วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
ยุทธพงศ์ ท้า วิษณุ หากคิดว่ามีประโยชน์ใดเหนือเงิน 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพประชาชน ก็ใช้ ม.44 ล้มคดีฟิลลิป มอร์ลิสได้เลย
วันนี้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ของบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยเคยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 กรณีแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ลิ และเรื่องนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ถึง รัฐบาลประชาธิปัตย์ และสุดท้ายอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีการพิจารณาของรายลเอียดอย่างรอบคอบแล้ว และประเด็นต่างๆที่บริษัทฟิลลิป มอรลิสร้องขอความเป็นธรรมเรื่องภาษีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกมาเพื่อไม่ให้สั่งฟ้องในคดีนี้ ซึ่งคดีนี้ได้มีการตรวจสอบครบถ้วนแล้ว ใช้เวลาถึง 4 ปีเต็มในการพิจารณาจึงสั่งฟ้อง ไม่ใช่เรื่องใหม่
ซึ่งในวันนี้มี 3 ประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ
ประเด็นแรก มีการก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดีไปแล้วเมื่อ 3 ตุลาคม 2556 และก่อนที่อัยการสูงสุดจะฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ได้ขอทบทวนและความเป็นธรรมไปแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทำผิดกฎหมายไทย รวมทั้งพิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงสั่งฟ้อง และไม่ได้เกี่ยวกับที่ ฟิลิปปินส์ฟ้องไทยต่อ WTO เลยและจากการที่ตนเป็นคนตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ มีนาคม 2554 จึงขอขอตั้งขอสังเกตว่า การทำหน้าที่ของอัยการมีอุปสรรค มีปัญหา ขาดอิสระในการทำหน้าที่ และปรากฎว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายวิษณุ ได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องประชุม โดยอ้างว่าบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ร้องให้ตรวจสอบการฟ้องคดี ซึ่งตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุดยืนยันว่า มีหลักฐานพยานหนักแน่นเพียงพอที่จะฟ้องคดีได้ ซึ่งภายหลังมีมติที่ประชุมหรือข้อสั่งการ ออกมาดังนี้
1.ให้ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมบัญชีกลาง หารือข้อสรุป การแก้ปัญหาการขอคืนเงินประกันของบริษัทฯให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
2.ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจสอบใบส่งสินค้าจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ว่าเกี่ยวข้องกับที่ฟ้องร้องกับ WTO หรือไม่
ซึ่งจากข้อสั่งการดังกล่าว ตอนขอตั้งขอสังเกตว่า เสมือนเป็นการให้สอบสวนใหม่ ซึ่งนายวิษณุมีอำนาจอะไรที่สั่งให้สอบสวนใหม่ ทั้งที่ อัยดารสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว และ
3. ตามที่ดีเอสไอ หารือถึงเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินคดี และส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องคดีนั้น กรณีนี้สำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะมีหนังสือแจ้งให้อัยการสูงสุดทราบถึงเหตุผล และข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งตนขอถามว่า นายวิษณุใช้อำนาจบริหารไปก้าวล่วงกระบวนกายุติธรรมได้อย่างไร และการที่ส่งหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง อัยการสูงสุดมีเหตุผลอะไร และต้องการอะไร
