ผลสำรวจงานวิจัย “การประเมินคุณภาพการให้บริ การและความปลอดภั ยของระบบรถโดยสารสาธารณะ” โดยทีดีอาร์ไอพบผู้ใช้บริ การรถเมล์ของรถเอกชนร่วมบริ การและองค์การขนส่งมวลชน (ขสมก.) กรุงเทพฯ และปริมณฑล ในช่วงปี 2557-2558 มีจำนวนมากกว่า 3 แสนคนต่อวัน โดยตัวเลขจาการสำรวจชี้ว่า ผู้โดยสารมากกว่าครึ่งหนึ่งเลื อกใช้บริการเพราะราคาถูกและได้ รับความสะดวกเป็นหลัก แต่ให้ความสนใจด้านความปลอดภั ยน้อย เพราะผู้โดยสารยังต้องเผชิญกั บการขับขี่ด้วยความเร็วที่รู้สึ กว่าอันตราย มารยาทการให้บริการและปั ญหาทางกายภาพของสภาพรถ ซึ่งนอกจากจะส่งผลต่อความพึ งพอใจแล้ว ยังส่งผลให้ผู้โดยสารมีความเสี่ ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียทั้งชีวิ ตและทรัพย์สิน
ด้านผลสำรวจความเร็วในการขับขี่ ผู้โดยสารร้อยละ 28 เห็นว่าความเร็วในการขับขี่ไม่ เหมาะสม และร้อยละ 15 ให้คะแนนความพอใจต่อความนุ่ มนวลในการขับขี่ต่ำ ทั้งยังมองว่ารถเมล์ยังต้องปรั บปรุงเรื่องมารยาทการให้บริการ เนื่องจากมีผู้โดยสารร้อยละ 7 ไม่พอใจต่อบริการเป็นอย่างมาก ในขณะที่ร้อยละ 57 ให้ความพอใจ แต่อยู่ในระดับปานกลางเท่านั้น แตกต่างจากความพึงพอใจที่มีต่ อบริการของรถทัวร์ระหว่างจังหวั ด ที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่ให้ ความพอใจในระดับที่ดีกว่ารถเมล์ และรถสาธารณะประเภทอื่นๆ สาเหตุเพราะพนักงานขับรถและพนั กงานที่ให้บริการได้รับการฝึ กอบรมให้มีคุณภาพในการบริ การและใช้ความเร็วที่ปลอดภั ยในการขับขี่
ผลสำรวจนี้สอดคล้องกับ ข้อมูลจากศูนย์คุ้มครองผู้ โดยสารรถสาธารณะ ของกรมการขนส่งทางบก ที่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ ยวกับพฤติกรรมผู้ขับขี่รถเมล์ ในปี 2557 ด้วยปัญหารถเมล์ไม่หยุดรับ-ส่ งผู้โดยสารที่ป้าย ขับรถประมาท น่าหวาดเสียว และผู้ประจำรถแสดงกิริยาวาจาไม่ สุภาพ จำนวนมากถึง 1,703 เรื่อง
ด้านผลการสำรวจสภาพรถ ผู้ใช้บริการร้อยละ 8 ไม่พอใจในสภาพภายนอกตัวรถ เช่น ความเสื่อมโทรมและอายุการใช้งาน ขณะที่ร้อยละ 11 ไม่พอใจในสภาพภายในของรถ เช่น เบาะ ที่นั่ง กระจก ความเย็นของเครื่องปรับอากาศ และความสะอาดภายในห้องโดยสาร ซึ่งเป็นความไม่พอใจที่มีมากกว่ ารถโดยสารสาธารณะประเภทอื่น อีกทั้งผู้ใช้บริการยังไม่พบเห็ นอุปกรณ์ความปลอดภัยบนรถ อาทิ ถังดับเพลิง ค้อนทุบกระจก และประตูฉุกเฉิน ซึ่งต่างจากกรณีของรถทัวร์ระหว่ างจังหวัดที่ผู้ โดยสารสามารถพบได้มากกว่า ทั้งนี้ ผลจากสภาพตัวรถที่ค่อนข้างเก่ าและไม่มีอุปกรณ์รั กษาความปลอดภัยถือเป็นอุ ปสรรคในการทำงานของพนักงาน ขณะเดียวกันได้ส่งผลโดยตรงต่ อความไม่ปลอดภัยที่จะเกิดกับผู้ โดยสาร
