วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ธนาพล อิ๋วสกุล ตั้งข้อสังเกตกรณีตำรวจคุมตัว 2 ผู้ต้องหาวางแผนก่อวินาศกรรมงาน Bike For Dad ด้านประธาน นปช.เชื่อ สร้างละครยัดข้อหาป่วนวินาศกรรม ปั่นกระแสกลบโกงราชภักดิ์


(ขอบคุณภาพจาก Voice TV)


 26 พ.ย.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนาพล อิ๋วสกุล บก.ฟ้าเดียวกัน ตั้งข้อสังเกต ต่อกรณีตำรวจคุมตัว 2 ผู้ต้องหา วางแผนก่อวินาศกรรมงาน Bike For Dad และเตรียมลอบทำร้าย 2 บุคคลสำคัญ ในเฟซบุ๊คส่วนตัว Thanapol Eawsakul โดยระบุว่า 



ข้อสังเกตต่อการแถลงข่าวเตรียมก่อวินาศกรรมในกรุงเทพฯ วันนี้
..........................
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2558) จะมีแถลงข่าวเตรียมก่อวินาศกรรมในกรุงเทพฯ โดยพล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) 
ดู
แฉมีคนบงการ เตรียมบึ้มกรุง! ป่วนปั่นเพื่อพ่อ
http://www.thaipost.net/…
ในงานนี้จะมีผู้ต้องหา 3 ราย คือ
จ.ส.ต.ประธิน จันทร์เกศ อดีตตำรวจตระเวนชายแดน,
นายพิษณุ พรหมสร
และนายณัฐพล ณวรรณ์เล มาแถลงด้วย
มิตรสหายท่านหนึ่งให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่า
จสอ.ประทิน จันทร์เกษ ตร. นอกราชการ อดีต พนง. รักษาความปลอดภัย แบงค์ชาติ ขอนแก่น ประทิน โดนจับครั้งแรกเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 (วันที่มีการรัฐประหาร) และหลังการจับประทิน ได้มีคนเสื้อแดงอีกกว่ายี่สิบได้โดนจับตามกันมาโดยที่สื่อฝ่ายรัฐโหมประโคมว่าคนเหล่านี้เป็นกลุ่มก่อการร้ายมีแผนการปล้นสถานที่ราชการ โดยมีชื่อเรียกเหมารวมง่ายๆว่า ขอนแก่นโมเดล
.
ซึ่งที่สุดแล้วกรณีนี้ก็ได้เป็นเหตุผลหนึ่งในการให้ความชอบธรรมการรัฐประหาร
.
ประทิน เป็นจำเลยที่1 ในคดีนี้ และพวกเขาถูกขังอยู่นานประมาณหกเดือนโดยที่สุดได้รับการประกันตัวออกมาเงียบๆ
.
ข้อสังเกตสำคัญกรณีการจับกุมกลุ่มขอนแก่นโมเดลที่มักไม่มีใครเอามาคิดก็คือ หลายคนในกลุ่มผู้ถูกจับกุม เรียกได้ว่าเหลาเหย่ อายุเฉียดหกสิบ หรือว่าเกินหกสิบไปแล้ว มีอยู่รายหนึ่งอายุ 73 ปี ผมเองก็นึกไม่ออกเหมือนกันว่าการก่อการร้ายตามที่ทหารและสื่อฝ่ายทหารประโคมมันจะทำโดยกลุ่มคนอายุขนาดนี้ได้อย่างไร
.
ลองคิดถึงภาพในหนังแอคชั่นบู๊ล้างผลาญว่ามี ผู้ก่อการวัยเจ็ดสิบเศษ ถือปืนกล ห้อยระเบิด วิ่งโขยกเขยกสู้กับทหารทั้งกองทัพเอาก็แล้วกัน
.
.
ก็ไม่ได้ทำเป็นข่าวที่มีรายละเอียดมากนักเนื่องจากว่าเจ้าตัวผู้ต้องขัง (อาจจะ) ถูกทหารขู่ว่าถ้าพูดมากอาจจะมีการถอนประกัน ต้องกลับไปอยู่ในคุกอีก
.
ประทินถูกจับ แต่ถ้าใช้ภาษาแบบคืนความสุขตามใจทั่นผู้นำก็คือ ถูกควบคุมตัวตั้งแต่วันศุกร์ที่ผ่านมาที่บ้านของเขาในขอนแก่น และพึ่งมาเป็นข่าวใน ผู้จัดการเป็นที่แรกเมื่อวานนี้
.
ประทิน จันทร์เกษ มีเรื่องราวสืบเนื่องยืดยาว น่าสนใจแล้ว อีกคนที่โดนจับน่าสนใจมากเสียยิ่งกว่า
.......................
เพื่อให้เข้าใจการทำงานของตำรวจมากขึ้น แนะนำว่าให้อ่านบทความ
อ๊อด พยูนวงศ์ : โดย วีรพงษ์ รามางกูร
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1444277166
ผมคาดว่าข้อมูุลที่จะแถลงวันนี้คงเต็มไปด้วยความตื่นเต้น ที่ได้ค้นพบและจับกุมผู้ต้องหาทั้ง 3 และคงถูกขยายผลต่อจากสื่อมวลชนบางสำนักไปด้วย
ทั้งนี้โดยไม่ต้องตั้งข้อสงสัย ต่อพยานหลักฐานและการสืบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจทหาร ที่ได้จับกุมคุมขังมาก่อนหน้านี้
เอาแค่คนที่โดนจับกุมตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2557 โดนขังไว้ 6 เดือน แล้วยังมีพิษสงมาก่อวินาศกรรมกรุงเทพอีก


จากนั้น นายธนาพล โพสต์เฟซบุ๊คเพิ่มเติมอีกว่า 

24 ปีผ่านไป
..................
วันนี้ (26 พฤศจิกายน 2558) เห็นข่าว ตำรวจคุมตัว 2 ผู้ต้องหา (ประทิน-ณัฐพล) วางแผนก่อวินาศกรรมงาน Bike For Dad / เตรียมลอบทำร้าย 2 บุคคลสำคัญ
ใครยังจำ พ.อ.บุลศักดิ์ โพธิเจริญ นั่งแถลงข่าว เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2534 ได้ไหมครับ
................
อ่านเพิ่มเติม
พลิกตำนาน"ลอบสังหาร"บุคคลสำคัญจาก"เปรม" ถึง "ทักษิณ"ในสถานการณ์ระอุ"เรื่องจริง"หรือ"ปาหี่"
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1239200860

--------------


ประธาน นปช. ย้ำชัด สร้างราชภักดิ์พันงบประมาณแผ่นดิน จึงควรถูกตรวจสอบให้ชัดเจน ระบุไอโอสร้างละครฉากเดิมๆ ยัดข้อหาป่วนวินาศกรรม ปั่นกระแสกลบโกงราชภักดิ์

