ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ
ประเทศไทยกำลังเดินหน้าการจัดตั ้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (Special Economic Zone: SEZ) ตามที่คณะกรรมการนโยบายเขตพั ฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) เห็นชอบ โดยมีพื้นที่เป้าหมายระยะที่ 1 และ 2 ใน 10 จังหวัดชายแดน และมีการกำหนดอุตสาหกรรมเป้ าหมาย 13 สาขาสำหรับระยะที่ 1 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นอุตสาหกรรมที ่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น เครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนัง อัญมณีและเครื่องประดับ เฟอร์นิเจอร์ และเซรามิกส์
กิจการที่อยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิ จพิเศษจะได้รับสิทธิประโยชน์อย่ างมากทั้งจากคณะกรรมการส่งเสริ มการลงทุน(บีโอไอ) และหน่วยงานอื่นๆ โดยสิทธิประโยชน์ที่ได้รั บจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุ น(บีโอไอ) ในกรณีที่เป็นกิจการเป้าหมาย ได้แก่ (1) ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุ คคล 8 ปี และนับจากวันสิ้นสุ ดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้ ยังได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิ ติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิที่ได้ จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี (2) ได้รับอนุญาตให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าประปา 2 เท่าเป็นเวลา 10 ปี (3) ได้รับอนุญาตให้หักเงินลงทุ นในการติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่ งอำนวยความสะดวกร้อยละ 25 ของเงินลงทุน (4) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่ องจักร (5) ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวั ตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่ วนที่ผลิตเพื่อการส่งออกเป็ นระยะเวลา 5 ปี (6) ได้รับอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้ าวไร้ฝีมือ และในกรณีที่ไม่ได้รับการส่ งเสริมจากบีโอไอ กิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จะได้รับสิทธิประโยชน์ จากกระทรวงการคลังในการลดหย่ อนภาษีนิติบุคคลสำหรับกำไรสุทธิ ที่ได้จากการลงทุนในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 10 ปี นอกเหนือจากสิทธิประโยชน์ดังกล่ าวแล้ว กิจการในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์ ในการกู้ดอกเบี้ยต่ำรายละไม่เกิ น1-20 ล้านบาท การใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือซึ ่งเดินทางเข้ามาทำงานแบบไปเช้า- เย็นกลับหรืออยู่ได้ครั้งละไม่ เกิน 7 วัน ความสะดวกที่จะได้รับจากศูนย์ บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุนซึ่ งจะพิจารณาอนุมัติภายใน 40 วันทำการ และศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้ านแรงงาน สาธารณสุข และการตรวจคนเข้าเมืองซึ่งจะพิ จารณาอนุมัติภายใน 1 วันทำการ และการดำเนินกิจการในพื้นที่ที่ มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้ นฐานและด่านศุลกากร ซึ่งภาครัฐมีโครงการลงทุ นในวงเงิน 10,000 ล้านบาทในปี 2558-2559 สำหรับ SEZ ระยะที่ 1
ดร.เสาวรัจ รัตนคำฟู นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เป็นเครื่องมือในการยกระดั บความสามารถในการแข่งขันและพั ฒนาพื้นที่จังหวัดชายแดนนั้น ตนเห็นด้วยว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่ก็มีหลายอย่างที่ควรปรับปรุ ง โดยจะเห็นได้ว่า รัฐบาลพยายามส่งเสริมเขตพั ฒนาเศรษฐกิจพิเศษ โดยการให้สิทธิประโยชน์อย่างเต็ มที่ แต่คำถามคือ การมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษจะทำ ให้ประเทศไทยสามารถยกระดั บความสามารถในการแข่งขันได้จริ งหรือ เนื่องจาก เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไม่ได้ถู กออกแบบอย่างมียุทธศาสตร์ที่ชั ดเจนว่า จะช่วยเชื่อมโยงห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้ านให้หนุนเสริมกันได้อย่างไร โดยประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้ านควรหารือเพื่อพัฒนาร่วมกัน
นักวิชาการอาวุโสทีดีอาร์ไอ ระบุว่า สิทธิประโยชน์สูงสุดของภาครั ฐที่ให้แก่กิจการเป้าหมายซึ่งส่ วนหนึ่งอยู่ในอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเข้มข้น และการอนุญาตให้ใช้แรงงานต่างด้ าวไร้ฝีมือ อาจเป็นการส่งสัญญาณที่ไม่ สอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศที ่ต้องการหลุดพันจากกับดั กประเทศรายได้ปานกลาง ซึ่งจำเป็นต้องยกระดั บความสามารถในการแข่งขันโดยเน้ นการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เพราะจะทำให้ผู้ประกอบการไทยไม่ มีแรงจูงใจในการปรับตัวไปสู่กิ จกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ การที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษถู กออกแบบมาเพื่อให้แก้ปั ญหาแรงงานต่างด้าว ก็จะไม่สามารถตอบโจทย์ปั ญหาแรงงานต่างด้าวได้ ตราบใดที่นโยบายแรงงานต่างด้ าวในระดับชาติยังไม่มีความชั ดเจนและไม่มีการบังคับใช้ กฎหมายอย่างจริงจัง