ดังที่ ดร.สุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้ านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ จากทีดีอาร์ไอ หัวหน้าโครงการวิจัย เห็นว่า“หลายครั้งที่ผลการประเมิ นความพึงพอใจของผู้ใช้บริการสู ญเปล่า ผลการศึกษาไม่ได้ส่งผลกระทบต่ อผู้ประกอบการแต่อย่างใด เพราะเป็นเพียงการประเมิ นในภาพรวม ครั้งเดียวจบ ไม่สามารถระบุชี้ชัดได้ว่ าพอใจหรือไม่พอใจในผู้ ประกอบการรายใด อีกทั้งการแก้ปัญหาเรื่องรถเมล์ ที่ผ่านมาไม่สามารถแก้ไขปั ญหาได้ตรงจุด เช่น ในกรณีของการปรับปรุงรถมินิบัส โดยเปลี่ยนรถเมล์สีเขียวเป็นสี ส้ม เป็นเพียงการเปลี่ยนตัวรถจากเก่ าเป็นใหม่ แต่ผู้ประกอบการ คนขับยังคงเป็นมีลั กษณะการประกอบการและพฤติ กรรมการให้บริการแบบเดิม”
ทั้งนี้ การปรับปรุงระบบขนส่งมวลชนอย่ างรถเมล์ควรพั ฒนามาตรฐานความปลอดภัยในการขั บขี่ให้สูงกว่าหรือเทียบเท่ากั บรถทัวร์ระหว่างจังหวัด ซึ่งต้องอาศัยหลายหน่วยงานทั้ งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนเข้ามามีส่วนร่ วมในการแก้ปัญหา เพื่อช่วยยกระดั บมาตรฐานความปลอดภัยและคุ ณภาพการให้บริการให้ดีขึ้น ดังเช่นกรณีตัวอย่างของต่ างประเทศที่มีการพัฒนาคุ ณภาพการบริการ และควบคุมพฤติกรรมผู้ขับขี่อย่ างเป็นระบบด้วยการยึดโยงการต่ อใบอนุญาต การให้สัมปทานควบคู่กั บการประเมินมาตรฐานความปลอดภัย ทำให้ผู้ขับขี่เคารพกฎระเบี ยบเพื่อความปลอดภัยอย่างเคร่ งครัด
ดร. สุเมธ องกิตติกุล เสนอแนวทางการพั ฒนารถโดยสารสาธารณะว่า “ที่ผ่านมาประเทศไทยอยู่ในลั กษณะคอยตามแก้ปัญหามากกว่าดำเนิ นการเพื่อป้องกัน ต้องยอมรับว่าการตามแก้ปั ญหาทำได้ค่อนข้างยาก ต้องอาศัยระยะเวลา แต่สิ่งหนึ่งที่ควรดำเนินการทั นที คือตั้งระบบการประเมินคุณภาพอย่ างต่อเนื่อง ควบคู่กับการประเมินความพึ งพอใจของผู้ใช้ โดยต้องติดตามนโยบาย มาตรการต่างๆ รวมถึงกำหนดบทลงโทษให้มีผลย้ อนหลังหากไม่ปฏิบัติตาม เช่น รถเมล์ตรงจอดตรงป้าย ปิดประตูทุกครั้งที่รถออก ในอดีตไม่มีการสอดส่องติ ดตามทำให้ไม่รู้ว่าผลเป็นอย่ างไร เมื่อเกิดอุบัติเหตุจึงเริ่ มตรวจตราอย่างเข้มงวด สุดท้ายความปลอดภัยของผู้ใช้บริ การจึงไม่เกิดอย่างเป็นรูปธรรม ดังนั้น ระบบประเมินจึงเป็นเครื่องมื อหนึ่งที่สามารถทำได้ทันที เพื่อจับตาดูผู้ประกอบการไม่ให้ ทำผิดระเบียบ และนำไปสู่การปรับปรุงคุ ณภาพการบริการในอนาคต”
นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สุดในการพั ฒนาระบบรถเมล์คือ ประชาชนต้องได้รับประโยชน์อย่ างแท้จริง โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ ประกอบการที่ต้องปฏิบัติ ตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด คำนึงถึงสวัสดิภาพของผู้ใช้ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ขณะเดียวกันรัฐและหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องต้องจริงใจในการแก้ปั ญหา ใช้อำนาจที่มีในการตรวจสอบติ ดตามผล เมื่อรถโดยสารสาธารณะเป็ นพาหนะที่ปลอดภัย ทุกฝ่ายจะได้รับผลประโยชน์ร่ วมกัน (win-win) กล่าวคือ ผู้ประกอบการมีรายได้ ประชาชนได้รับความสะดวก ปลอดภัย ซึ่งส่งผลไปถึงการลดจำนวนอุบัติ เหตุและการสูญเสียชีวิตบนท้ องถนนได้อีกด้วย
ไม่มีความคิดเห็น :
แสดงความคิดเห็น