นายจตุพร พรหมพันธุ์ ประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวในรายการมองไกล ผ่านยูทูป เมื่อ 26 พฤศจิกายนนี้ว่า การจับตำรวจนอกราชการป่วนปั่นเพื่อพ่อ (Bike For Dad) เป็นปฏิบัติการข่าวทางการทหาร (ไอโอ) เพื่อสร้างกระแสก่อการร้ายให้กลบการทุจริตจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์
นายจตุพร กล่าวว่า จสอ.ประทิน จันทร์เกศ อายุกว่า 60 ปี ถูกเจ้าหน้าที่อุ้มตัวไปก่อนมีงานซ้อมปั่นเพื่อพ่อ ที่จังหวัดขอนแก่น 2 วัน ขณะนี้ถูกทหารควบคุมตัวอยู่ในกรุงเทพ และ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) แถลงว่า กลุ่มป่วนนี้มีเป้าหมายก่อวินาศกรรมในกรุงเทพฯ ในช่วงงานลอยกระทง งานปั่นเพื่อพ่อ งานวันปีใหม่ แล้วยังลามไปถึงการวางแผนลอบสังหารผู้นำของประเทศ ซึ่งแสดงถึงการปั่นกระแสก่อการร้ายมาเบนการกล่าวหาทุจริตราชภักดิ์
จสอ.ประทิน เป็นอดีตตำรวจตระเวณชายแดน ถูกจับกุมครั้งแรกเมื่อ 22 พฤษภาคม 2558 และมีคนถูกจับตามมาอีก 20 คน สื่อเรียกเป็นกลุ่มก่อการร้ายมีพฤติกรรมสร้างความปั่นป่วนในจังหวัดขอนแก่น ซึ่งกลายเป็นขอนแก่นโมเดล เมื่อถูกขังคุกอยู่ประมาณ 6 เดือน จึงได้รับการประกันตัวออกมาเงียบๆ แล้วมาถูกจับอีกครั้งในข้อหาป่วนงานซ้อมปั่นเพื่อพ่อที่จังหวัดขอนแก่น เมื่อ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา
พล.ต.อ.จักรทิพย์ กล่าวว่า จสอ.ประทิน และพวกอีก 2 คน ถูกกล่าวหาว่า มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ โดยมีหลักฐานการติดต่อในแอปพลิเคชันไลน์ รวมทั้งต้องสอบสวนถึงตัวการใหญ่ผู้บ่งการอยู่เบื้องหลัง
นายจตุพร กล่าวว่า การจับกุมมีพิรุธมากมาย โดยเลือกเอาตัวละครที่เป็นขอนแก่นโมเดลที่ได้ประกันตัว และถูกเจ้าหน้าที่เฝ้าติดตามมาตลอด แล้วยังสร้างข้อหาป่วนปั่นเพื่อพ่อ ซึ่งคงไม่มีใครชั่วช้าไปป่วนงานมหามงคล ดังนั้นจึงขอประณามคนที่ป่วนงานมหามงคล รวมทั้งฝ่ายปฏิบัติการไอโอที่เอางานปั่นเพื่อพ่อมาปั่นกระแสให้กลบการทุจริตจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์
ประธาน นปช. ย้ำว่า การสั่งให้ พล.อ.ปรีชา จันทร์โอชา ปลัดกระทรวงกลาโหม ตั้งกรรมการสอบการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ คงไม่เกิดประโยชน์ เพราะพล.อ.ปรีชา เมื่อครั้งเป็น ผช.ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) รวมทั้ง พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. เมื่อครั้งเป็น ผช.ผบ.ทบ. คงร่วมเป็นกรรมการจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์ด้วย จึงไม่ควรมาเป็นกรรมการสอบเลย
นายจตุพร กล่าวว่า การทุจริตราชภักดิ์ คงไม่จบลงแบบเรื่องส่วนตัว เพราะเงินส่วนหนึ่งในการจัดสร้างมีงบประมาณแผ่นดินเข้าไปเกี่ยวข้องด้วย โดยนายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (คตง.) ระบุถึงการนำเงินจากงบกลางจำนวน 63 ล้านบาทไปจัดสร้างด้วยจึงเป็นการใช้จ่ายเงินงบประมาณแผ่นดิน นอกจากนี้นายวิชา มหาคุณ กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ยังแสดงถึงการเข้าตรวจสอบการจัดสร้างและหักค่าหัวคิวการหล่อรูปองค์พระบูรพกษัตริย์อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่ลงนามโดย พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร เมื่อครั้งเป็น ผบ.ทบ.ได้ส่งถึงหน่วยงานรัฐ เอกชน และประชาชนให้ร่วมบริจาคสมทบการจัดสร้างราชภักดิ์ รวมถึงระเบียบของกระทรวงการคลังว่าด้วยการรับเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้ทางราชการ และระเบียบกองทัพบกว่าด้วยการจัดสวัสดิการภายในกองทัพบก ที่ลงนามโดย พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ เมื่อครั้งเป็น ผบ.ทบ. ในปี 2548
ดังนั้น การใช้จ่ายงบประมาณจัดสร้างอุทยานราชภักดิ์จึงต้องเป็นไปตามกำหนดของระเบียบต่างๆ เหล่านี้ด้วย ซึ่งชัดเจนว่า มีงบประมาณแผ่นดินมาเกี่ยวข้อง โดยจะนำเสนอรายละเอียดอีกครั้งในวันที่ 27 พฤศจิกายนนี้ เพราะส่วนหนึ่งมีเงินบริจาคของหน่วยงานรัฐและเอกชนมาเกี่ยวข้องด้วย

วัฒนา เมืองสุข ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงประยุทธ์ ย้ำ รัฐบาลไม่มีอำนาจเรียกร้องให้ยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าเสียหายจำนำข้าว





เมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. โดยระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ดำเนินการให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว และชี้ว่า รัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะเรียกร้องให้อดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าเสียหาย

ทั้งนี้ เนื้อหาในจดหมายเปิดผนึก ระบุว่า ตามที่นายกรัฐมนตรีได้ลงนามในคำสั่งกระทรวงการคลัง ที่ 448/2558 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด ลงวันที่ 3 เมษายน 2558 เนื่องจาก ป.ป.ช. ได้ส่งความเห็นให้กระทรวงการคลังดำเนินการให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ ชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการรับจำนำข้าว นั้น ผมมีความเห็นว่ารัฐบาลไม่มีอำนาจที่จะเรียกร้องให้นายกยิ่งลักษณ์ชดใช้ค่าเสียหาย ดังนี้

1. การรับจำนำข้าวอันเป็นโครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะตามมาตรา 84 (8) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ดำเนินการในรูปแบบของคณะบุคคล (collective body) แต่งตั้งโดยคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 153/2554 ลงวันที่ 8 กันยายน 2554 เรียกชื่อว่า "คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ" เรียกโดยย่อว่า "กขช." ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 24 คนโดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเสนอกรอบ นโยบาย การอนุมัติแผนงาน โครงการและมาตรการเกี่ยวกับการการผลิตและการตลาด รวมถึงการติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการและโครงการที่อนุมัติ นอกจากนี้ กขช. ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการ จำนวน 2 ชุด รับผิดชอบงานด้านปฏิบัติการประกอบด้วย (1) คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการจำนำข้าว และ (2) คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว ตามคำสั่ง กขช. ที่ 4 และ 5/2554 ลงวันที่ 12 กันยายน 2554 ทั้งสองฉบับ

2. โครงการรับจำนำข้าวดำเนินการโดยผ่านการประเมินความคุ้มค่าของของโครงการตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 และแถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภาแล้ว ทั้งไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหายตามที่หลายฝ่ายพยายามกล่าวหา กล่าวคือ

