"จำนำข้าว"ทำตามนโยบาย อำนาจครม.บริหารตามรัฐธรรมนูญ ไม่เข้าข่ายเป็น"เจ้าหน้าที่รัฐ" คำวินิจฉัยศาลปกครองสูงสุด 178/2550 ระบุไว้ชัด
******************************
นางสดศรี สัตยธรรม อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา และอดีต กกต.ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ในช่วงข่าวค่ำ NEWSROOM 18.30 น. ทางช่อง TV24 สถานีประชาชน เมื่อวันที่ 19 พ.ย.2558 โดยระบุว่า
นักกฎหมายน่าจะย้อนกลับไปดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่เคยวินิจฉัยไว้ ศาลปกครองสูงสุดได้วางหลักเกณฑ์เกี่ยวกับเขตอำนาจของศาลปกครองในการตรวจสอบการใช้อำนาจของคณะรัฐมนตรี โดยใช้แหล่งที่มาของอำนาจคณะรัฐมนตรีเป็นเกณฑ์ ถ้าคณะรัฐมนตรีใช้อำนวจกระทำการต่างๆโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีผลบังคับ อย่างเช่นพระราชบัญญัติ ก็ถือได้ว่าคณะรัฐมนตรีเป็น"เจ้าหน้าที่ของรัฐ" ซึ่งจะอยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง .
แต่ถ้าคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจกระทำการต่างๆโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ เกี่ยวกับความสัมพันธ์กับรัฐสภา หรือความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือในกรณีคณะรัฐมนตรีละเลยต่อหน้าที่ที่จะต้องใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ ถือได้ว่าคณะรัฐมนตรีเป็น"องค์กรตามรัฐธรรมนูญ" ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการตรวจสอบของศาลปกครอง
.
ในกรณีเรื่อง"ข้าว" เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี ดำเนินการตาม"อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ" เมื่อใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ..เพราะตามรัฐธรรมนูญบอกว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีเข้ามาบริหารต้องแถลงนโยบายต่อรัฐสภา และแจ้งการดำเนินงานตามนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามมาตรา 75 ซึ่งรัฐธรรมนูญที่ใช้อยู่ในขณะนั้นเป็นรัฐธรรมนูญปี 2550 ตามมาตรา 176 เมื่อมีการเข้ามาโดยคณะรัฐมนตรียุคสมัยท่านนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ท่านมีการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเรื่องเกี่ยวกับข้าว
.
เพราะฉะนั้นถ้าตามแนวทางที่ศาลปกครองสูงสุด เคยวินิจฉัยไว้คือ คำสั่งของศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 กรณีนี้ไม่ถือว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เนื่องจากรัฐบาลในขณะนั้นได้ดำเนินการโดยใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญ เมื่อแนวทางของศาลปกครองวินิจฉัยไว้อย่างนี้ แล้วจะดำเนินการไปได้อย่างไรในเรื่องนี้ เนื่องจากว่าคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการไปตามอำนาจบริหารที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นไม่ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ตามที่มีนักวิชาการพูดกัน
.
เพราะฉะนั้นเป็นไปไม่ได้ที่การกระทำในเรื่องนโยบายเกี่ยวกับ"จำนำข้าว" จะต้องรับผิดในฐานะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
.
การกระทำนี้เป็นการกระทำที่จะใช้คำสั่งทางปกครองได้หรือไม่ ในเมื่อมีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ 178/2550 ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า ศาลปกครองไม่มีอำนาจ ที่จะดำเนินการในเรื่องนี้ได้เลย จะพยายามไปใช้คำสั่งทางปกครอง จึงทำไม่ได้ เพราะมีแนวคำพิพากษาของศาลปกครองสูงสุดวางไว้ชัดเจนอยู่แล้ว
.
ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายต่างๆ นอกจากกฎหมายที่ตราโดยฝ่ายนิติบัญญัติแล้ว ยังมีคำสั่งไม่ว่าจะศาลฎีกา ศาลปกครอง หรือศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัย หรือเป็นคำสั่ง หรือคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว มีความชัดเจนอยู่แล้ว ไม่สามารถที่จะบิดพลิ้วไปได้อย่างอื่นเลย เพราะฉะนั้นในกรณีนี้มันไม่ใช่เป็นเรื่องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ
เพราะขณะนั้นคณะรัฐมนตรีได้ทำตามอำนาจบริหารที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550 เราจะไปตีความว่าเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ..มันไม่ใช่
.
ตามกฎเกณฑ์ธรรมดาถ้าจะเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ จะต้องเป็นเรื่องที่คณะรัฐมนตรีไปทำตามพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่นที่มีผลใช้บังคับ เช่น พระราชบัญญัติยาสูบ เขาระบุว่า ห้ามไม่ให้เด็กต่ำกว่า 18 ปีซื้อบุหรี่ แต่ถ้ารัฐบาลบอกไม่ต้อง..เด็กขนาดไหนก็ซื้อบุหรี่สูบได้ อันนี้ถ้าเกิดความเสียหายขึ้นมา คณะรัฐมนตรีต้องรับผิดชอบ เพราะถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันนี้คือตามคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดที่ได้วินิจฉัยไว้เลย
.
แต่ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับการใช้อำนาจบริหารตามรัฐธรรมนูญแล้ว จะไม่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐแล้ว เป็นเรื่องที่เขาถือว่า"คณะรัฐมนตรี" เป็น"องค์กรตามรัฐธรรมนูญ"เท่านั้นเอง ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของรัฐ"
.
นอกจากนี้ยังมีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายฉบับ เช่น 9/49 14/46 ที่ระบุไว้ว่าถ้าเป็นเรื่องของคณะรัฐมนตรีได้ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญไปแล้ว ศาลเหล่านี้จะไม่เข้าไป..คือเป็นการ"จำกัดอำนาจของศาล"เหล่านี้
.
เมื่อไม่ใช่เป็นเรื่องเจ้าหน้าที่ของรัฐจะเอาทางนี้ไม่ได้ ยกเว้นจะใช้มาตรา 44..มาตรา44 คืออำนาจที่จะดำเนินการอะไรก็ได้ตามใจท่าน
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น