ประเด็นที่สอง มีการทำประเทศเสียประโยชน์จากภาษีที่หายไป ซึ่งหากไม่มีการดำเนินคดีดังกล่าวจะทำให้ประเทศสูญเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านบาทในทันที และเรื่องนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส สำแดงเอกสารปลอมในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่เกี่ยวกับการฟ้องของ WTO เลย นอกจากนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส เป็น บริษัทสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนในรัฐเดอลาแวร์ โดยบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส อินเตอร์เนชั่แนล ไฟแนนซ์ ไม่ได้เกี่ยวกับฟิลิปปินส์ และการฟ้องร้องไทยของ ฟิลิปปินส์ต่อ WTO แต่อย่างใด จะได้หยุดพูดเสียที เรื่องฟิลิปปินส์ฟ้องไทย
และประเด็นที่สาม บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน และเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการฟื้นฟู รักษา
ตนทราบมาตลอดว่า รัฐบาลนี้มีความจริงจังในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีได้พูดมาตลอด แต่บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้องแล้ว ทำไมนายวิษณุถึงเข้ามาก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม
และ ผมขอท้านายวิษณุ หากนายวิษณุเห็นว่ามีประโยชน์อื่นใดเหนือภาษี 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพคนไทย ให้วิษณุเสนอนายกฯใช้ม.44 เพื่อให้เรื่องนี้จะได้จบไป ซึ่งส่วนตัวแล้วผมก็ไม่ได้นิยมชมชอบกับ ม.44 เท่าใดนัก และขอเรียกร้องให้นายวิษณุหยุดทำหน้าที่ช่วย บริษัทฟิลลิป มอร์ลิสได้แล้ว
ยุทธพงศ์ ท้า วิษณุ หากคิดว่ามีประโยชน์ใดเหนือเงิน 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพประชาชน ก็ใช้ ม.44 ล้มคดีฟิลลิป มอร์ลิสได้เลย
วันนี้ นายยุทธพงศ์ จรัสเสถียร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และรักษาการรองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงข่าวกรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ของบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส จำนวน 6.8 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ในเรื่องนี้เพื่อไทยเคยยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อปี 2554 กรณีแทรกแทรงกระบวนการยุติธรรมในการดำเนินคดีกับบริษัท ฟิลลิป มอร์ลิ และเรื่องนี้ผ่านมาหลายรัฐบาลแล้ว ตั้งแต่สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุฬานนท์ ถึง รัฐบาลประชาธิปัตย์ และสุดท้ายอัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องสมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เห็นว่ามีการพิจารณาของรายลเอียดอย่างรอบคอบแล้ว และประเด็นต่างๆที่บริษัทฟิลลิป มอรลิสร้องขอความเป็นธรรมเรื่องภาษีต่อองค์การการค้าโลก (WTO) ที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ยกมาเพื่อไม่ให้สั่งฟ้องในคดีนี้ ซึ่งคดีนี้ได้มีการตรวจสอบครบถ้วนแล้ว ใช้เวลาถึง 4 ปีเต็มในการพิจารณาจึงสั่งฟ้อง ไม่ใช่เรื่องใหม่
ซึ่งในวันนี้มี 3 ประเด็นที่จะกล่าวถึง คือ