(1) การรับจำนำข้าวเปลือก ธกส. ได้จ่ายเงินให้กับชาวนาโดยวิธีโอนเงินเข้าบัญชีโดยตรง จำนวน 878,209 ล้านบาท ส่วนการระบายผลิตผลที่ ป.ป.ช. กล่าวหาว่ามีการทุจริต นั้น อยู่ในความรับผิดชอบของ "คณะอนุกรรมการพิจารณาระบายข้าว" โดยมี "คณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ" ทำหน้าที่ติดตาม กำกับดูแลการปฏิบัติตามนโยบาย มาตรการและโครงการที่อนุมัติอันเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบร่วมกันในรูปของคณะกรรมการ (collective responsibility) นายกรัฐมนตรีและประธาน กขช. โดยลำพังไม่ได้มีอำนาจหน้าที่ดังกล่าว
.
(2) ปริมาณสินค้าคงเหลือจำนวน 18.96 ล้านตัน ที่คณะอนุกรรมการปิดบัญชีประเมินว่ามีมูลค่าสินค้าคงเหลือสุทธิจำนวน 224,346 ล้านบาท ใช้วิธีคิดโดยการหักค่าเสื่อมสภาพของสินค้าจากนั้นนำมาหักออกจากจำนวนเงินที่รัฐจ่ายให้กับชาวนาแล้วสรุปเป็นความเสียหายของโครงการซึ่งไม่ถูกต้อง หากถือตามวิธีการที่ ป.ป.ช. และคณะอนุกรรมการปิดบัญชีคิดดังกล่าว รัฐบาลที่เข้ามาบริหารราชการแผ่นดินใหม่จะต้องเรียกร้องให้หัวหน้ารัฐบาลเดิมที่เพิ่งพ้นตำแหน่ง ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการเสื่อมราคาของทรัพย์สินที่รัฐบาลเดิมได้ซื้อมาซึ่งไม่ถูกต้องและไม่เคยมีการปฏิบัติมาก่อน ดังนั้น ปริมาณสินค้าคงเหลือจำนวน 18.96 ล้านตันที่รัฐได้จ่ายเงินให้กับชาวนาไปโดยไม่มีการทุจริตจึงไม่ถือเป็นความเสียหายของโครงการอย่างที่พยายามบิดเบือนกัน

(3) สำหรับประเด็นการระบายว่ามีการทุจริต นั้น อัยการสูงสุดได้ฟ้องคดีผู้เกี่ยวข้องกับการระบายข้าวต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองแล้ว สิ่งที่ผมโต้แย้งเป็นเพียงผมไม่เห็นด้วยกับข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ที่อ้างว่านายกรัฐมนตรีและประธาน กขช. ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าว และเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ราชการตามอำนาจหน้าที่เนื่องจากเป็นอำนาจหน้าที่ของ กขช. ในรูปแบบคณะบุคคล ดังกล่าว

3. ดังนั้น ข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. ที่ว่านายกยิ่งลักษณ์ในฐานะนายกรัฐมนตรีและประธาน กขช. ปล่อยให้มีการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวและเพิกเฉยไม่ระงับยับยั้งความเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ทางราชการตามอำนาจหน้าที่จึงเป็นข้อกล่าวหาที่ไม่ชอบ นอกจากนี้ คณะกรรมการหรือคณะอนุกรรมการที่กล่าวถึง เป็นคณะบุคคลที่ถูกตั้งขึ้นโดยคำสั่งในทางบริหารเพื่อปฏิบัติภารกิจเป็นการเฉพาะ ไม่ใช่หน่วยงานหรือส่วนราชการตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และพระราชบัญญัติปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 อันจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของนายกรัฐมนตรี ข้อกล่าวหาของ ป.ป.ช. จึงไม่ครบเป็นองค์ประกอบความผิดตามกฎหมาย

4. โครงการรับจำนำข้าวและนายกยิ่งลักษณ์คือเหยื่อทางการเมืองตามทฤษฎีสมคบคิด (conspiracy theory) มีการสร้างวาทกรรมทางการเมืองเพื่อใส่ร้ายโครงการ เช่น เป็นโครงการที่คิดขึ้นมาเพื่อโกงในทุกระดับ หรือ เป็นโครงการที่ขาดทุนหรือสร้างความเสียหายแก่รัฐอย่างมโหฬารกว่า 500,000 ล้านบาท หรือ เป็นโครงการที่บิดเบือนทำลายกลไกการตลาด เป็นต้น ซึ่งล้วนเป็นความเท็จโดยมีเป้าหมายทางการเมือง ทั้งที่ความเป็นจริงเป็นโครงการเพื่อประโยชน์สาธารณะที่มีรัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศรองรับ ผ่านการประเมินความคุ้มค่าของโครงการและแถลงเป็นนโยบายต่อรัฐสภาและไม่ได้มีความเสียหายมากมายตามที่กล่าวอ้าง ที่น่าเศร้าที่สุดคือ ป.ป.ช. ซึ่งเป็นองค์กรในกระบวนการยุติธรรมกลับเป็นตัวการสร้างวาทกรรมเหล่านั้นเสียเอง

จึงขอกราบเรียนท่านนายกด้วยความเคารพว่า กรุณาสั่งการให้เจ้าหน้าที่พิจารณาดำเนินการเรื่องนี้อย่างรอบคอบและเป็นธรรมเพราะการใช้อำนาจของรัฐที่ปราศจากความเที่ยงธรรมหรือมิได้เป็นไปตามหลักนิติธรรมจะนำมาซึ่งความขัดแย้งอย่างไม่รู้จบ การอำนวยความยุติธรรมเท่านั้นที่จะนำมาซึ่งการยอมรับและเกิดความปรองดองในที่สุด

วันอาทิตย์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา แนะนักกฎหมายรัฐบาล ย้อนดูคำวินิฉัยศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 ชี้ ใช้คำสั่งปกครองเอาผิดจำนำข้าวไม่ได้

"จำนำข้าว"ทำตามนโยบาย อำนาจครม.บริหารตามรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าข่ายเป็น"เจ้าหน้าที่รัฐ" คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด 178/2550 ระบุไว้ชัด
******************************

นางสดศรี สัตยธรรม อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และอดีต กกต.ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในช่วงข่าวค่ำ NEWSROOM 18.30 น. ทางช่อง TV24 สถานีประชาชน เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2558 โดยระบุว่า

