร์ว่าง” ในกรณีนี้ได้หรือไม่ สุดท้ายแล้ว เรื่องเกี่ยวกับขนมไส้กล้วยไม่ น่าจะจบลงอย่างกล้วยๆ ได้.
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น