ในข้อเท็จจริง การใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็ นฐานการผลิตของอุตสาหกรรมที่ใช้ แรงงานเข้มข้นน่าจะไม่ ประสบความสำเร็จ เนื่องจาก ถึงอย่างไร ประเทศไทยจะมีค่าแรงที่สูงกว่ าประเทศเพื่อนบ้านและการส่ งออกจากประเทศไทยจะไม่ได้สิทธิ พิเศษทางการค้า (GSP) ไปยังตลาดหลัก การศึกษาของทีดีอาร์ไอเกี่ยวกั บต้นทุนการผลิตเครื่องนุ่งห่ มในประเทศไทย ลาวและกัมพูชา พบว่า ต้นทุนการผลิตในไทยสูงกว่ าลาวและกัมพูชาถึงร้อยละ 15 เนื่องจาก ต้นทุนค่าแรงในไทยสูงกว่า และไทยไม่ได้สิทธิพิเศษทางการค้ า (GSP) จากประเทศคู่ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ดังนั้น จะมีเพียงผู้ประกอบการที่ผลิ ตเพื่อขายในประเทศที่จะได้รับสิ ทธิประโยชน์จากการตั้งอยู่ในเขต พัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
หากประเทศไทยต้องการเพิ่ มความสามารถในการแข่งขัน แทนที่จะใช้เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิ เศษเพื่อเน้นการส่งเสริมอุ ตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น ประเทศไทยควรให้ความสำคัญกั บการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่ อเป็นฐานการผลิตสินค้าและบริ การที่มีมูลค่าเพิ่มสูง ซึ่งหมายความว่า รัฐบาลควรแปลงเขตพัฒนาเศรษฐกิ จพิเศษให้เป็น “เขตนวัตกรรมพิเศษ”(Special Innovation Zone: SIZ) โดยเน้นอุตสาหกรรมที่อยู่ บนฐานความรู้ (knowledge-based sector) เช่น ซอฟต์แวร์ การออกแบบ การวิจัยและพัฒนา โดยต้องเน้นแรงงานมีทักษะสูงต่ างชาติ เช่น โปรแกรมเมอร์ หรือนักวิชาชีพต่างชาติ ทำงานในไทยได้โดยง่าย แทนการใช้แรงงานทักษะต่ำจากต่ างประเทศ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ดีและเป็นประโยชน์ซึ่งรั ฐบาลควรดำเนินการต่อไปคือ การให้ความสำคัญกับการพัฒนาจั งหวัดชายแดนในฐานะเป็นประตู (gateway) สู่ประเทศเพื่อนบ้าน โดยเข้าไปลงทุนโครงสร้างพื้ นฐานที่สำคัญ เช่น ถนน และการปรับปรุงด่านชายแดนให้มี ประสิทธิภาพมากขึ้ นและสามารถรองรับการขนส่งสินค้ าผ่านแดนจำนวนมากได้ โดยแยกกันชัดเจนระหว่างด่ านตรวจคนเข้าเมือง และด่านตรวจสินค้า และการสร้างศูนย์บริการเบ็ดเสร็ จเพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้ าและการลงทุน ตลอดจน ส่งเสริมกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่ ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิ จแก่ประชาชนในท้องถิ่นอย่างยั่ งยืน เช่น การส่งเสริมบริการทางการค้ าชายแดนที่สำคัญ ด้วยการจัดตั้งศูนย์โลจิสติกส์ กระจายสินค้าเพื่อเชื่ อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่ างไทยและประเทศเพื่อนบ้านในพื้ นที่ที่มีมูลค่าการค้าชายแดนสู ง และการส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ นำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเพื่ อนบ้านเพื่อนำมาแปรรูปเป็นสินค้ าที่มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น เพื่อใช้ประโยชน์จากการลดอั ตราภาษีสินค้าเป็นศูนย์ ของประเทศเพื่อนบ้านภายในปี 2561 จากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซี ยน (AEC)
เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเป็นเพี ยงเครื่องมือในการบรรลุเป้ าหมายทางนโยบาย ดังนั้น ลำพังการมีเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิ เศษจึงไม่สามารถทดแทนการมี นโยบายอุ ตสาหกรรมและนโยบายแรงงานที่ดี เพื่อทำให้ประเทศไทยมี ความสามารถในการแข่งขันเพิ่มขึ้ นได้ การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิ เศษชายแดนจะไม่ประสบความสำเร็ จในการยกระดั บความสามารถในการแข่งขั นและทำให้เกิดการเชื่อมโยงกั บประเทศเพื่อนบ้าน หากไม่ได้ออกแบบโดยมียุทธศาสตร์ ที่ชัดเจน ที่สำคัญ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษไม่ควรถู กใช้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริ มอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เนื่องจากการดำเนินนโยบายดังกล่ าวจะทำให้ประเทศไทยติดอยู่กั บการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มต่ำ สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ การส่งเสริมให้ย้ายการผลิตที่ ใช้แรงงานมากไปยังประเทศเพื่ อนบ้านที่มีค่าแรงถูกกว่า และยกระดับการผลิตในไทยให้มีมู ลค่าเพิ่มสูงขึ้น โดยการสร้างเขตนวัตกรรมพิเศษ (SIZ) ที่เน้นการเป็นฐานการผลิตสินค้ าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น