นักกฎหมายน่าจะย้อนกลับไปดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่เคยวินิจฉัยไว้ ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี โดยใช้แหล่งที่มาของอำนาจคณะรัฐมนตรีเป็นเกณฑ์ ถ้าคณะรัฐมนตรีใช้อำนวจกระทำการต่างๆโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีผลบังคับ อย่างเช่นพระราชบัญญัติ ก็ถือได้ว่าคณะรัฐมนตรีเป็น"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งจะอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง .
แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจกระทำการต่างๆโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับรัฐสภา หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือในกรณีคณะรัฐมนตรีละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ถือได้ว่าคณะรัฐมนตรีเป็น"องค์กรตามรัฐธรรมนูญ" ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง
.
ในกรณีเรื่อง"ข้าว" เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการตาม"อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ" เมื่อใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ..เพราะตามรัฐธรรมนูญบอกว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และแจ้งการดำเนินงานตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามมาตรา 75 ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 ตามมาตรา 176 เมื่อมีการเข้ามาโดยคณะรัฐมนตรียุคสมัยท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเรื่องเกี่ยวกับข้าว
.
เพราะฉะนั้นถ้าตามแนวทางที่ศาลปกครองสูงสุด เคยวินิจฉัยไว้คือ คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้ดำเนินการโดยใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ เมื่อแนวทางของศาลปกครองวินิจฉัยไว้อย่างนี้ แล้วจะดำเนินการไปได้อย่างไรในเรื่องนี้ เนื่องจากว่าคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการไปตามอำนาจบริหารที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่มีนักวิชาการพูดกัน
.
เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่การกระทำในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับ"จำนำข้าว" จะต้องรับผิดในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
.
การกระทำนี้เป็นการกระทำที่จะใช้คำสั่งทางปกครองได้หรือไม่ ในเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจ ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ได้เลย จะพยายามไปใช้คำสั่งทางปกครอง จึงทำไม่ได้ เพราะมีแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดวางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
.
ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ นอกจากกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ยังมีคำสั่งไม่ว่าจะศาลฎีกา ศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย หรือเป็นคำสั่ง หรือคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว มีความชัดเจนอยู่แล้ว ไม่สามารถที่จะบิดพลิ้วไปได้อย่างอื่นเลย เพราะฉะนั้นในกรณีนี้มันไม่ใช่เป็นเรื่องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะขณะนั้นคณะรัฐมนตรีได้ทำตามอำนาจบริหารที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เราจะไปตีความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ..มันไม่ใช่
.
ตามกฎเกณฑ์ธรรมดาถ้าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีไปทำตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีผลใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติยาสูบ เขาระบุว่า ห้ามไม่ให้เด็กต่ำกว่า 18 ปีซื้อบุหรี่ แต่ถ้ารัฐบาลบอกไม่ต้อง..เด็กขนาดไหนก็ซื้อบุหรี่สูบได้ อันนี้ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ เพราะถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันนี้คือตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ได้วินิจฉัยไว้เลย
.
แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว เป็นเรื่องที่เขาถือว่า"คณะรัฐมนตรี" เป็น"องค์กรตามรัฐธรรมนูญ"เท่านั้นเอง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ"
.
นอกจากนี้ยังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายฉบับ เช่น 9/49 14/46 ที่ระบุไว้ว่าถ้าเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปแล้ว ศาลเหล่านี้จะไม่เข้าไป..คือเป็นการ"จำกัดอำนาจของศาล"เหล่านี้
.
เมื่อไม่ใช่เป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเอาทางนี้ไม่ได้ ยกเว้นจะใช้มาตรา 44..มาตรา44 คืออำนาจที่จะดำเนินการอะไรก็ได้ตามใจท่าน




วันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ชาวนาในจังหวัดเชียงรายเดือดร้อนหนักหลังถูกกดราคาจากลานรับซื้อข้าวเปลือกและค่ารถเกี่ยวข้าวที่พุ่งสูง ขณะที่ชาวนามหาสารคาม ต่างเข้าคิวยาว เพื่อขายข้าว ที่ตลาดนัดข้าวเปลือก อย่างคึกคัก เนื่องจากให้ราคาสูงกว่าตลาดทั่วไป






ที่ตลาดนัดข้าวเปลือก สหกรณ์การเกษตรอำเภอเมืองจังหวัดมหาสาคาม นายโชคชัย เดชอมรธัญ ผู้ว่าราชการจังหวัดมหาสารคาม  พร้อมด้วยคณะอนุกรรมการติดตามการกำกับดูแลบริการจัดการข้าว ระดับจังหวัด ลงตรวจเยี่ยมพื้นที่จัดโครงการ “ตลาดนัดข้าวเปลือกจังหวัดมหาสารคาม” ภายในสหกรณ์การเกษตรเมืองมหาสารคาม จำกัด  เพื่อติดตามโครงการอย่างใกล้ชิด  หลังจากมีเกษตรกรจำนวนมาก  นำรถขนข้าวเปลือกมารอเข้าคิวชั่งน้ำหนักตลอดทั้งวัน ซึ่งถือเป็นทางเลือกในการขายข้าวของชาวนา นอกจากนี้เกษตรกรจะได้รับเงินสดทันที  โดยจังหวัดมหาสารคามมีการจัดตลาดนัดข้าวเปลือก ที่สหกรณ์การเกษตรทั้ง 9 แห่ง เวียนไปทุกอำเภอทั้ง 9 อำเภอ ในจังหวัดมหาสารคาม เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน ถึง วันที่ 5 ธันวาคม 2558

นายกำธร  โป๊ะลำพงษ์  สหกรณ์จังหวัดมหาสารคาม เปิดเผยว่า สหกรณ์ได้ร่วมกับกรมการค้าภายใน และจังหวัดมหาสารคาม โดยคณะอนุกรรมการติดตามการกำกับดูแลบริการจัดการข้าว ระดับจังหวัด และกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์   ได้กำหนดตลาดนัดข้าวเปลือก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงผลผลิตออกสู่ตลาดมาก ป้องกันปัญหาราคาข้าวตกต่ำ  โดยเกษตรกรที่นำข้าวมาขายในโครงการตลาดนัดข้าวเปลือกจะได้รับความเป็นธรรม สามารถต่อรองราคาได้  มั่นใจเรื่องเครื่องชั่งที่ตรง และสามารถรับเงินสดได้ทันที   ซึ่งรับซื้อข้าวเปลือก ในราคาสูงกว่าจุดรับซื้อทั่วไป ตันละ 100-500 บาท ขณะที่ ราคารับซื้อทั่วไป ข้าวเปลือกหอมมะลิ ความชื้น 26-30 เปอร์เซ็นต์ ราคา 8.50-9 บาทต่อกิโลกรัม  แต่ราคาในตลาดนัดข้าวเปลือกเริ่มต้นที่ 9-10 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ตลาดรับซื้อข้าวเปลือกของเกษตรกรมีการแข่งขัน  รวมทั้งช่วยพยุงราคารับซื้อข้าว/ จากตลาดนอกโครงการไม่ให้ตั้งราคาต่ำเกินไป  เกษตรกรมีทางเลือก มีอำนาจต่อรองมากขึ้น  ที่สำคัญจะส่งผลดีต่อเกษตรกร  เพราะได้เรียนรู้ระบบการซื้อขายแบบตลาดกลาง ถือเป็นแรงกระตุ้นให้เกษตรกรหันมาสนใจ พัฒนาปรับปรุงคุณภาพข้าวอย่างจริงจัง และให้เป็นไปตามต้องการของตลาด  

สำหรับยอดรวบรวมข้าวเปลือก ของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดมหาสารคาม ตั้งแต่วันที่ 1- 15 พฤศจิกายน ได้รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรแล้ว จำนวน 8,917 ตัน  มูลค่า 80.86 ล้านบาท และล่าสุด ในตลาดนัดข้าวเปลือก เฉพาะวันที่ 16 พฤศจิกายน  ได้รับซื้อข้าวเปลือกจากเกษตรกรรวม 487 ตัน มูลค่า 4,609,364 บาท