ประเด็นแรก มีการก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการหลีกเลี่ยงภาษีบุหรี่ อัยการสูงสุดมีความเห็นสั่งฟ้องคดีไปแล้วเมื่อ 3 ตุลาคม 2556 และก่อนที่อัยการสูงสุดจะฟ้อง บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ได้ขอทบทวนและความเป็นธรรมไปแล้ว ซึ่งอัยการสูงสุดได้พิจารณาแล้ว เห็นว่าเป็นการทำผิดกฎหมายไทย รวมทั้งพิจารณาจากกฎหมายที่เกี่ยวข้องแล้ว จึงสั่งฟ้อง และไม่ได้เกี่ยวกับที่ ฟิลิปปินส์ฟ้องไทยต่อ WTO เลยและจากการที่ตนเป็นคนตรวจสอบเรื่องนี้ตั้งแต่ มีนาคม 2554 จึงขอขอตั้งขอสังเกตว่า การทำหน้าที่ของอัยการมีอุปสรรค มีปัญหา ขาดอิสระในการทำหน้าที่ และปรากฎว่า เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2558 นายวิษณุ ได้เรียกหน่วยงานเกี่ยวข้องประชุม โดยอ้างว่าบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ร้องให้ตรวจสอบการฟ้องคดี ซึ่งตัวแทนสำนักงานอัยการสูงสุดยืนยันว่า มีหลักฐานพยานหนักแน่นเพียงพอที่จะฟ้องคดีได้ ซึ่งภายหลังมีมติที่ประชุมหรือข้อสั่งการ ออกมาดังนี้
1.ให้ กรมศุลกากร กรมสรรพสามิตร กรมบัญชีกลาง หารือข้อสรุป การแก้ปัญหาการขอคืนเงินประกันของบริษัทฯให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์
2.ให้กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ ตรวจสอบใบส่งสินค้าจากฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย ว่าเกี่ยวข้องกับที่ฟ้องร้องกับ WTO หรือไม่
ซึ่งจากข้อสั่งการดังกล่าว ตอนขอตั้งขอสังเกตว่า เสมือนเป็นการให้สอบสวนใหม่ ซึ่งนายวิษณุมีอำนาจอะไรที่สั่งให้สอบสวนใหม่ ทั้งที่ อัยดารสูงสุดสั่งฟ้องไปแล้ว และ
3. ตามที่ดีเอสไอ หารือถึงเหตุจำเป็นที่ต้องดำเนินคดี และส่งตัวผู้ต้องหาฟ้องคดีนั้น กรณีนี้สำนักนายกรัฐมนตรี โดย นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี จะมีหนังสือแจ้งให้อัยการสูงสุดทราบถึงเหตุผล และข้อมูลเพิ่มเติม
ซึ่งตนขอถามว่า นายวิษณุใช้อำนาจบริหารไปก้าวล่วงกระบวนกายุติธรรมได้อย่างไร และการที่ส่งหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรี ถึง อัยการสูงสุดมีเหตุผลอะไร และต้องการอะไร
ประเด็นที่สอง มีการทำประเทศเสียประโยชน์จากภาษีที่หายไป ซึ่งหากไม่มีการดำเนินคดีดังกล่าวจะทำให้ประเทศสูญเงินกว่า 6.8 หมื่นล้านบาทในทันที และเรื่องนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส สำแดงเอกสารปลอมในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งไม่เกี่ยวกับการฟ้องของ WTO เลย นอกจากนี้ บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส เป็น บริษัทสัญชาติอเมริกัน จดทะเบียนในรัฐเดอลาแวร์ โดยบริษัทฟิลลิป มอร์ลิส อินเตอร์เนชั่แนล ไฟแนนซ์ ไม่ได้เกี่ยวกับฟิลิปปินส์ และการฟ้องร้องไทยของ ฟิลิปปินส์ต่อ WTO แต่อย่างใด จะได้หยุดพูดเสียที เรื่องฟิลิปปินส์ฟ้องไทย
และประเด็นที่สาม บุหรี่เป็นอันตรายต่อสุขภาพประชาชน และเป็นเหตุให้รัฐบาลต้องใช้เงินจำนวนมากในการฟื้นฟู รักษา
ตนทราบมาตลอดว่า รัฐบาลนี้มีความจริงจังในการดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดกฎหมาย ตามที่นายกรัฐมนตรีได้พูดมาตลอด แต่บริษัทฟิลลิป มอร์ลิส ที่อัยการสูงสุดสั่งฟ้องแล้ว ทำไมนายวิษณุถึงเข้ามาก้าวล่วงกระบวนการยุติธรรม
และ ผมขอท้านายวิษณุ หากนายวิษณุเห็นว่ามีประโยชน์อื่นใดเหนือภาษี 6.8 หมื่นล้าน และสุขภาพคนไทย ให้วิษณุเสนอนายกฯใช้ม.44 เพื่อให้เรื่องนี้จะได้จบไป ซึ่งส่วนตัวแล้วผมก็ไม่ได้นิยมชมชอบกับ ม.44 เท่าใดนัก และขอเรียกร้องให้นายวิษณุหยุดทำหน้าที่ช่วย บริษัทฟิลลิป มอร์ลิสได้แล้ว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น
(
Atom
)
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น