ส่วนเกษตรกรชาวนาในจังหวัดเชียงรายในหลายพื้นที่ กำลังได้รับความเดือดร้อนจากการขายข้าวนาปี ที่ถูกลานรับซื้อ กดราคาและบางแห่งปฎิเสธการรับซื้อ ขณะเดียวกันราคาค่ารถเกี่ยวข้าวที่ปรับราคาสูงขึ้น หลังข้าวนาปีกำลังสุกพร้อมเกี่ยวเป็นจำนวนมาก และทุกคนต่างเร่งเกี่ยวข้าวเนื่องจากเกรงว่าหากปล่อยให้ข้าวสุกงอมเกินไปจะทำให้เมล็ดข้าวร่วงเสียหาย  ซึ่งนายยัง มณีโชติ เกษตรกรในตำบลป่าตึง อำเภอแม่จัน กล่าวว่าตอนนี้ตนเองและเกษตรกรชาวนากำลังได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากข้าวที่สุกพร้อมกันมากๆ เกษตรกรจึงต้องเร่งเกี่ยวข้าว ทำให้เจ้าของรถรับจ้างเกี่ยวข้าวได้พากันขึ้นราคาจากเดิมไร่ละ 400-450 บาท ก็ปรับราคาขึ้นเป็นไร่ละ 600 - 700 บาท นอกจากนั้นหลังเก็บเกี่ยวแล้วขณะนำไปขายยังลานรับซื้อข้าวทั้งตามโรงสีและ ลานของสหกรณ์ที่เอกชนมาเปิดรับซื้อข้าว ยังถูกกดราคาโดยพบว่าวันนี้ราคาข้าวหอมมะลิ 105 ขายได้ในราคาตันละ 10,100 บาทเท่านั้น โดยทางผู้รับซื้ออ้างว่าข้าวเขียวและสดเกินไป ในขณะที่ชาวนาก็ต้องเร่งเกี่ยวเพราะหากทิ้งไว้นานเมล็ดข้าวจะร่วงและราคาค่ารถเกี่ยวก็จะปรับขึ้นราคาอีก ตนเองจึงอยากฝากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาดูแลปัญหาด้วย ทั้งค่ารับจ้างเกี่ยวข้าวและราคารับซื้อข้าวเปลือกและความเที่ยงตรงของตาชั่ง

วันจันทร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

'ลดาวัลลิ์' จี้ ปปช.ตั้งเรื่องฟ้องทุจริตอุทยานราชภักดิ์ได้แล้ว



นางลดาวัลลิ์ วงศ์ศรีวงศ์ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงแรงงาน กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่าอยากให้ทุกฝ่ายที่เคยบอกว่าเกลียดการทุจริตคอรับชั่นต้องต่อต้านให้ถึงที่สุด ไม่ว่าจะเป็น คสช.,รัฐบาล,สนช.,กปปส.,ปปช.,สตง.รวมถึงองค์กรต่อต้านคอรัปชั่นของนายประมนต์ สธีวงศ์ ฯลฯ รีบออกมาแสดงจุดยืนเดิม ไม่ควรจะเงียบโดยไม่ส่งเสียงใดๆเลยต่อกรณีการทุจริตอุทยานราชภักดิ์ ไม่เช่นนั้นสังคมอาจจะมองว่าที่ผ่านมาไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการที่จะแก้ไขปัญหาคอรัปชั่นจริงเป็นความต้องการที่จะใส่ร้ายตัวบุคคลมากกว่า

นางลดาวัลลิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีอุทยานราชภักดิ์มีหลักฐานมัดแน่นพร้อมคำสารภาพแล้ว ปปช.ต้องรีบตั้งเรื่องให้ดำเนินคดีได้แล้วแต่กลับชักช้ามัวรออะไรอยู่ ทีกรณีรับจำนำข้าวมีข้อมูลเพียงแค่ “สงสัยว่า”เท่านั้น ปปช.กลับรีบตั้งเรื่องเสนอรัฐบาลให้ฟ้องร้องดำเนินคดีต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังมีทีท่าว่าจะใช้อำนาจฝ่ายปกครองที่ขัดกฎหมาย สั่งให้ชดใช้ค่าเสียหายทั้งๆที่คดีก็ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เหมือนกับจะผลักให้นายกรัฐมนตรีทำการนอกเหนือกระบวนการยุติธรรม โดยไม่เป็นธรรมเสียเอง

วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ยุทธพงศ์ ท้า วิษณุ หากคิดว่ามีประโยชน์ใดเหนือเงิน 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพประชาชน ก็ใช้ ม.44 ล้มคดีฟิลลิป มอร์ลิสได้เลย






วันนี้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ของบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยเคยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 กรณีแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ลิ และเรื่องนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ถึง รัฐบาลประชาธิปัตย์ และสุดท้ายอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีการพิจารณาของรายลเอียดอย่างรอบคอบแล้ว และประเด็นต่างๆที่บริษัทฟิลลิป มอรลิสร้องขอความเป็นธรรมเรื่องภาษีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกมาเพื่อไม่ให้สั่งฟ้องในคดีนี้ ซึ่งคดีนี้ได้มีการตรวจสอบครบถ้วนแล้ว ใช้เวลาถึง 4 ปีเต็มในการพิจารณาจึงสั่งฟ้อง ไม่ใช่เรื่องใหม่

ซึ่งในวันนี้มี 3 ประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ
ประเด็นแรก มีการก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดีไปแล้วเมื่อ 3 ตุลาคม 2556 และก่อนที่อัยการสูงสุดจะฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ได้ขอทบทวนและความเป็นธรรมไปแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทำผิดกฎหมายไทย รวมทั้งพิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงสั่งฟ้อง และไม่ได้เกี่ยวกับที่ ฟิลิปปินส์ฟ้องไทยต่อ WTO เลยและจากการที่ตนเป็นคนตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ มีนาคม 2554 จึงขอขอตั้งขอสังเกตว่า การทำหน้าที่ของอัยการมีอุปสรรค มีปัญหา ขาดอิสระในการทำหน้าที่   และปรากฎว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายวิษณุ ได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องประชุม โดยอ้างว่าบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ร้องให้ตรวจสอบการฟ้องคดี ซึ่งตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุดยืนยันว่า มีหลักฐานพยานหนักแน่นเพียงพอที่จะฟ้องคดีได้ ซึ่งภายหลังมีมติที่ประชุมหรือข้อสั่งการ ออกมาดังนี้

1.ให้ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมบัญชีกลาง หารือข้อสรุป การแก้ปัญหาการขอคืนเงินประกันของบริษัทฯให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

2.ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจสอบใบส่งสินค้าจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ว่าเกี่ยวข้องกับที่ฟ้องร้องกับ WTO หรือไม่

ซึ่งจากข้อสั่งการดังกล่าว ตอนขอตั้งขอสังเกตว่า เสมือนเป็นการให้สอบสวนใหม่ ซึ่งนายวิษณุมีอำนาจอะไรที่สั่งให้สอบสวนใหม่ ทั้งที่ อัยดารสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว และ

3. ตามที่ดีเอสไอ หารือถึงเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินคดี และส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องคดีนั้น กรณีนี้สำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะมีหนังสือแจ้งให้อัยการสูงสุดทราบถึงเหตุผล และข้อมูลเพิ่มเติม

ซึ่งตนขอถามว่า นายวิษณุใช้อำนาจบริหารไปก้าวล่วงกระบวนกายุติธรรมได้อย่างไร และการที่ส่งหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง อัยการสูงสุดมีเหตุผลอะไร และต้องการอะไร

ประเด็นที่สอง มีการทำประเทศเสียประโยชน์จากภาษีที่หายไป ซึ่งหากไม่มีการดำเนินคดีดังกล่าวจะทำให้ประเทศสูญเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านบาทในทันที และเรื่องนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส สำแดงเอกสารปลอมในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่เกี่ยวกับการฟ้องของ WTO เลย นอกจากนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส เป็น บริษัทสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนในรัฐเดอลาแวร์ โดยบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส อินเตอร์เนชั่แนล ไฟแนนซ์ ไม่ได้เกี่ยวกับฟิลิปปินส์ และการฟ้องร้องไทยของ ฟิลิปปินส์ต่อ WTO แต่อย่างใด จะได้หยุดพูดเสียที เรื่องฟิลิปปินส์ฟ้องไทย

และประเด็นที่สาม บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน และเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการฟื้นฟู รักษา

ตนทราบมาตลอดว่า รัฐบาลนี้มีความจริงจังในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีได้พูดมาตลอด แต่บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้องแล้ว ทำไมนายวิษณุถึงเข้ามาก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม

และ ผมขอท้านายวิษณุ หากนายวิษณุเห็นว่ามีประโยชน์อื่นใดเหนือภาษี 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพคนไทย ให้วิษณุเสนอนายกฯใช้ม.44 เพื่อให้เรื่องนี้จะได้จบไป ซึ่งส่วนตัวแล้วผมก็ไม่ได้นิยมชมชอบกับ ม.44 เท่าใดนัก และขอเรียกร้องให้นายวิษณุหยุดทำหน้าที่ช่วย บริษัทฟิลลิป มอร์ลิสได้แล้ว
ยุทธพงศ์ ท้า วิษณุ หากคิดว่ามีประโยชน์ใดเหนือเงิน 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพประชาชน ก็ใช้ ม.44  ล้มคดีฟิลลิป มอร์ลิสได้เลย

วันนี้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ของบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยเคยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 กรณีแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ลิ และเรื่องนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ถึง รัฐบาลประชาธิปัตย์ และสุดท้ายอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีการพิจารณาของรายลเอียดอย่างรอบคอบแล้ว และประเด็นต่างๆที่บริษัทฟิลลิป มอรลิสร้องขอความเป็นธรรมเรื่องภาษีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกมาเพื่อไม่ให้สั่งฟ้องในคดีนี้ ซึ่งคดีนี้ได้มีการตรวจสอบครบถ้วนแล้ว ใช้เวลาถึง 4 ปีเต็มในการพิจารณาจึงสั่งฟ้อง ไม่ใช่เรื่องใหม่

ซึ่งในวันนี้มี 3 ประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ
ประเด็นแรก มีการก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดีไปแล้วเมื่อ 3 ตุลาคม 2556 และก่อนที่อัยการสูงสุดจะฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ได้ขอทบทวนและความเป็นธรรมไปแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทำผิดกฎหมายไทย รวมทั้งพิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงสั่งฟ้อง และไม่ได้เกี่ยวกับที่ ฟิลิปปินส์ฟ้องไทยต่อ WTO เลยและจากการที่ตนเป็นคนตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ มีนาคม 2554 จึงขอขอตั้งขอสังเกตว่า การทำหน้าที่ของอัยการมีอุปสรรค มีปัญหา ขาดอิสระในการทำหน้าที่   และปรากฎว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายวิษณุ ได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องประชุม โดยอ้างว่าบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ร้องให้ตรวจสอบการฟ้องคดี ซึ่งตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุดยืนยันว่า มีหลักฐานพยานหนักแน่นเพียงพอที่จะฟ้องคดีได้ ซึ่งภายหลังมีมติที่ประชุมหรือข้อสั่งการ ออกมาดังนี้

1.ให้ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมบัญชีกลาง หารือข้อสรุป การแก้ปัญหาการขอคืนเงินประกันของบริษัทฯให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์

2.ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจสอบใบส่งสินค้าจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ว่าเกี่ยวข้องกับที่ฟ้องร้องกับ WTO หรือไม่

ซึ่งจากข้อสั่งการดังกล่าว ตอนขอตั้งขอสังเกตว่า เสมือนเป็นการให้สอบสวนใหม่ ซึ่งนายวิษณุมีอำนาจอะไรที่สั่งให้สอบสวนใหม่ ทั้งที่ อัยดารสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว และ

3. ตามที่ดีเอสไอ หารือถึงเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินคดี และส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องคดีนั้น กรณีนี้สำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะมีหนังสือแจ้งให้อัยการสูงสุดทราบถึงเหตุผล และข้อมูลเพิ่มเติม

ซึ่งตนขอถามว่า นายวิษณุใช้อำนาจบริหารไปก้าวล่วงกระบวนกายุติธรรมได้อย่างไร และการที่ส่งหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง อัยการสูงสุดมีเหตุผลอะไร และต้องการอะไร

ประเด็นที่สอง มีการทำประเทศเสียประโยชน์จากภาษีที่หายไป ซึ่งหากไม่มีการดำเนินคดีดังกล่าวจะทำให้ประเทศสูญเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านบาทในทันที และเรื่องนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส สำแดงเอกสารปลอมในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่เกี่ยวกับการฟ้องของ WTO เลย นอกจากนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส เป็น บริษัทสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนในรัฐเดอลาแวร์ โดยบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส อินเตอร์เนชั่แนล ไฟแนนซ์ ไม่ได้เกี่ยวกับฟิลิปปินส์ และการฟ้องร้องไทยของ ฟิลิปปินส์ต่อ WTO แต่อย่างใด จะได้หยุดพูดเสียที เรื่องฟิลิปปินส์ฟ้องไทย

และประเด็นที่สาม บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน และเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการฟื้นฟู รักษา

ตนทราบมาตลอดว่า รัฐบาลนี้มีความจริงจังในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีได้พูดมาตลอด แต่บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้องแล้ว ทำไมนายวิษณุถึงเข้ามาก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม

และ ผมขอท้านายวิษณุ หากนายวิษณุเห็นว่ามีประโยชน์อื่นใดเหนือภาษี 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพคนไทย ให้วิษณุเสนอนายกฯใช้ม.44 เพื่อให้เรื่องนี้จะได้จบไป ซึ่งส่วนตัวแล้วผมก็ไม่ได้นิยมชมชอบกับ ม.44 เท่าใดนัก และขอเรียกร้องให้นายวิษณุหยุดทำหน้าที่ช่วย บริษัทฟิลลิป มอร์ลิสได้แล้ว

"ภูมิธรรม"เรียกร้องหัวหน้า คสช.สร้างความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี ของอดีตนายกยิ่งลักษณ์ เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ไม่ถูกครหา

 นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการ เลขาธิการพรรคเพื่อไทย แถลงการณ์ เรียกร้องพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช. ช่วยสร้างความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ในคดีจำนำข้าว ที่นายภูมิธรรมระบุว่า มีความประหลาดใจอยู่หลายประเด็น โดยแถลงการณ์ของนายภูมิธรรม ระบุว่า ...

ภูมิธรรม.....เรียกร้องนายกประยุทธ
ช่วยสร้างความเป็นธรรมในการต่อสู้คดี ของอดีตนายกยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เพื่อให้กระบวนการยุติธรรมของประเทศ ไม่ถูกครหาและเป็นที่ยอมรับของโลกมากขึ้น

      .....ผมพยายามทำความเข้าใจ การดำเนินคดี"จำนำข้าว" กับนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
ด้วยความประหลาดใจในหลายประเด็น...ทำไมท่านนายกยื่งลักษณ์ ชินวัตร จึงมักต้องเผชิญกับการสร้างนวัตตกรรมใหม่ๆ
ในการถูกดำเนินคดีความอยู่เสมอ
ผมไม่เข้าใจหลายเรื่อง อาทิเช่น
     1) ทำไม. น้ำแล้งจึงไปโทษ"จำนำข้าว" ทั้งๆที่มีจำเลย คือสภาพการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติให้โทษอย่างสมเหตุ สมผลมากกว่า
      2)ทำไม.  การทำให้ชาวนาได้ประโยชน์ มีเศรษฐกิจในชีวิตดีขึ้น สามารถเพิ่มกำลังซื้อของตนเอง ทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นส่งผลให้
เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศดีขึ้นด้วย..จึงกลายเป็นความผิด ต้องแบกรับไปตลอดระหว่างการพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของตัวท่าน
       3)ทำไม.  เรื่องข้าวเน่าที่ปล่าวประกาศกันอย่างไม่หยุดยั้ง. รัฐบาลทำไม ไม่ไปดำเนินการเรียกร้องความเสียหายจากโรงสีที่รับผิดชอบทั้งๆที่มีสัญญาที่รัฐได้ทำกำกับไว้แล้วกับทุกโรงสี. และที่สำคัญ ปัญหาที่ข้าวเน่า อาจเกิดจากการไม่ได้ทำหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ของกลไกรัฐในหน่วยราชการเสียเองก็อาจเป็นได้ ทำไมนายกยิ่งลักษณ์กลับกลายมาเป็นจำเลยต่อเนื่องไปอีก ...พยายามคิดก็ยังไม่เข้าใจ
         4)ทำไม.  การให้ร้าย โจมตีการจำนำข้าว. โดยไม่ตรงกับความเป็นจริง. ก็ยังมีการเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง. ทั้งๆที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าความเสียหายที่เชื่อว่าเกิดขึ้นนั้นไม่ได้ เป็นจริงตามที่มีการกล่าวหากัน...ไม่ว่าจะมีคำถามว่าเกิดขึ้นจริงแค่ไหน  เสียหายอย่างไรกันแน่
           มีแต่การโจมตีอย่างเลื่อนลอยว่า"จำนำข้าว" ทำร้ายประเทศและทำให้ประเทศเสียหาย. ทั้งๆที่ก็มีการทำเช่นลักษณะเดียวกันนับแต่ในอดีต
มานานแล้ว. และที่สำคัญทุกประเทศในโลก ล้วนมีความเช้าใจว่า โดยหลักปรัชญาแล้ว "โครงการจำนำข้าว". เป็นหนึ่งในโครงการที่ เป็นพันธะของรัฐที่ต้องปฏิบัติ ตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้

และที่สำคัญ เป็นหน้าที่ ที่รัฐ ต้องดูแลประชาชนในประเทศของเขา เหมือนการดูแลราคายาง ราคาพืชผลการเกษตรต่างๆ
        เหล่านี้เป็นเพียงตัวอย่างของการคิดและหลักเหตุผลที่. รู้สึกว่าผลดีที่เกิดขึ้นจากโครงการมากมาย แต่ทำไมผู้ที่ซื่อสัตย์ต่อคำมั่นที่มีต่อสัญญาประชาคมกับประชาชน. พยายามผลักดันให้ประชาชนได้ประโยชน์สูงสุด..จึงกลับกลายตกเป็น"จำเลย" ไปได้. ยิ่งคิดก็ยิ่งไม่เข้าใจ
         ต้องยอมรับกันว่า...ผลดีที่เกิดจากโครงการลักษณะแบบ"โครงการจำนำข้าว". ได้ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชาวนาและเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ. และเงินทุกบาททุกจำนวนที่ออกจากรัฐ ไม่มีการรั่วไหล. เพราะส่งตรงออกจากบัญชีของรัฐ ไปถึงมือชองชาวนาทุกครัวเรือนอย่างไม่มีหลุดหาย
         ถ้าตั้งใจจะช่วยกันคลี่คลายปัญหาความขัดแย้งในประเทศกันอย่างจริงจัง. ต้องช่วยกันอำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในเบื้องต้น
...ผมจึงขอเสนอความคิดเห็นต่อท่านนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ท่านโปรดพิจารณาไตร่ตรอง. อำนวยความยุติธรรมให้เกิดขึ้นกับท่านอดีตนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร. ซึ่งผมเชื่อว่า ท่านคงได้เห็นถึงความตั้งใจจริงและความพยายามทำงานแก้ไขปัญหาให้ชาติบ้านเมืองของท่านยิ่งลักษณ์มาแล้ว. ตั้งแต่เมื่อสมัยที่ท่านเคยทำงานร่วมกันมาในสมันรัฐบาลที่แล้ว

      ผมเห็นว่าสิ่งที่ท่านยิ่งลักษณ์ เรียกร้องมาโดยตลอด ไม่ได้ต้องการอภิสิทธิ์ใดๆ. ต้องการเพียงการอำนวยความยุติธรรม ตามกระบวนการ
เฉกเช่นทุกคนในสังคมไทยพึงจะได้รับ
       ขณะนี้คดีของท่านกำลังอยู่ในกระบวนการพิจารณาคดีของศาลยุติธรรม และคดียังเพิ่งเร่มต้น ในขณะที่อายุความเสียหายทางแพ่งที่จะเกิดขึ้ย
ยังมีอายุความตามคดีอาญาอีกนานถึง 15 ปี ผมจึงไม่เห็นความจำเป็นใด ที่ต้องเร่งรีบรวบรัดคดี ให้เป็นที่ครหาของสาธารณะชน
เพียงต่อขอโอกาสในการได้ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ โดยเป็นไปตามกระบวนการที่ปกติ ตามหลักนิติธรรมสากลที่. ประเทศต่างๆทั่วโลกยอมรับ
         การต่อสู้ทางคดีที่เกิดขึ้นควรให้เกิดความแจ้งชัดว่าท่านอดีตนายกได้รับการอำนวยความยุติธรรมอย่างเต็มที่. และได้ถูกดำเนินการตามกระบวนการกฏหมายปกติอย่างที่ท่านประกาศไว้ โดยไม่มีการนำอำนาจพิเศษใดๆเข้ามาเกี่ยวข้อง   ซึ่งผมเชื่อว่าสิ่งที่ผมเสนอด้วยความรู้สึกอยากเห็นกระบวนการต่างๆเดินไปตามครรลอง สิ่งที่ผมนำเสนอด้วยความบริสุทธิ์ใจผมเชื่อว่า ท่านรองนายกด้านกฏหมายและสำนักงานกฤษฎีกาซึ่งเป็นที่ปรึกษาของรัฐบาล น่าจะได้มีส่วนช่วยท่านนายก ได้ทบทวนและพิจารณาอย่างรอบครอบ
          ผมเชื่อว่าการตัดสินใจตามข้อเสนอและคำร้องขอนี้. จะยิ่งทำให้เกียรติภูมิของท่านนายกและการแก้ไขปัญหาที่สั่งสมมาในประเทศ คลี่คลายลงได้ตามลำดับซึ่งจะยิ่งเป็นผลดีกับทุกฝ่ายและแก่ประเทศโดยรวม
           ภูมิธรรม เวชยชัย

รักษาการเลขาธิการ .  พรรคเพื่อไทย

       8. พฤศจิกายน  2558

วันศุกร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558

ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารรถเมล์ต่ำกว่ารถทัวร์ระหว่างจังหวัด ชี้ยังต้องปรับเรื่องความเร็วและมารยาท

ทีดีอาร์ไอเผย ผลสำรวจความพึงพอใจของผู้โดยสารรถสาธารณะต่อคุณภาพการบริการและความปลอดภัยรถเมล์ต่ำกว่ารถทัวร์ระหว่างจังหวัด ชี้ยังต้องปรับเรื่องความเร็วและมารยาทการบริการ อีกทั้งรถมีสภาพทรุดโทรม ซ้ำยังขาดอุปกรณ์นิรภัย แนะทางแก้ปัญหาเร่งด่วน ตั้งระบบประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่องเพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐานความปลอดภัยรถเมล์ไทย

 ผลสำรวจงานวิจัย “การประเมินคุณภาพการให้บริการและความปลอดภัยของระบบรถโดยสารสาธารณะ” โดยทีดีอาร์ไอพบผู้ใช้บริการรถเมล์ของรถเอกชนร่วมบริการและองค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงปี 2557-2558 มีจำนวนมากกว่า 3 แสนคนต่อวัน โดยตัวเลขจาการสำรวจชี้ว่า ผู้โดยสารมากกว่าครึ่งหนึ่งเลือกใช้บริการเพราะราคาถูกและได้รับความสะดวกเป็นหลัก แต่ให้ความสนใจด้านความปลอดภัยน้อย เพราะผู้โดยสารยังต้องเผชิญกับการขับขี่ด้วยความเร็วที่รู้สึกว่าอันตราย มารยาทการให้บริการและปัญหาทางกายภาพของสภาพรถ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความพึงพอใจแล้ว ยังส่งผลให้ผู้โดยสารมีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สิน
              ด้านผลสำรวจความเร็วในการขับขี่ ผู้โดยสารร้อยละ 28 เห็นว่าความเร็วในการขับขี่ไม่เหมาะสม และร้อยละ 15 ให้คะแนนความพอใจต่อความนุ่มนวลในการขับขี่ต่ำ ทั้งยังมองว่ารถเมล์ยังต้องปรับปรุงเรื่องมารยาทการให้บริการ เนื่องจากมีผู้โดยสารร้อยละ 7 ไม่พอใจต่อบริการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ร้อยละ 57 ให้ความพอใจ แต่อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น แตกต่างจากความพึงพอใจที่มีต่อบริการของรถทัวร์ระหว่างจังหวัด ที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ให้ความพอใจในระดับที่ดีกว่ารถเมล์และรถสาธารณะประเภทอื่นๆ สาเหตุเพราะพนักงานขับรถและพนักงานที่ให้บริการได้รับการฝึกอบรมให้มีคุณภาพในการบริการและใช้ความเร็วที่ปลอดภัยในการขับขี่
              ผลสำรวจนี้สอดคล้องกับ ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้โดยสารรถสาธารณะ ของกรมการขนส่งทางบก ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับพฤติกรรมผู้ขับขี่รถเมล์ในปี 2557 ด้วยปัญหารถเมล์ไม่หยุดรับ-ส่งผู้โดยสารที่ป้าย ขับรถประมาท น่าหวาดเสียว และผู้ประจำรถแสดงกิริยาวาจาไม่สุภาพ จำนวนมากถึง 1,703 เรื่อง
              ด้านผลการสำรวจสภาพรถ ผู้ใช้บริการร้อยละ 8 ไม่พอใจในสภาพภายนอกตัวรถ เช่น ความเสื่อมโทรมและอายุการใช้งาน ขณะที่ร้อยละ 11 ไม่พอใจในสภาพภายในของรถ เช่น เบาะ ที่นั่ง กระจก ความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และความสะอาดภายในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นความไม่พอใจที่มีมากกว่ารถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น อีกทั้งผู้ใช้บริการยังไม่พบเห็นอุปกรณ์ความปลอดภัยบนรถ อาทิ ถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก และประตูฉุกเฉิน ซึ่งต่างจากกรณีของรถทัวร์ระหว่างจังหวัดที่ผู้โดยสารสามารถพบได้มากกว่า ทั้งนี้ ผลจากสภาพตัวรถที่ค่อนข้างเก่าและไม่มีอุปกรณ์รักษาความปลอดภัยถือเป็นอุปสรรคในการทำงานของพนักงาน ขณะเดียวกันได้ส่งผลโดยตรงต่อความไม่ปลอดภัยที่จะเกิดกับผู้โดยสาร
              ดังที่ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ จากทีดีอาร์ไอ หัวหน้าโครงการวิจัย เห็นว่า“หลายครั้งที่ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสูญเปล่า ผลการศึกษาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการประเมินในภาพรวม ครั้งเดียวจบ ไม่สามารถระบุชี้ชัดได้ว่าพอใจหรือไม่พอใจในผู้ประกอบการรายใด อีกทั้งการแก้ปัญหาเรื่องรถเมล์ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด เช่น ในกรณีของการปรับปรุงรถมินิบัส โดยเปลี่ยนรถเมล์สีเขียวเป็นสีส้ม เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวรถจากเก่าเป็นใหม่ แต่ผู้ประกอบการ คนขับยังคงเป็นมีลักษณะการประกอบการและพฤติกรรมการให้บริการแบบเดิม”
              ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนอย่างรถเมล์ควรพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการขับขี่ให้สูงกว่าหรือเทียบเท่ากับรถทัวร์ระหว่างจังหวัด ซึ่งต้องอาศัยหลายหน่วยงานทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อช่วยยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพการให้บริการให้ดีขึ้น ดังเช่นกรณีตัวอย่างของต่างประเทศที่มีการพัฒนาคุณภาพการบริการ และควบคุมพฤติกรรมผู้ขับขี่อย่างเป็นระบบด้วยการยึดโยงการต่อใบอนุญาต การให้สัมปทานควบคู่กับการประเมินมาตรฐานความปลอดภัย ทำให้ผู้ขับขี่เคารพกฎระเบียบเพื่อความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด
              ดร. สุเมธ องกิตติกุล เสนอแนวทางการพัฒนารถโดยสารสาธารณะว่า “ที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ในลักษณะคอยตามแก้ปัญหามากกว่าดำเนินการเพื่อป้องกัน ต้องยอมรับว่าการตามแก้ปัญหาทำได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยระยะเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ควรดำเนินการทันที คือตั้งระบบการประเมินคุณภาพอย่างต่อเนื่อง ควบคู่กับการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ โดยต้องติดตามนโยบาย มาตรการต่างๆ รวมถึงกำหนดบทลงโทษให้มีผลย้อนหลังหากไม่ปฏิบัติตาม เช่น รถเมล์ตรงจอดตรงป้าย ปิดประตูทุกครั้งที่รถออก ในอดีตไม่มีการสอดส่องติดตามทำให้ไม่รู้ว่าผลเป็นอย่างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงเริ่มตรวจตราอย่างเข้มงวด สุดท้ายความปลอดภัยของผู้ใช้บริการจึงไม่เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ระบบประเมินจึงเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สามารถทำได้ทันที เพื่อจับตาดูผู้ประกอบการไม่ให้ทำผิดระเบียบ และนำไปสู่การปรับปรุงคุณภาพการบริการในอนาคต”
           นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการพัฒนาระบบรถเมล์คือ ประชาชนต้องได้รับประโยชน์อย่างแท้จริง โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ประกอบการที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้ใช้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะเดียวกันรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องจริงใจในการแก้ปัญหา ใช้อำนาจที่มีในการตรวจสอบติดตามผล เมื่อรถโดยสารสาธารณะเป็นพาหนะที่ปลอดภัย ทุกฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์ร่วมกัน (win-win) กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีรายได้ ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย ซึ่งส่งผลไปถึงการลดจำนวนอุบัติเหตุและการสูญเสียชีวิตบนท้องถนนได้อีกด้วย